ประชุมคณะกรรมการวิชาการ มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ดีสำหรับกุ้งทะเล ครั้งที่ 10-2/2566

วันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 9.30-13.40 น. สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยคุณวาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการวิชาการ มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ดีสำหรับกุ้งทะเล ครั้งที่ 10-2/2566 ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings โดยมีนายประพันธ์ ลีปายยะคุณ (รองอธิบดีกรมประมง) เป็นประธานที่ประชุม สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1.รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการวิชาการมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับกุ้งทะเล ครั้งที่ 9-1/2565 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566
2.การประชุมคณะกรรมการวิชาการมาตรฐานสินค้าเกษตรฯ ในครั้งนี้ ที่ประชุมได้เชิญฟาร์มที่ได้รับการรับรอง
มาตรฐาน BAP เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับกุ้งทะเล(มกษ.7401) ฉบับทบทวน
3.คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล(มกษ.7401) ฉบับทบทวน ในข้อกำหนดที่ 3.2.3 ลูกพันธุ์-ข้อกำหนดที่ 3.2.6 การจัดการสุขภาพกุ้ง โดยที่ประชุมพิจารณาแล้วให้ความเห็น ดังนี้
-ข้อกำหนด 3.2.3 ลูกพันธุ์(แนวปฏิบัติ)
ที่ประชุมเห็นด้วยว่า เกษตรกรควรเลือกใช้หรือซื้อลูกกุ้งที่มีคุณภาพ ปราศจากเชื้อก่อโรคตามที่ World Organisation for Animal Health หรือ WOAH กำหนด ทั้งนี้ ผู้แทนจากฟาร์ม BAP ให้ความเห็นว่าปัจจุบัน
เกษตรกรใช้ลูกกุ้งที่อยู่ใน white list ของกรมประมง
-ข้อกำหนด 3.2.4.2 แนวทางการใช้อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปที่ผลิตใช้เองในฟาร์ม ที่ประชุมปรับแก้ไขและตัดข้อความบางส่วนออก ในด้านความรับผิดชอบของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เช่น โรงงานผลิตอาหารสัตว์สามารถแสดงเอกสารที่ระบุสายพันธุ์ และแหล่งประมงของแต่ละชุดการผลิต ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเกินไป และเป็นหน้าที่ของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งบางครั้งไม่ได้แสดงหรือแจ้งให้กับฟาร์มทราบ
กรณี ฟาร์มต้องการยกระดับมาตรฐานตนเอง ฟาร์มอาจจะต้องซื้ออาหารสัตว์จากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ได้มาตรฐาน BAP เพราะใช้วัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่ถูกกฏหมายและสามารถตามสอบได้
ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า จากการแก้ไขปัญหา IUU Fishing ของไทย ทำให้โรงงานที่นำเข้าสัตว์น้ำ หรือผลิตสินค้าประมงใช้วัตถุดิบสัตว์น้ำจากแหล่งและเรือประมงที่ถูกต้องตามกฏหมายและมีเอกส่ารถูกต้องตามสอบได้
-ข้อกำหนดที่ 3.2.6 การจัดการสุขภาพกุ้ง
3.2.6.3การเคลื่อนย้ายกุ้งที่เลี้ยงมีชีวิตและไม่มีชีวิต ให้เป็นไปตามระเบียบของประเทศ ที่ประชุมเห็นว่า ควรตัดข้อความมีชีวิตและไม่มีชีวิตออก เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
สำหรับแนวปฏิบัติ (แผนการจัดการสุขภาพกุ้ง) ขั้นตอนการจัดการคุณภาพน้ำ เพื่อดูแลรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่สัตว์น้ำสามารถทนได้ ที่ประชุมเห็นว่า ความสำคัญการจัดการคุณภาพน้ำ เพื่อให้สัตว์น้ำเจริญเติบโตได้เป็นปกติ ทั้งนี้ ผู้จัดการแผนสุขภาพสัตว์ ควรเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำหรือนักวิชาการที่ผ่านการอบรม
การวินิจฉัยโรคกุ้งตามหลักวิชาการ
-การเคลื่อนย้ายกุ้งที่เลี้ยง ที่ประชุมให้ความเห็นว่า การเคลื่อนย้ายกุ้งต้องไม่ทรมานสัตว์ และไม่เป็นโรคระบาด
ทั้งนี้ กรณี พบกุ้งป่วยหรือกุ้งติดเชื้อฟาร์มจะไม่มีการขนย้าย แต่จะปิดบ่อ และใส่ยาฆ่าเชื้อ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะดูดน้ำออก และฆ่าเชื้อบ่อ แต่บางส่วน จะจับทันทีหรือนำไปขาย (กรณีไม่เป็นโรค)
-โรคกุ้งที่อยู่ในข่ายให้รายงานทันทีที่พบเชื้อหรือมีการระบาด เช่น ตัวแดงดวงขาว โรค ทีเอส โรคหัวเหลืองให้ย้ายไป ข้อ 3.2.3 ลูกพันธุ์

-ฟาร์ม BAP ปัจจุบันมีการเลี้ยงควบคู่กับปลานิล โดยปล่อยลูกกุ้งก่อน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น ปล่อยปลานิลตามและจับพร้อมกุ้ง ไม่มีปัญหาด้านโรคหรือการเลี้ยงคู่กับปลานิล

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association