ประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ครั้งที่ 2/2566

วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30-12.00 น. คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ และคุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รอง ผอ. สมาคมฯ เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ครั้งที่ 2/2566 ผ่านระบบ Zoom Meeting
🌈👉สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. องค์การการค้าโลกกำหนดให้มีการประชุม SPS Committee สมัยสามัญ ครั้งที่ 86ในวันที่ 12 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ประกอบกับมีมาตรการ SPS ที่แจ้งเวียนโดยประเทศคู่ค้าที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย โดยในการประชุม SPS Committee ครั้งที่ 86 ผู้แทนจากมกอช. ได้เข้าร่วมการประชุมฯ ณ นครเจนีวา จึงจะมีการจัดประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในประเด็นต่างๆ และจะจัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เพื่อเตรียมการสำหรับ
การประชุม SPS Committee ครั้ งที่ 86 ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ อีกครั้ง
2.ข้อกังวลทางการค้าที่กระทบต่อไทย
บราซิลหยิบยก STC เรื่องข้อกำหนดด้านสุขอนามัยของไทยสำหรับการนำเข้าสินค้าหนังฟอกกึ่งสำเร็จรูป (Wet blue leather) เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง โดยบราซิลยังคงเรียกร้องให้ไทยยกเลิกการแนบหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (HC) สำหรับการอนุญาตส่งออกสินค้า Wet blue leather จากบราซิลมายังไทย เพื่อให้สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organisation for Animal Health, WOAH)
มาตรการของอินเดียเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมของกฎระเบียบมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร สหภาพยุโรปหยิบยก STC ในประเด็นดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีแคนาดา ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ร่วมกล่าวถ้อยแถลงสนับสนุน โดยเห็นว่า มาตรการดังกล่าวเป็นข้อจำกัดทางการค้าโดยไม่จำเป็นโดยขอให้อินเดีย
(1) แจ้งพิกัดศุลกากรของสินค้าที่ต้องขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 4 หลัก พร้อมระบุระดับความเสี่ยงของสินค้า
(2) ความชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบการตรวจประเมินสถานประกอบการและค่าธรรมเนียมในการตรวจประเมิน
(3) เรียกร้องให้ขยายระยะเวลาเปลี่ยนผ่านในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว
อย่างน้อย 12 เดือนทั้งนี้ ไทยยินดีที่จะหารือทวิภาคีกับบราซิล และหารือกับอินเดีย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน
มาตรการของจีน ประกอบด้วย 2 เรื่อง ดังนี้
(1) มาตรการการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารในต่างประเทศตามกฎระเบียบ
ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ (Decree 249) และมาตรการความปลอดภัยอาหารนำเข้าและส่งออก (Decree 249)
(2) มาตรการเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าสินค้าอาหารและเกษตร
คณะกรรมการสุขภาพและอนามัยแห่งชาติจีน ได้ออกประกาศปรับลดการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2566 ได้ยกเลิกมาตรการที่เกี่ยวข้อง เช่น ยกเลิกมาตรการตรวจโควิดต่อบุคคลและการฆ่าเชื้อ รวมทั้งการสุ่มตัวอย่างตรวจนิวคลีอิคในสินค้าที่ขนส่ง
โดยห่วงโซ่ควบคุมความเย็นที่เข้าสู่จีน พร้อมทั้งให้มณฑลที่เกี่ยวข้องผลักดัน
และฟื้นฟูการปล่อยผ่านการขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสาร ณ ด่านชายแดน อย่างรอบคอบและเป็นระบบ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรของไทย
กลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ จีนยังคงขอความร่วมมือไทยให้ยกระดับการควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคอื่นๆ ที่ยังคงมีการอุบัติขึ้น เช่น โรคไข้หวัดนก โรคปากเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พร้อมขอให้มีการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยอาหารให้แก่ผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารมายังจีน เพื่อรับประกันความปลอดภัยอาหาร และส่งเสริมการเติบโตของการค้าต่อไป โดยจีนจะยกระดับด้านความร่วมมือและการสื่อสารกับประเทศผู้ส่งออก
มาตรการของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับข้อกําหนด Import Tolerances สำหรับสารกำจัดศัตรูพืชบางชนิด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
ในประเทศที่ 3 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขาติดตามต่อไป
ในส่วนประเด็นสินค้าประมง (shrimp) (butterflyfish) ความล่าช้าที่ฝ่ายรัสเซียได้มีการเข้ามาตรวจสอบโรงงานในไทยตั้งแต่ปี 2562 เพื่อพิจารณาอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน ทั้งนี้ ล่าสุดฝ่ายรัสเซียตกลงจะเร่งพิจารณาในการขึ้นทะเบียนโรงงานใหม่ที่จะส่งสินค้าประมงไทยไปรัสเซีย และจะยกเลิกการระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจาก 4 โรงงาน สาเหตุจากพบโลหะหนักเกินมาตรฐาน ภายในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ทั้งนี้คุณอนุชา ได้เน้นย้ำในที่ประชุมในประเด็นดังกล่าว โดยขอให้ไทยมีการหารือเพื่อความชัดเจนกับฝ่ายรัสเซีย และเร่งรัดในการขึ้นทะเบียนโรงงานใหม่ที่จะส่งสินค้าไปรัสเซีย

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association