วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00-13.30 น. ทางระบบการประชุม Zoom Online Meeting
สมาคมฯ โดย ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายกกิตติคุณสมาคมฯ พร้อมด้วยนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 83-6/2567 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
1. ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 82-5/2567 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567
2.
กำหนดการประชุม Task Force on Development of ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement (TF AFSRF) ครั้งที่ 10
เลขานุการอาเซียนกำหนดให้มีการประชุม Task Force on Development of ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement (TF AFSRF) ครั้งที่ 10 ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.00-16.30 น.(ตามเวลาประเทศไทย) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย Application: Microsoft Teams เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการจัดทำแผนการทำงานของคณะ ASEAN Food Safety Coordinating Committee (AFSCC) ซึ่งรวมทั้งแผนการสำหรับการจัดทำและการปฏิบัติตามในแต่ละพิธีสาร การทดลองใช้หลักเกณฑ์สำหรับการประเมินพิธีสารและการทดลองกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มสำหรับการส่งข้อเสนอในการจัดทำพิธีสาร รวมทั้งเอกสารข้อริเริ่มของอาเซียนด้านความปลอดภัยอาหาร
3. วาระการประชุม Task Force on Development of ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement (TF AFSRF) ครั้งที่ 10
Agenda ของการประชุม TF AFSRF ครั้งที่ 10 มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
สถานะของการลงนามใน AFSRF Agreement
Exercise ในการประเมินและในการจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอ
การจัดทำ SOPs ที่เกี่ยวข้อง
การ Mapping ข้อริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร
โดยที่ประชุมรับทราบ และขอหารือท่าทีฝ่ายไทยร่วมกับคณะอนุกรรมการฯ ก่อนเข้าร่วมการประชุม
4. การจัดทำท่าทีสำหรับผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม TF AFSRF ครั้งที่ 10
สถานะของการลงนามใน AFSRF Agreement คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เห็นชอบ AFSRF Agreement กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนออนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามในความตกลงดังกล่าว และเมื่อลงนามแล้ว ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งความตกลงฯ ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วเสนอรัฐสภาพิจารณา ให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ต่อมากระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย และเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 ความตกลงฯ ได้รับการลงนามโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนาม ปัจจุบัน มกอช. อยู่ในขั้นตอนการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ AFSRF
Agreement ซึ่งได้มีการลงนามแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 อนุมัติให้นำความตกลงฯ ที่ได้มีการลงนามแล้วเสนอรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป และมอบหมายให้ดำเนินการมอบสัตยาบันสารของความตกลงฯ ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบการให้สัตยาบันเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบความตกลงฯ ดังกล่าวแล้ว
Exercise ในการประเมินและในการจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอ
ไทยจะนำ exercise ในเรื่องพิธีสารที่มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับค่า MRLs ของวัตถุอันตรายทางการเกษตรจากคณะ ASWGC/EWG MRLs และมาเลเซียจะนำ exercise ในเรื่องพิธีสารที่มีความเป็นไปได้เกี่ยวกับค่า ML ของสารปนเปื้อนในอาหารจากคณะ ACCSQ/PFPWG โดยมาเลเซียและไทยจะแจ้งความคืบหน้าของ exercise ในการประเมินและในการจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอที่ได้รับจากประเทศสมาชิก โดยใช้ร่างหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินพิธีสาร และส่งข้อมูลผ่าน ร่างแบบฟอร์มสำหรับการส่งข้อเสนอในการจัดทำพิธีสารโดย sectoral bodies
การพิจารณาข้อมูลและข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับรายการเริ่มต้นของพิธีสารที่มีความเป็นไปได้จาก ASEAN Bodies ที่เกี่ยวข้อง เลขานุการอาเซียนได้แจ้งว่าการประชุม PFPWG ครั้งที่ 33 ได้เห็นชอบในหลักการต่อรายการเริ่มต้นของพิธีสารที่มีความเป็นไปได้ภายใต้ภาคการค้า และที่ประชุมได้รับทราบว่า ได้รับข้อมูลจากภาคเกษตรต่อรายการเริ่มต้นของพิธีสาร ทั้งนี้ มาเลเซียได้เน้นความจำเป็นในการแก้ไขชื่อของพิธีสาร เกี่ยวกับการแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหาร ซึ่งรวมทั้งการดำเนินการของ ARASFF โดยพิจารณาว่า พิธีสารจะกำหนดพันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ใช่กำหนดองค์กรของอาเซียน นอกจากนี้ มาเลเซียได้เสนอว่า สำหรับพิธีสาร 1 ฉบับอาจกำาหนดพันธกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียนให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่ได้ปรับประสานและเห็นชอบแล้วมากกว่าจะแยกออกเป็น 3 พิธีสารสำหรับสารพิษตกค้าง วัตถุเจือปนอาหาร และสารปนเปื้อนในอาหาร