การประชุมร่วม “คณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องและคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน หอการค้าและสภาหอการค้าฯ ”
วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00-13.00 น. ณ ห้องประชุม 3201 ชั้น 2
อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าฯ
*******************************
ผู้เข้าประชุม :
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายกกิตติคุณสมาคมฯ
คุณอำไพ หาญไกรวิไลย์ กรรมการสมาคมฯ
ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมฯ
คุณวัชราวรรณ์ ชมดง รองผู้อำนวยการอาวุโสสมาคมฯ
คุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง ผช.ผอ. สมาคมฯ
โดยมี ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช เป็นประธานในที่ประชุม สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.“Industry 4.0 ในอุตสาหกรรมอาหาร (Technology Internet of Thing : IOT)” โดยบริษัท Bosch Thailand มี 3 ระบบด้วยกันคือ 1) Services and Applications 2) Software and Platform 3) Thing ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้พัฒนาใช้ได้กว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ ระบบการขนส่ง และถูกนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเพาะเลี้ยงหอยนางรม (ประเทศออสเตรเลีย) การเพาะเลี้ยงกุ้ง (บริษัท ซีพี ประเทศอินโดนีเซีย) ในประเทศไทยมีโรงงานที่เหมราช จังหวัดระยอง นำระบบไปใช้เมื่อปลายปี 2560 และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการระบบในส่วนโรงเพาะฟักลูกกุ้งในไทย ซึ่งสามารถคำนวณผลข้อมูลได้แม่นยำ สั่งการทำงานจากระบบโทรศัพท์มือถือได้ และลดต้นทุนในเรื่องแรงงาน จะเป็นทางเลือกในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
2. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 นำโดย ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าฯ นำคณะเข้าพบและหารือโอกาสและอุปสรรคการค้าร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) เพื่อนำเสนอประเด็นผลกระทบ โอกาส และแนวทางรองรับ กรณีสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และกลุ่ม EU
1) สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อเสนอ
-ไทยไม่มีภาษีนำเข้าสินค้าอาหารทะเล ปัจจุบันมีการนำเข้าปลาแซลมอนกว่า 2 แสนตันและหมึก 1 แสนตัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงในประเทศที่ต้นทุนสูงกว่า
-พิจารณาเรื่อง R/O เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้น กรณีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐส่งมาไทย และส่งออกผ่านไปยังลาว เวียดนามไปยังจีนได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อกาค้าไทย-จีน
-สหรัฐนำเข้ากุ้งจากจีน 45,000 ตัน/ปี (300,000,000 US$) ซึ่งหากมีการกำหนดภาษีขึ้น สหรัฐอาจเปลี่ยนมานำเข้าจากไทยแทน ด้านเกษตรกรต้องเตรียมความพร้อมซึ่งถือเป็นโอกาสทางการค้า
-สหรัฐ มีมาตรการเพิ่มภาษี 10% กับสินค้านำเข้าจากจีนสำหรับการนำวัตถุดิบมา reprocess ไปยังสหรัฐ นั้น อาจเป็นการสร้างโอกาสให้กับไทยในการนำเข้าวัตถุดิบมาแปรรูปส่งออก
2) สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อเสนอ
-ไทยนำเข้าทูน่า ซาร์ดีน แมคเคอเรล แซลมอนจากสหรัฐ 1 แสนตัน/ปี ซึ่งยังมีศักยภาพที่จะนำเข้าได้อีกมากรองรับตลาดสินค้านำเข้าทั้งจากจีนและสหรัฐได้มากขึ้น
-เร่งเปิดการเจรจาสหรัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้ากับไทยมากขึ้น
3) สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ผลกระทบทางอ้อม
ข้อเสนอ
-เร่งเจรจา FTA thai-EU ผลักดันสินค้าข้าวโพดหวานเข้าสู่การเจรจา
-จีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐ 15% ในสินค้ามะพร้าว สัปปะรด มะม่วง โดยไทยจะได้ผลทางบวก เพราะไทยสามารถผลิตสินค้าดังกล่าวส่งไปจีนได้มาก
-สหรัฐประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐ 25% ในสินค้าเหล็ก ส่งผลให้ราคา iron ore ซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตเหล็กอยู่ในช่วงขาขึ้น ราคาขึ้น ประเทศที่ผลิตแผ่นเหล็กสำหรับอาหารกระป๋อง เช่น ญี่ปุ่น อาจถือโอกาสขึ้นราคาแผ่นเหล็ก ส่งผลกระทบกับผู้ผลิตอาหารกระป๋องไทยจากการขึ้นราคากระป๋อง
4) สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย ผลกระทบจากราคาปลานำเข้าราคาถูกว่าปลาเลี้ยงในประเทศไทย
ข้อเสนอ
