การประชุมคณะกรรมการ Trade Environment วาระปี 2564-2565 ครั้งที่ 23

วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายกรวิชญ์ ทุมมานนท์ เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ Trade Environment วาระปี 2564-2565 ครั้งที่ 23 ผ่านระบบ Google Hangouts meet จัดโดยสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สาระสำคัญดังนี้
1. ข้อเสนอการเพิ่มสกุลเงินเพื่อทำ Local Currency สำหรับการค้าระหว่างประเทศ
ที่ผ่านมาเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น การดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐฯ สถานการณ์ตลาดการเงินโลก โดยการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นทางเลือกสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566 สรท. ได้เข้าพบ ธปท. เพื่อหารือประเด็น Local Currency และมีความเห็นตรงกันที่จะร่วมมือกันผลักดันการใช้ Local Currency ในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น โดยในปัจจุบัน Local Currency ที่มีอยู่ได้แก่
1.1 ธปท. ได้ร่วมมือกับธนาคารกลางมาเลเซียและอินโดนีเซียผ่อนคลายระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมเงินบาท ริงกิต และรูเปี๊ยะห์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการ quote อัตราแลกเปลี่ยน ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงิน และบริหารเงินทั้งสองสกุลกับลูกค้าในไทย หรือที่เรียกว่า Appointed Cross Currency Dealer (ACCD)
1.2 ธปท. ได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Bilateral Swap Agreement: BSA) ฉบับปรับปรุง กับญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
1.3 การเชื่อมโยงระบบการชำระเงิน (Digital Payment Connectivity) กับประเทศต่างๆ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ข้อดีของ Local Currency คือ
• ลดต้นทุนการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน: ปัจจุบันจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินเมื่อซื้อขายระหว่างประเทศ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน การมีสกุลเงินท้องถิ่นจะทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้นและลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
• การค้าที่เพิ่มขึ้น: สกุลเงินท้องถิ่นสามารถส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น เนื่องจากธุรกิจจะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
• ความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น: สกุลเงินที่ใช้ร่วมกันสามารถส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและเสถียรภาพในภูมิภาคที่มากขึ้น
ความท้าทายของ Local Currency
• ขาดความน่าเชื่อถือ: สกุลเงินท้องถิ่นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากสถาบันที่แข็งแกร่งเพื่อให้ธุรกิจและบุคคลทั่วไปไว้วางใจได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเสถียรภาพของสกุลเงิน อาจไม่ได้รับการยอมรับ
• การประสานงานระหว่างประเทศ: การใช้สกุลเงินที่ใช้ร่วมกันจำเป็นต้องมีการประสานงานและความร่วมมือที่สำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุผลสำเร็จ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่แตกต่างกัน
• ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ: หากมีความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ สกุลเงินที่ใช้ร่วมกันอาจสร้างความยุ่งยากให้กับบางประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจของประเทศไทยแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นในอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญ มูลค่าของสกุลเงินท้องถิ่นก็จะสูงกว่าที่ประเทศอื่น
2. สถานการณ์ส่งออกสินค้าอาหารประจำเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 93,390 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.7% เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง ทั้งนี้ หากพิจารณาการส่งออกรายสินค้า พบว่ามีการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า ยกเว้น กุ้ง เครื่องปรุงรส และสับปะรดกระป๋อง
ไทยมีตลาดส่งออกหลักสินค้าอาหาร ดังนี้
ตลาดอาเซียนมีมูลค่า 28,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% Market Share 26.7%
ตลาดจีนมีมูลค่า 20,949 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% Market Share 20%
ตลาดญี่ปุ่นมีมูลค่า 12,294 ล้านบาท ลดลง 3% Market Share 12%
ตลาดสหรัฐฯ มีมูลค่า 9,328 ล้านบาท ลดลง 13% Market Share 9%
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหาร
ปัจจัยบวก
• ความต้องการสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
• การท่องเที่ยวในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว
• ภาครัฐส่งเสริมการส่งออกไปตลาดใหม่ๆ มากขึ้น
• ต้นทุนด้านพลังงานเริ่มลดลง ค่าระวางเรือกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล

ปัจจัยลบ
• การชลอตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีผลกระทบอย่างชัดเจน กิจกรรมในภาคผลิตของประเทศหลักชะลอตัว
• อัตราเงินเพ้อ ที่ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลก
• ตันทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้า ปุ๋ย วัตถุดิบในการผลิต
• ความผันผวนด้านค่าเงินบาท (15 มีนาคม 34.68 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ)

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association