แถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกเดือนมกราคม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566

วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 เวลา 10.30-12.00 น. นายกรวิชญ์ ทุมมานนท์ เจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมงาน “แถลงข่าวสถานการณ์การส่งออกเดือนมกราคม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566” ผ่าน Google Hangouts Meet จัดโดยสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
เศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง มีโอกาสเกิดภาวะถดถอยและการชะลอตัวของภาคการผลิต แต่ยังคาดหวังภาคบริการและการท่องเที่ยวช่วยผลักดันการฟื้นตัว ต้นทุนราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงมีความผันผวนตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า และภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้การส่งออกของไทยเดือนมกราคม 2566 หดตัว 4.5% สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นผลจากเทศกาลตรุษจีนปีนี้มาเร็ว ทำให้การส่งออกไปจีนมีเวลาจำกัดจึงหดตัวลดลง 11% ซึ่งสถานการณ์ส่งออกในเดือนมกราคม 2566 น่าจะเป็นจุดต่ำสุด
ถึงแม้เดือนมกราคม 2566 จะติดลบ แต่ยังมีเวลาเหลืออีก 11 เดือน ทิศทางการส่งออกปีที่แล้วกับปีนี้กลับทางกัน ปีที่แล้วขยายตัวครึ่งปีแรกแล้วหดตัวครึ่งปีหลัง แต่ปีนี้หดตัวครึ่งปีแรกแต่จะขยายตัวครึ่งปีหลัง คาดการณ์ว่าการส่งออกปีนี้ว่าจะเพิ่มขึ้น 1-2%
โดยมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวแตะ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 หลังแนวโน้มดัชนีการผลิตของหลายประเทศทั่วโลกเริ่มกลับมาขยายตัว ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่าอยู่ในช่วง 34-35 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกมีความพึงพอใจ
สถานการณ์ค่าระวางเรือ
จากข้อมูล Shanghai Containerized Freight Index (SCFI) เปรียบเทียบอัตราค่าระวางระหว่างช่วงเตือนกุมภาพันธ์ พบว่าค่าระวางเปลี่ยนแปลงในหลายเส้นทาง โดยเส้นทางที่ค่าระวางปรับลดลง ได้แก่ เส้นทางยุโรป เส้นทางเมดิเตอร์เรเนียน เส้นทางอเมริกาฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก เส้นทางออสเตรเสีย เส้นทางแอฟริกาฝั่งตะวันตกและตะวันออก เส้นทางแอฟริกาใต้ รวมถึงเส้นทางญี่ปุ่นฝั่งตะวันตก และเส้นทางเกาหสี ส่วนเส้นทางที่ค่าระวางปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นทางดูไบ เส้นทางอเมริกาใต้ เส้นทางญี่ปุ่นฝั่งตะวันออก และเส้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยปี 2565
ปัจจัยบวก
1. สถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศคู่ค้า
2. จีนเปิดประเทศ สร้างโอกาสทางการค้ามากขึ้น รวมถึงกลุ่มประเทศเป้าหมายที่ตั้งเป้าขยายโอกาสทางการค้า เช่น อินเดีย ตะวันออกกลาง
3. ค่าระวางเรือปรับตัวลดลงในเส้นทางหลักเกือบทุกเส้นทางรวมถึงสถานการณ์ตู้คอนเทนเนอร์ที่เพียงพอต่อการส่งออก
ปัจจัยลบ
1. ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โอกาสเกิดภาวะถดถอยและการชะลอตัวภาคการผลิต แต่ยังคาดหวังภาคบริการและท่องเที่ยวช่วยผลักดันการฟื้นตัน
2. ต้นทุนราคาพลังงานในตลาดโลกยังคงมีความผัน์ผวนตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะค่ไฟฟ้า และภาวะเงินเฟ้อ
ข้อเสนอแนะ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local currency) ที่มีอยู่ รวมถึงเร่งขยายความร่วมมือไปยังประเทศคู่ค้าที่สำคัญเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อลดความผันผวนจากการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการทำธุรกรรม และพิจารณาทบทวนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2. ขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควบคุมหรือกำกับดูปรับขึ้นค่ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) ในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2566 อยู่ระดับที่เหมาะส้ม เนื่องจากค่าไฟฟ้าเป็นต้นทุนภาคการผลิตหลักและกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

3. เร่งผลักดันกระบวนการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย - สหภาพยุโรป, ไทย - EFTA และ FTAใหม่ในตลาดคู่ค้าสำคัญ เช่น UAE และ GCC เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association