-พิจารณาดูแลสินค้าปลาและผลิตภัณฑ์พิกัด 03 (ที่ภาครัฐ ต้องดูแลเป็นพิเศษ/สินค้าอ่อนไหว 45 รายการ)และคงการจัดเก็บภาษีนำเข้าปลา 5% (หากนำเข้าเพื่อขายในประเทศ) เพื่อปกป้องเกษตรกรในประเทศ และสร้างความมั่นคงของด้านอาหารของประเทศ
5) สมาคมกุ้งไทย ไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อเสนอ
-ผลักดันการยกเลิกมาตรา 9
-เร่งเปิดเจรจาการค้าสหรัฐ /FTA Thai-EU
-ประสานจัดหาแรงงานได้เพียงพอ และเหมาะสมทั้งแรงงานไทยและต่างด้าว
-ส่งเสริมยกระดับฟาร์มเลี้ยงกุ้งไทยให้ได้มาตรฐานสากล
สรุป
1) จากข้อมูลที่ได้ไทยได้ผลประโยชน์ในภาพรวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐมาแปรรูปเพื่อส่งออกไปสหรัฐและจีนเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มอาหารทะเล
2) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบชัดเจน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาไทยในประเทศที่ต้นทุนสูง ประกอบกับอาหารทะเลที่จะมีการนำเข้ามามีราคาถูกกว่า เช่น ปลาซาบะ
3) สหรัฐเร่งรัดการส่งออกหมูมายังไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเร่งเจรจาเพื่อปกป้องตลาดภายในประเทศ แต่ก็ยังทำให้เป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกไปจีนได้มากขึ้น
4) ผลไม้ของไทยคาดว่าจะส่งออกไปจีนได้มากขึ้น
การดำเนินการต่อไป
-ให้สภาหอฯ วิเคราะห์และประมาณตัวเลขการส่งออกก่อนและหลังสถานการณ์ Trade War พร้อมแนวทางไปสู่เป้าหมายที่กำหนด เพื่อกระทรวงพาณิชย์จะได้หารือในเป้าหมายร่วมกัน
-ให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า จัดส่งข้อมูลภาษีที่สหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่ม ให้กับสภาหอฯ เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการเตรียมการรับผลกระทบ
-กระทรวงพาณิชย์จะเป็นเจ้าภาพในการหารือกับผู้ประกอบการในโอกาสต่อไป
3. เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาแรงงานและธุรกิจประมงของประเทศไทย ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและขจัดการใช้แรงงานบังคับ พ.ศ. .....
-ประเด็นคือ ความหมายของแรงงานบังคับ มีบทลงโทษที่รุนแรงมาก โดยมีความรุนแรงรองลงมาจากการค้ามนุษย์ ทั้งนี้นิยาม “แรงงานบังคับ” 2 ฉบับคือ กระทรวงแรงงาน กับสำนักงานกฤษฎีกา นั้นมีความแตกต่างกัน โดยของกระทรวงแรงงาน นำนิยามมาจาก ILO ซึ่งจะกว้างมากเกินไป ทำให้ต้องมาตีความ ทางสำนำงานกฤษฎีกา จึงแก้ไขนำมาแบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย (ตามมาตรา 6) คือ
1) ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารใดของผู้อื่น
2) บังคับหรือข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย
3) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
4) บังคับหรือข่มขืนใจผู้อื่นโดยไม่จ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎหมาย หรือไม่จ่ายค่าตอบแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้างทำงานหรือให้บริการ
5) บังคับหรือข่มขืนใจผู้อื่นโดยไม่จัดให้มีเวลาพักตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ตามสภาพของงานหรือบริการนั้น
ที่ประชุม 1. ขอให้มีความชัดเจนในนิยามแรงงานบังคับ เพราะด้วยบทลงโทษที่รุนแรง อาจส่งผลกระทบได้
2. โดยข้อ 1-3 มีอยู่ในกฎหมายอาญา และข้อ 4, 5 มีอยู่ในพรบ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่งจะเห็นว่ามีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว จึงขอให้ภาครัฐ
พิจารณาถึงความจำเป็นในการออก พรบ. ฉบับนี้
3. ในวันที่ 5 กันยายน 2561 จะมีการจัดประชาพิจารณ์ในร่าง พรบ. ฉบับนี้ จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ความคิดเห็น
4. ความคืบหน้าในการเสนอยกเลิกประกาศการระงับใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดมาตรา 9
- ได้มีการยกร่างร่วมกัน 3 หน่วยงาน คือกระทรวงทรัพยากร กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป จึงเสนอให้มีการยกร่างใหม่ และทำประชาพิจารณ์
- ที่ดินประมาณ 12,000 ไร่ ถูกยึดโดยกรมป่าไม้ 9,000 ไร่ โดยเฉพาะในแถบตะวันออก เหลือ 3,000 ไร่ ซึ่งกรมประมงได้มีการหารือเพื่อเจรจาให้มีการเช่ากลับมาทำประโยชน์ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย (โดยแบ่งสรรว่าส่วนใดต้องการจะปลูกป่า และส่วนใดให้เช่าทำประโยชน์) ทั้งนี้ จะต้องมีพิกัดในแปลงที่ดินที่แน่นอนว่าเราจะกำหนดที่จัดใด และยกเลิกที่จุดใด แต่เมื่อเข้าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้วไม่ผ่าน
ที่ประชุม เสนอให้มีการผลักดันเข้าเป็นมติคณะรัฐมนตรี