📢วันที่ 25 มกราคม 2564 คุณประพันธ์ สิมะสันติ ที่ปรึกษาสมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขนิยามอาชีพและอุตสาหกรรม สาขาการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ครั้งที่ 1/2564 โดยสรุปดังนี้
📢📢 ได้มีการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโครงการ “พัฒนาการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)” โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนาศาสตร์ (นิด้า) เพื่อดำเนินการปรับปรุงร่างนิยามอาชีพให้เป็นไปตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ในสาขาการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม โดยแยกย่อยเป็นตามอาชีพต่างๆ และตามระดับ (หมวด) เช่น ผู้จัดการ วิชาชีพ ช่างเทคนิค จนถึงพนักงานส่วนโรงงาน
สำหรับหมวดที่อ้างอิงจาก ILO 9 หมวด มีดังนี้
1. Managers
2. Professionals
3. Technicians and Associate Professionals
4. Clerical Support Workers
5. Services and Sales Workers
6. Skilled Agricultural, Forestry and Fishery Workers
7. Craft and Related Trades Workers
8. Plant and Machine Operators and Assemblers
9. Elementary Occupations
🎯🎯วัตถุประสงค์
การจัดทำการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1)เพื่อปรับปรุงข้อมูลอาชีพของประเทศไทยให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลที่ได้มีการปรับปรุงใหม่
2)เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลอาชีพและสะดวกแก่การนำไปใช้ประโยชน์
3)เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการจัดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
4)เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลอาชีพของประเทศไทย
🎯🎯ประโยชน์
กรมการจัดหางานได้ดำเนินการจัดทำการจัดประเภทอาชีพเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องอาชีพ และเพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านแรงงาน เช่น การกำหนดค่าจ้าง การแนะแนวอาชีพ การฝึกอบรม การจ้างงาน รวมถึงการวิเคราะห์การเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากอาชีพ การที่มีระบบฐานข้อมูลเดียวกันสามารถจะนำข้อมูลสถิติไปอ้างอิงและเปรียบเทียบได้ทั้งในระดับหน่วยงานและกับระดับประเทศ
❇️ในวันนี้จะพิจารณาในหมวด 2 และ 3
-ในหมวด2 ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านต่างๆ (Professionals) ในโรงงานอุตสาหกรรม
หมวดย่อย 21 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
หมู่ 214 เดิมวิศวกรเทคโนโลยีไฟฟ้า แก้ไขเป็น ➡️วิศวกร (ยกเว้นวิศวกรเทคโนโลยี) เพื่อให้กว้างขึ้น
-หน่วย 2141 วิศวกรอุตสาหการการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ➡️แยกเป็นวิศวกรกว้างๆ ที่ไม่รวมด้านอาหาร
-หน่วย 2145 วิศวกรเคมี , อาหาร
-หน่วย 2113 นักวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biologists)
-หน่วย 3122 หัวหน้าควบคุมงานด้านการผลิต (Manufacturing Supervisors)
-หน่วย 3113 ช่างควบคุม จะเกี่ยวข้องด้านเทคนิค
-หน่วย 3115 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเครื่องกล
-หน่วย 3116 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมเคมี
-หน่วย 3133 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานแปรรูปทางเคมี
-หน่วย 3139 ช่างควบคุม
❇️หมวด 2 และ 3 ต่างกันตรง ยกตัวอย่างเช่น หมู่คือสัตวแพทย์ ที่จบด้านนั้นๆ โดยตรง ส่วนหมู่ 324 ผู้ช่วยสัตวแพทย์หรือผู้ช่วยที่มาจากการอบรมเพิ่มเติม
❇️ในหมวดนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารจะรวมทั้งที่จบด้านอุตสาหกรรมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ในด้านวิทยาศาสตร์ คือบรรจุภัณฑ์ที่ถนอมอาหารให้เก็บได้นาน ทั้งนี้ไม่รวมในเรื่องการออกแบบดีไซน์บรรจุภัณฑ์
❇️ในการประชุมครั้งหน้าจะพิจารณาในหมวด 7 ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ,หมวด8 ผู้ควบคุมเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ โดยขอเชิญประชุมวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564