นำเสนอรายงานฉบับสมบูรณ์การดำเนินงานวิจัยปีที่ 3

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00-15:00 น. ณ ชั้น 5 อาคาร 3 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร นายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และ ผศ.ดร. สนธยา  กูลกัลยา หัวหน้าโครงการ การประเมินระดับการสนับสนุนของการปล่อยลูกปูม้าต่อผลจับทางการประมงในภาคตะวันออก ภายใต้โครงการแผนพัฒนาและปรับปรุงระบบการประมงทะเลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมประมงที่ยั่งยืนภายใต้หลักการของมาตราสากล ร่วมประชุมนำเสนอรายงานฉบัยสมบูรณ์การดำเนินงานวิจัยปีที่ 3 โดยได้รับการสนับสนุนงบวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) 


ผศ.ดร. สนธยา หัวหน้าโครงการฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน   อาทิ ปริมาณปูม้าที่ได้รับการปล่อยจากธนาคารปูม้าในภาคตะวันออก  การกระจายตัวของลูกปูม้าโดยกระแสน้ำในแต่ละฤดูกาล แนวโน้มผลจับปูม้าและความแปรปรวน เป็นต้น


ในส่วนของสมาคมฯ ได้ร่วมให้ข้อมูลกับที่ประชุมในส่วนของภาพรวมการดำเนินงาน Thailand Blue Swimming Crab Fishery Improvement Project (FIP ปูม้า) และในฐานะผู้นำผลงานวิจัยไปใช้ตอบผลการประเมิน และเพื่อสร้างการยอมรับสินค้าปูม้าที่ส่งออกทั่วโลก โดยข้อมูล อาทิ กิจกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อกับการประเมิน FIP ปูม้าที่ได้นำเสนอกับผู้ประเมิน MRAG, ผลการประเมินครั้งล่าสุดจากเว็บไซต์ Fishery Progress.org ที่ยังมีความก้าวหน้าอยู่ในระดับ A โดยยังเหลือการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่อผู้ประเมินอยู่ 20% และการประชุมกับผู้นำเข้าปูม้า NFI Crab Council ที่สมาคมฯ และนักวิจัย ได้เข้าร่วมให้ข้อมูล โดยผู้นำเข้ามีความพึงพอใจกับผลการดำเนินงานของโครงการฯ ทั้งจาก MRAG และ Fishery Progress เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ในส่วนของผลการศึกษาวิจัยทางผู้ประเมินอยากให้มีการติดตามอย่างเนื่องอีกประมาณ 1-2 ปี เกี่ยวกับเรื่องผลจับปูม้า เพื่ออยากให้เห็นว่าธนาคารปูม้ามีส่วนช่วยในการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าได้จริง 


นอกจากนี้สมาคมฯ ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานที่มีแผนจะดำเนินการในปีถัดไป ได้แก่ การประกาศใช้ค่า LBSPR (Length Based Spawning Potential Ratio) ที่ต่างชาติกำลังให้ความสนใจ, การประกาศใช้ HCR (Harvest Control Rules) ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากกรมประมง และเรื่องระบบนิเวศที่ผู้ประเมินให้ความสนใจถึงผลกระทบต่อสัตว์ทะเลกลุ่ม ETP species โดยอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลนำเสนอผู้ประเมิน


สำหรับการพิจารณาผลการดำเนินงานโครงการฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้


1. อยากให้นักวิจัยให้ข้อมูลที่มาหรือภาพรวมของการดำเนินงานโครงการฯ ครั้งนี้ อาทิ แผนบริหารจัดการฯ 


2. อยากให้นักวิจัยระบุพื้นที่ ขนาดเรือ และเครื่องมือที่โครงการฯที่กำลังศึกษาของ FIP ปูม้าในครั้งนี้ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


3. การป้องกันการกีดกันทางการค้า อาจยังไม่ควรนำมาใช้อ้างอิง (ทุกโครงการ)


4. บทคัดย่อ โดยเฉพาะ “ค่าแปรปรวนต่ำลง,ขนาดปูม้า,การปล่อยและการพบปูม้า“ ที่ยังเป็นภาษาวิทยาศาสตร์ อยากให้นักวิจัยอธิบายให้กระชับเข้าใจง่าย


5. อยากให้นักวิจัยสรุปภาพรวมในเชิงนโยบาย และข้อเสนอในเชิงนโยบายที่พูดถึงชุมชนยังขาดความเชื่อมโยงในด้านวิชาการ อยากให้ปรับให้เข้าใจง่าย


6. ปรับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ชื่อเรื่อง และคำสำคัญให้สอดคล้องกัน


7. อยากให้นักวิจัยใส่ข้อมูลผลการประชุมในวิจารณ์ผลหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปกป้องปูม้าขนาดเล็ก ข้อคิดเห็นหรือการยอมรับจากการประชุมร่วมกับชาวประมง รวมถึงการยอมรับเรื่องกฎระเบียบการใช้เครื่องมือได้รับการยอมรับจากชาวประมงมากน้อยเพียงใด


8. อยากให้นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำประมงปูม้า มีการรบกวนstock ในธรรมชาติหรือไม่ 


9. กรณีกลุ่มที่ไม่มีปฎิบัติตามหรือไม่เข้ารับการประเมิน กรณีดังกล่าวได้รับผลและการปฏิบัติอย่างไร

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association