01/12/65

(R)(e)(p)(o)(r)(t)


เรียน  สมาชิกสมาคมฯ


วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30-13.20 น. ณ ห้องประชุมปลาลัง กรมประมง


(microphone)(microphone) สมาคมฯ โดยนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมติดตามการดำเนินโครงการแผนการพัฒนาและปรับปรุงระบบการประมงทะเล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมประมงที่ยั่งยืนภายใต้หลักการของมาตรฐานสากล ปีที่ 2 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้


(pointing right) 1. ประธานที่ประชุม (นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง) แจ้งที่ประชุมเกี่ยวกับการแจ้งเปลี่ยนแปลงหัวหน้าโครงการแผนการพัฒนาและปรับปรุงระบบการประมงทะเลฯ ที่กรมประมงมีไปยังสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรองอธิบดีกรมประมงที่รับผิดชอบโครงการฯ จาก นายวิชาญ อิงศรีสว่าง เป็น นายบัญชา สุขแก้ว  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565


(pointing right) 2. กรอบระยะเวลาการรายงานความก้าวหน้าโครงการภาพรวม ในปีที่ 2 โดย สวก. ได้ประสานไปยังกรมประมงในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ให้รายงานความก้าวหน้าโครงการ ปีที่ 2 รอบ 6 เดือนแรกของการวิจัย ในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 ทางระบบ Zoom Online Meeting ซึ่งกรมประมงได้แจ้งให้นักวิจัยภายใต้โครงการย่อย (FIP อวนลากฝั่งอ่าวไทย, FIP ปูม้า และ FIP อวนล้อม) จัดทำบทสรุปความก้าวหน้าการวิจัยจัดส่งให้กับกรมประมงเพื่อรวบรวมภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2565 ก่อนส่งให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ สวก. พิจารณาก่อนการจัดการประชุมรายงานความก้าวหน้าฯ


(pointing right) 3. ผลการวิจัยแต่ละโครงการย่อย


(crab) 3.1 การศึกษาประสิทธิภาพของการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า (ธนาคารปูม้าและการปล่อนลูกพันธุ์ปูม้า) ภายใต้โครงการ FIP ปูม้า โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ขณะนี้การวิจัยอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลอัตราผลจับปูม้าในอ่าวไทย รวมถึงข้อมูลแม่ปูม้าจากธนาคารปูม้าในอ่าวไทย เพื่อประเมินประสิทธิภาพขงธนาคารปูม้าในการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าในอ่าวไทย โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ธนาคารปูม้าที่จัดทำตั้งแต่ปี 2561 และการปรับปรุงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 มีผลทำให้ทรัพยากรปูม้าในอ่าวไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จะมีการนำแบบจำลองของพื้นที่อ่าวไทยไปใช้ในการพยากรณ์ประสิทธิภาพของธนาคารปูม้ารายพื้นที่ได้ 


(ship) 3.2 การศึกษาผลการจับสัตว์น้ำจากการประมงอวนลากฝั่งอ่าวไทย ภายใต้ FIP อวนลาก รับผิดชอบโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยทีมวิจัยได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลไปแล้วเมื่อช่วงต้นปี 2565 และวิเคราะห์ความเสี่ยงของสัตว์น้ำที่จับได้จากการทำการประมงอวนลาก โดยมีสัตว์น้ำที่มีความเสี่ยงต่อการลดจำนวนลงจากการทำการประมงอวนลาก จำนวนประมาณ 20 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม ปลาปากคม และหมึกกระดอง ซึ่งหลังจากนี้จะมีการประเมินสถานภาพสัตว์น้ำเป็นรายชนิด (Stock Assessment) เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรรายชนิดต่อไป


(fishing) 3.3 การวิจัยผลการจับจากการประมงอวนล้อมของไทย ภายใต้โครงการ FIP อวนล้อม รับผิดชอบโดยกรมประมง ซึ่งทีมวิจัยของกรมประมงมีการเก็บข้อมูลผลจับจากการประมงอวนล้อมทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันแล้ว โดยมีสัตว์น้ำจำนวน 11 ชนิดหลักทีมีผลจับมากที่สุดจากการประมงอวนล้อม และกรมประมงจะทำการประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์น้ำ 11 ชนิดนี้ ก่อนพิจารณาจัดทำแนวทางการประมงสำหรับสัตว์น้ำแต่ละชนิดต่อไป


(red flag)(red flag) ทั้งนี้ ฝ่ายเลขาฯ ได้แจ้งที่ประชุมเพิ่มเติมว่า ทาง สวก.ได้แจ้งให้แต่ละโครงการย่อย จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยในปีที่ 3 (รอบปีงบประมาณ 2566) เพื่อให้ สวก. พิจารณาภายในวันที่ 25 มกราคม 2566

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association