การประชุมหารือสมาชิกสมาคม: การชี้แจงกรณีผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานของกรมประมง
30 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น. สมาคมฯ ได้ประชุมหารือ กับสมาชิกสมาคมฯ ในประเด็นกรมประมงออกหนังสือ ชี้แจงกรณี ผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานของประเทศปลายทา งหรือมาตรฐานที่กรมประมง กำหนด โดยกรมประมงจะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัย และประเทศที่ส่งออกในกรณี ดังนี้
1. กรณี ผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร กรมประมงจะระงับการสุ่ม ตัวอย่างและการออกใบรับรองสุขอนามัยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานทันที ทุกประเทศที่ส่งออก
2. กรณี ผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานด้านคุณภาพ รวมถึงการระบุฉลาก กรมประมงจะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยกลุ่มผลิตภัณฑ์ส่งออกไปประเทศที่ตรวจพบปัญหาทันที
สำหรับสินค้าคงคลังของกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกันจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าไม่ได้ถูกผลิตภายใต้แผนการควบคุมการผลิตเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหา และต้องมีผลตรวจยืนยันตามมาตรฐานเพื่อประกอบการพิจารณาการออกใบรับรองสุขอนามัยทุกรุ่นที่ส่งออก สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายใต้ แผนการควบคุมการผลิตที่แก้ไขอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยกรมประมงจะสุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 5 รุ่นติดต่อกัน เพื่อทวนสอบประสิทธิภาพการแก้ไขเดิมในประกาศของกรมประมง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออก ของกรมประมง (ฉบับตุลาคม 2558) ข้อ 10.1.6 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานของประเทศปลายทาง หรือมาตรฐานที่กรมประมงกำหนด โดยมีข้อบกพร่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอย่างร้ายแรง ตามภาคผนวก ข(รายละเอียดตามไฟล์แนบ 1) กรมประมงจะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยผลิตภัณฑ์ประเภทที่พบปัญหาจนกว่าจะมีการแก้ไขที่เหมาะสม แต่หนังสือฯที่กรมประมง แจ้งให้โรงงานทราบนั้น ซึ่งระบุว่า กรณีที่ไม่ผ่านด้านความปลอดภัยอาหาร กรมประมงจะระงับการสุ่มตัวอย่าง การออกใบรับรองสุขอนามัยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานทันที ทุกประเทศที่ส่งออก และในกรณีผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานด้านคุณภาพ รวมถึงฉลาก กรมประมงจะระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยกลุ่มผลิตภัณฑ์ ส่งออกไปประเทศที่ตรวจพบปัญหาทันที
ที่ประชุม สมาชิกสมาคมฯ ได้ให้ข้อเสนอ และผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวฯ ดังนี้
1. สมาชิกสมาคมฯ ทุกกลุ่มสินค้า (กุ้ง หมึก ปลา ปู และซูริมิ) เห็นตรงกันว่ามาตรการข้อ 1 ระบุกว้างเกินไปและมาตรการที่ไม่ได้มีการหารือ กับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการหลายด้าน และในบางกรณี ไม่ควรระงับการออกใบรับรองสุขอนามัยที่ไม่ผ่านมาตรฐานทันที และจะระงับการส่งออกทุกประเทศ มาตรการดังกล่าวเท่ากับเป็นการบังคับ ให้ปิดโรงงาน ภาพรวมทุกโรงงานได้รับผลกระทบ และสร้างความเสียหาย ต่อธุรกิจอย่างมาก รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของกรมประมง ยังไม่มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน จึงขอให้กรมประมงทบทวนมาตรการ เพราะในบางกรณีการไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยบางครั้ง ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรงหรือไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร อาจเป็นเรื่องกฎหมาย หรือการกีดกันทางการค้า ตัวอย่างเช่น ด้านมาตรฐานด้านเคมี สารตกค้าง และเชื้อไวรัส ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดเกณฑ์ไม่เหมือนกัน/ไม่เท่ากัน ดังนั้น การระงับควรเป็นแบบ case by case เพราะบางประเทศไม่ได้กำหนด และเชื้อไวรัสสัตว์น้ำไม่สามารถติดต่อถึงคนได้ และสารตกค้าง บางตัวประเทศไทยเองก็อนุญาตให้ใช้ได้
กรณีกฎระเบียบหรือข้อกำหนดใหม่ๆ ของประเทศปลายที่ออกมาใหม่ โดยที่ผู้ส่งออกยังไม่ทราบ ทำให้สินค้าถูกตีกลับซึ่งกรณีแบบนี้ ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย แต่เป็นเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศผู้ผลิต ซึ่งไม่ทราบล่วงหน้า สินค้าก็อาจถูกตีกลับได้
กรณีตีกลับ เนื่องจากระบุฉลากผิดเพียงผิดเล็กน้อย เช่น ไม่ถูกต้อง หรือภาษาไม่ตรงตามที่ประเทศปลายทางกำหนด หรือสินค้าไม่ตรงตามสเปกที่ลูกค้ากำหนด กรณีแบบนี้ ไม่ควรระงับการออก Health Certificate ประเทศที่ตรวจพบปัญหา แต่ควรระงับเป็นรายบริษัท เนื่องจากโรงงานมีลูกค้าหลายเจ้าในประเทศเดียวกัน หากระงับการส่งออกประเทศนั้น จะส่งผลกระทบกับลูกค้ารายอื่นด้วย
กรณี ส่งสินค้าถึงลูกค้าปลายทางแล้ว และพบว่าสินค้าไม่เป็นไปตามข้อตกลง กับลูกค้า ซึ่งตรวจพบที่ท่าเรือขนส่งก่อนกระจายสินค้าหรือสินค้าวางจำหน่าย และหน่วยงานรัฐสุ่มตรวจสินค้าพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานมีการเรียกคืน ส่งกลับ ทำให้ต้องนำสินค้ากลับมาเปลี่ยนใหม่ ในกรณีแบบนี้จะเข้าข่าย ในกฎระเบียบนี้หรือไม่ ?
2. กรณีผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร มาตรการข้อนี้ เข้มงวดเกินไปส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกเป็นอย่างมาก อาจทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อหรืออาจมีค่าปรับในกรณีที่ส่งมอบสินค้าไม่ตรงเวลา เป็นการเพิ่มภาระ/ต้นทุนโดยไม่สมเหตุผล และขัดกับนโยบายภาครัฐที่ต้องส่งเสริมหรือสนับสนุนภาคผู้ส่งออก ลดภาระให้กับผู้ส่งออก
ทั้งนี้ มาตรการที่เข้มงวดนี้ กรมประมงควรใช้กับโรงงานที่กระทำผิด ไม่ถูกต้อง หรือสวมสิทธิ์ส่งออกมากกว่า จะมาบังคับใช้กับโรงงานที่ปฏิบัติถูกต้องระเบียบของกรมประมง
3. การออกกฏระเบียบ ข้อกำหนดที่จะประกาศบังคับใช้กับโรงงานนั้น กรมประมง ควรหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายตามภายหลัง หรือผู้ส่งออกไม่สามารถปฏิบัติ ซึ่งมาตรการที่ออกมาในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายด้าน
4. สมาคมฯ ไม่เห็นกับมาตรการฯ ของกรมประมง และสมาคมฯ จะทำหนังสือฯ ขอเข้าพบกรมประมง เพื่อชี้แจงให้เหตุผล และขอให้กรมประมงพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรการดังกล่าว
5. ประเด็นอื่นๆ สมาคมฯ รับสอบถามกรมประมง ดังนี้
มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้เฉพาะกรณีที่ตรวจพบ ณประเทศปลายทางอย่างเดียว หรือครอบคลุมรวมถึง กรณีที่กรมประมงสุ่มตัวอย่าง ตามแผนการสุ่มประจำปี ด้วยหรือไม่ ?
กรณี ปูนิ่มจากธรรมชาติจะพบค่า Semicarbazide หรือSEM ที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว และกรมประมงใช้เกณฑ์ควบคุมของประเทศ ที่กำหนดต่ำสุดคือ 0.1 ppb ซึ่งบริษัทรับวัตถุดิบตั้งต้นมาค่าก็เกินมาตรฐานแล้ว ทำให้บริษัทไม่สามารถส่งออกได้ ขอให้กรมประมงพิจารณาประเด็นนี้ จะช่วยบริษัทได้อย่างไรบ้าง ?
กรณีต้องส่งแผนการแก้ไข กรมประมงให้โรงงานส่งแผน การแก้ไขส่งให้กรมประมงแต่กรมประมงไม่ได้แชร์ข้อมูลแผนการแก้ไขที่ส่งประเทศปลายทางให้กับผู้ส่งออกทราบ และหลายครั้งพบว่า ประเทศปลายทางตีกลับแผนการแก้ไขโดยที่โรงงานไม่ได้เห็นรายละเอียด ประเด็นนี้ ขอให้กรมประมงแชร์ข้อมูลให้โรงงานดูก่อน จะส่งให้กับประเทศปลายทางได้หรือไม่
กรณีส่งออกหมึก กรมประมงกำหนดมาตรฐานด้านเคมี (แคดเมียม) ซึ่งกำหนดค่าต่ำ 1 ppm ขอให้กรมประมงพิจารณาทบทวนค่า MRL ตาม Codex ได้หรือไม่ เนื่องจากวัตถุดิบหมึกมีค่าแคดเมียมที่ค่อนข้างสูง หากกำหนดค่าไว้ต่ำ ส่งผลให้ไทยไม่สามารถส่งออกไป EU ได้เสียโอกาสทางการค้า รวมถึง กรณี Surimi Product ที่กรมประมงอิงมาตรฐานของ EU ซึ่งกำหนดค่า phosphate ที่ 0.1ppm ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำสุด แต่กรณีนำซูริมิมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ค่าของ phosphate จะลดลง 50 % กรมประมงควรพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่เหมาะสม
Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association