งานสัมมนา USAID SuFiA TS Regional Forum

งานสัมมนา USAID
วันที่ 6 สิงหาคม 2567 USAID ได้จัดงานสัมมนา "“USAID SuFiA TS Regional Forum” โดยมีผู้แทนสมาคมฯ คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ "Topic ILO Ship to Shore Rights for Good Labour Practices"
วัตถุประสงค์:
1. จัดเวทีระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาคมการประมงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคเอกชน/ผู้มีอำนาจตัดสินใจจากประเทศต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่น่ากังวล ความท้าทาย ความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUU และปัญหาแรงงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การค้ามนุษย์และแรงงานบังคับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าและตลาด
2. พิจารณาผลกระทบของการทำประมง IUU ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่น่ากังวล ต่อชุมชนชายฝั่งและคนงานในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล
3. ระบุมาตรการทางกฎหมายและการตลาด ตลอดจนแผนริเริ่มของภาคเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ ที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งและให้ผลลัพธ์เชิงบวกในการบรรเทาปัญหาการทำประมง IUU และแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่น่ากังวล
4. สำรวจตัวเลือก เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนวิธีการที่อาจช่วยแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU และปัญหาแรงงาน โดยพิจารณาข้อดีข้อเสีย
(five)พิจารณาวิธีการจัดตั้งเวทีระดับภูมิภาคที่ยั่งยืนและยั่งยืน ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับ
การแลกเปลี่ยนข้อมูล การแบ่งปันประสบการณ์ และการดำเนินการร่วมกันที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก
ผลกระทบ:
1. ปรับปรุงความร่วมมือและการสื่อสารในระดับภูมิภาคในประเด็นที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ส่งเสริมการแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูล ความพยายามร่วมกันในการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาหรือมาตรการบรรเทาผลกระทบ
ระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการประมงและอาหารทะเล
2. เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการประมงที่ผิดกฎหมาย IUUและแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่น่ากังวลและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขร่วมกันโดยภาคเอกชน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยคำนึงถึงประเด็นความเท่าเทียม ความยุติธรรมทางสังคม และการรวมกลุ่ม
3. มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับตัวเลือกเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และวิธีการนำไปใช้กับการดำเนินงานของผู้เข้าร่วมหรือการดำเนินงานของซัพพลายเออร์
4. มีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโอกาสทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ที่มีศักยภาพ การเข้าถึงตลาดขึ้นอยู่กับการบรรเทาผลกระทบของ IUU และการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานที่เป็นธรรม
5. ความสามัคคีในระดับภูมิภาคในการระบุและแก้ไขปัญหาที่น่ากังวลของอุตสาหกรรมการประมง ตลอดจนการกำหนดมาตรการและการดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับวิธีแก้ปัญหาและการแทรกแซง
สรุปสาระสำคัญที่ประชุม:
1. การทำประมงที่ยั่งยืน เนื่องจากการประมงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานจำนวนมาก ผู้บริโภคไม่สามารถเห็นผู้ค้าตรงของสินค้าประมง กว่าที่สินค้าจะมาถึงผู้บริโภค ดังนั้นการสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมประมง ต้องทำทั้งห่วงโซ่อุปทาน และเพื่อความยั่งยืนต้องเน้นในเรื่องการจัดการทรัพยากร และการจัดการด้านคนทั้งห่วงโซ่ ทั้งนี้ในส่วน IUU มีสินค้าที่มาจากการทำประมงแบบ IUU 20% และในด้านคนมีการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก ดังนั้นการประชุมครั้งนี้จะเป็นการหารือร่วมกัน และความร่วมมือกันเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความยั่งยืน
(two)Mr. Scott Hoefke จากหน่วยงานกรมศุลกากรสหรัฐฯ Customs and Border Protection (CBP) ได้กล่าวว่า
หน่วยงานมีหน้าที่ในเรื่องการละเมิดที่ผิดกฎหมาย สำหรับ IUU เช่น เรื่องเรือไม่มีการรายงาน จับปลาไม่ถูกกฎหมาย เรื่องการใช้เรือธงต่างๆ ทั้งนี้เพื่อปกป้องจำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำ เพราะหากมีการทำผิด IUU จะทำให้ชาวประมงเสียเปรียบ ส่งผลต่อการยังชีพ ปริมาณสัตว์น้ำลดลง และทำให้ประเทศต่างๆ สูญเสียผลประโยชน์ทางทรัพยากรของตนเอง หากไม่ปกป้องประชาธิปไตยในน่านน้ำ
กลไกของสหรัฐฯ ในการควบคุมด้านแรงงาน จะมีหน่วยงาน CBP ที่บังคับใช้กฎหมาย สามารถยับยั้งสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับ หรือมีเหตุผลอันควรให้เชื่อว่ามีการใช้แรงงานบังคับในกระบวนการผลิต ไม่ให้เข้ามาในประเทศสหรัฐฯ ได้ ภายใต้กฎหมาย Section 307 of the Tariff Act of 1930 โดยขั้นตอนคือ หากสงสัยหรือพบว่าสินค้าดังกล่าวมีกระบวนการผลิตใช้แรงงานบังคับ จะห้ามไม่ให้มีการนำเข้า, กักสินค้าไว้ก่อน/ตรวจยึด, และให้บริษัทส่งข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อหาข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ การสืบสวนด้านแรงงาน จะเหมือนการสืบสวนการละเมิดกฎระเบียบการค้าทั่วไป โดยการรับเรื่องสามารถส่งมาจากหน่วยงานใดก็ได้ แต่ต้องมีรายละเอียดหลัก 3 ประเด็น 1) มีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง 2)เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ และ 3)มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีการใช้แรงงานบังคับ
3. หน่วยงานสหรัฐฯ มี NOAA ซึ่งอยู่ในกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ด้านประมง, สัตว์น้ำ บังคับใช้กฎหมายในอาหารทะเล โดยสัดส่วนกว่า 80% ของสินค้าอาหารทะเลมีการนำเข้าสหรัฐฯ
ทั้งนี้พบ 1 ใน 5 เป็นสินค้า IUU ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมดูแล เพื่อรักษาทรัพยากรและดูแลด้านแรงงาน เพื่อความยั่งยืน โดยมีการทำระบบการติดตามด้านอาหารทะเล (SIMP) ซึ่งอนุญาตการรายงานด้านอาหารทะเลต่างๆ ที่นำเข้าสหรัฐฯ ประมาณ 1,100 สปีชีส์ เริ่มใช้เมื่อปี 2018 ครอบคลุมสินค้า 32% ที่นำเข้าสหรัฐฯ ทั้งนี้ SIMP ไม่ใช่โปรแกรมทางกฎหมาย แต่เป็นระบบที่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ต้องควบคุมผู้ส่งออกของตนเอง ป้องกันสินค้าผิดกฎหมายที่จะเข้ามาสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสัตว์น้ำทั้งที่จับจากธรรมชาติและเพาะเลี้ยง และควบคุมด้านแรงงานบังคับด้วย
4. สำหรับตลาดสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากเป็นประเทศที่มีที่ตั้งสำนักงานของ UN ดังนั้น หลักการต่างๆ จะใช้หลักการ UNGPs ซึ่งมีหน่วยงานเกี่ยวข้องกับ 3 องค์กร คือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co – operation and Development :OECD), สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The UN Refugee Agency :OHCHR) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) มีข้อกำหนดทั้งด้านแรงงานและระบบนิเวศน์
ทั้งนี้ทาง EU อยู่ระหว่างกำลังพัฒนาการตรวจสอบ และการวางแผนที่จะมีบทลงโทษกับผู้กระทำผิด เช่น การจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้ได้รับความเสีสยหายในด้านแรงงาน 5% ของผลประกอบการสุทธิ, การยกชื่อบริษัท
ขึ้นประกาศในสาธารณะ น่าจะมีการบังคับใช้ปี 2026-2030 ในขณะนี้อยู่ระหว่างการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง

