ประชุมคณะกรรมการแรงงานและพัมนาฝีมือแรงงาน และคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ครั้งที่ 5-2/2567

วันที่ 30 เมษายน 2567 คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกฯ ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายกกิตติคุณ/กรรมการ และคุณเสาวนีย์ คำแฝง ผอ.สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม " คณะกรรมการแรงงานและพัมนาฝีมือแรงงาน และคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ครั้งที่ 5-2/2567"
สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจกรรมโรงแรมระดับ 4 ดาวใน 10 จังหวัด วันละ 400 บาท โดยนำร่องก่อนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 และจะนำไปศึกษาและมาพิจารณาข้อมูลในการประชุมบอร์ดค่าจ้างอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เพื่อพิจารณาเป็นครั้งที่ 3 ในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อไป
2. คณะกรรมการแรงงานฯ ได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน ในเรื่อง “ผลการดำเนินการประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะนโยบรยด้านแรงงานของประเทศไทยปี 2567” ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เช่น การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2567, การให้สัตยาบัน ILO 87,98, การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เป็นต้น
3. รับทราบความคืบหน้าคณะทำงานส่งเสริมการมีงานทำให้ทหารกองประจำการที่จะปลดเป็นทหารกองหนุน โดยได้ประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนส่งเสริมการมีงานทำให้ทหารกองประจำการที่จะปลดเป็นทหารกองหนุน ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งการประชุมได้เห็นชอบให้จัดประชุมเฉพาะกิจในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน เฉพาะรายธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น คนขับรถขน-ส่งนักท่องเที่ยว , ช่างซีมเมอร์ ฯลฯ
4. สรุปสาระสำคัญการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญ ร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งได้มีการแก้ไขกฎหมายโดยสรุป ดังนี้
- กำหนดให้กฎหมายคุ้มครองแรงงานคนทำงานทุกคน (รวมราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน)
- ให้ลูกจ้างชาย มีสิทธิลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่คลอดบุตรตามที่ตกลงในสัญญาจ้าง
- ให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ลาคลอดบุตรได้ 180 วัน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างลาคลอดบุตร 90 วัน
- ให้นายจ้าง ซึ่งมีลูกจ้างรวมกัน 10 คน ยื่นแบบแสดงสภาพการจ้างงานต่ออธิบดีภายในเดือนมกราคมของทุกปี
ทั้งนี้ อ.วาทิน ได้เสนอที่ประชุมว่าผลกระทบต่อการทำงานของลูกจ้างหากลาคลอดเป็นเวลานาน คือ แรงงานต่างด้าวมีการจ้างงาน 2 ปีต่ออายุ 2 ปี รวม 4 ปี หากลาคลอด 180 วัน จะสามารถทำงานให้นายจ้าง
ได้มากสุด 3 ปีครึ่งเท่านั้น หรือผลกระทบทางความสามารถการแข่งขัน , SMEs ขนาดเล็ก ไม่สามารถหาแรงงานทดแทนได้ทัน โดยเห็นด้วยกับอีกข้อเสนอ คือลาคลอด 98 วัน นายจ้างจ่าย 49วัน+ประกันสังคมจ่าย 49วัน
5. สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เห็นชอบให้มีการศึกษาการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ทั้ง 2 ฉบับ เพิ่มเติม ทั้งนี้ในที่ประชุม
- ไม่คัดค้านในฉบับที่ 98 เนื่องจากอาจกระทบต่อลูกจ้างและนายจ้าง แต่ไม่มากนัก แต่บางฝ่ายเสนอไม่ให้รับ เนื่องจากเป็นฉบับที่ไม่มีความผูกพันในเรื่องการเจรจาทางการค้า
- ไม่เห็นด้วยในการรับฉบับที่ 87 เนื่องจาก (1) กรณีการรวมตัวของลูกจ้าง แรงงานข้ามชาติ ซึ่งจะทาให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง (2) แรงงานข้ามชาติมาจากหลากหลายพื้นที่และมีปัญหาด้านการสื่อสาร (3) กฎหมายด้านแรงงานสัมพันธ์รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องยังไม่สอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาฯ ควรทาการศึกษากฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง
6. เห็นชอบการจัดสัมมนา เรื่อง HR Talent Focus กลยุทธ์สร้างองค์กรให้เก่ง ด้วยคนเก่ง (วันที่ 13 มิถุนายน 2567)
7. ระดมความคิดเห็นต่อร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. .... สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประธานฯ ได้ชี้แจงสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อ ร่าง พระราชบัญญัติดังกล่าว อาทิ
ประเด็นปัญหาหมวดแรงงาน ในเรื่อง การพิจารณา IUU ซึ่งเกี่ยวข้องในด้านกฎหมาย ทั้งในเรื่องการแก้กฎหมายให้สอดคล้อง และการนำกฎหมายมาบังคับใช้ นอกจากนี้ยังมีประเด็นกฎหมายเรื่องการค้ามนุษย์ (TIP Report) ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และกฎหมายบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
ประเด็นปัญหาหมวดค่าธรรมเนียม เดิมกำหนด 500 บาท แต่ร่างใหม่กำหนดค่าธรรมเนียมที่ 20 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากการเก็บดังกล่าว จะเป็น Non-Tariff Barier ซึ่งจะทาให้เกิดการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าได้ อีกทั้งยังเป็นภาระต้นทุนของผู้ประกอบการอันจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม การประมงลดลง และยังเป็นอุปรรคต่อศักยภาพในการส่งออกสินค้าเกษตรและแปรรูปของไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยทันทีต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ

ประเด็นปัญหาหมวดเรือประมง ในเรื่องมาตรา 144 ความผิดร้ายแรง ซึ่งเดิมมี 14 ข้อ ร่างปัจจุบันเหลือเพียง 5 ข้อ, การลงโทษเรือขนาดเล็กและขนาดใหญ่ควรมีความแตกต่างกัน เป็นต้น พร้อมทั้งแจ้งที่ประชุมฯ โดยหอการค้าไทย ได้ทำหนังสือข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อการแก้ไข ร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. .... ถึง นายกรัฐมนตรี , ประธานรัฐสภา และ ประธาน กมธ.วิสามัญ ร่าง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association