5. Mr. Abrizal Ang for Ms. Janti Djuari, Chairwoman
Indonesian Pole and Line and Handline Fisheries Association (AP2H1) เป็นสมาคมการประมงของอินโดนีเซียซึ่งมีการดำเนินการทำมาตรฐาน MSC โดยมีสมาชิก 60 บริษัทเข้าร่วม มีการใช้อุปกรณ์ตกปลาที่รักษาและอนุรักษ์ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตั้นทุนของการทำ MSC ในช่วงหาข้อมูล 7 ปีแรกจำนวน 400,000US$ และในช่วงการปรับปรุงระบบ 200,000 US$ ซึ่งสัตว์น้ำคือ ปลาโอ มีการส่งออก 200,000 ตัน ปริมาณมาก เมื่อทำระบบจะได้ราคาสูงกว่าโดยเมื่อคำนวณแล้ว ผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ
(six)TFFA & TTIA ได้นำเสนอความเป็นมาของโครงการ Ship to Shore Rights SEA ซึ่งมีการดำเนินการในเฟสแรกปี 2016-2020 และเฟส 2 ปี 2021-ปัจจุบัน ซึ่งมีกิจกรรม เช่น การจัดทำคู่มือ GLP สำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเล, การอบรมสัมมนาให้ความรู้ GLP แก่ผู้ประกอบการ, การประชุมหารือร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และ ILO , การจัดกิจกรรม GLP visit ซึ่งเป็นการเข้าเยี่ยมสมาชิกสมาคมฯ เพื่อให้การดำเนินการด้านแรงงานมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีการรายงานผลการดำเนินการประจำปีเผยแพร่ต่อสาธารณผ่านเวปไซต์ของทั้ง 2 สมาคม

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association