Sharing experience on the development and implementation of Seafood GLP in Thailand

วันที่ 4 สิงหาคม 2566 ILO และผู้แทนสมาคม ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม Sharing experience on the development and implementation of Seafood GLP in Thailand ณ โรงแรมโนโวเทล ซิคินี กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้แทนสมาคมฯ คือ คุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผอ. สมาคมฯ
ทั้งนี้ในการประชุมได้มีการนำเสนอที่มาของโครงการ Ship to Shore Right Seafood GLP วัตถุประสงค์ในการทำ GLP การดำเนินการของภาคเอกชนไทยในเรื่อง GLP โดยตัวแทน 2 สมาคมคือ TFFA TTIA โดยมีผู้แทนจากสมาคมประมงของอินโดนีเซีย (Asosiasi Perikanan Pole & Line dan Handline Indonesia : AP2HI) และสมาชิกเข้าร่วมประชุม
สรุปการประชุมดังนี้
1. ความเป็นมาโครงการ Good Labour Practices (GLP) โดย Ms.Mi Zhou CTA Ship to Shore Right SEA ได้มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ ILO ที่ก่อตั้งปี พ.ศ. 2462 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อ
สะท้อนความเชื่อเรื่องสันติภาพ โดยยึดหลักความยุติธรรมในสังคม ต่อมาได้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติปี พ.ศ. 2489 และ ILO กลายเป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ มีนโยบายหารือนโยบายร่วมกันของผู้แทนภาครัฐ ฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง ซึ่งมีลักษณะการทำงาน “ไตรภาคี” ซึ่งเป็นแนวทาง ILO มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยวัตถุประสงค์ ; ส่งเสริมให้หญิงและชายมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการทำงานที่มีคุณค่า มีประสิทธิภาพ มีเสรีภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย และมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ , ส่งเสริมเรื่องสิทธิในการทำงาน โอกาสการจ้างงานที่มีคุณค่า การคุ้มครองทางสังคม และส่งเสริมให้เกิดการปรึกษาหารือในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงาน
แนะนำ SGLP คือ โครงการแบบสมัครใจที่พัฒนาโดยอุตสาหกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2559) ดำเนินการโดยสมาคมอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิก: กิจกรรม การตรวจสอบ การรายงาน สนับสนุนบริษัทให้มีการ ตรวจสอบมาตรฐานแรงงานอย่างต่อเนื่องในระบบการจัดการ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติที่เหมาะสมและยั่งยืน ทั้งนี้ไม่ใช่มาตรฐานใหม่ แต่เป็นเครื่องมือเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากลที่สามารถปฏิบัติได้จริง และส่งเสริมในเรื่องกลไกลการร้องเรียน ร้องทุกข์ การเจรจาต่อรองและการมีส่วนร่วมของลูกจ้างและนายจ้างร่วมกัน
(.) 5 วิธีการนำหลักการ GLP ไปใช้คือ ; อบรมให้ความรู้แก่สถานประกอบการเรื่อง GLP, หารือเพื่อให้ได้
มาตรฐานสถานที่ทำงาน GLP, จัดทำแผนปฏิบัติการของโรงงาน, เยี่ยมชมโรงงานและให้คำแนะนำ, รายงานการเยี่ยมชมและคำแนะนำต่างๆ
2. ร่วมแชร์ประสบการณ์การดำเนินการ SGLP กิจกรรมในโครงการ Ship to Shore Right Seafood GLP ในประเทศไทย โดย
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย
(คุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผู้อำนวยการสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย)
ความเป็นมาของการดำเนินการ GLP โดยเริ่มต้นจากประเด็นปัญหา IUU ที่สหภาพยุโรปมีการดำเนินการบังคับใช้กับประเทศไทย ซึ่งมีประเด็นด้านแรงงานด้วย ส่งผลให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยภาครัฐมีการจัดประชุมหารือและตั้งคณะทำงานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนภาคเอกชนมีการจัดตั้ง Thai Fishery Producers Coalition (TFPC) โดย 8 สมาคมและ 1 บริษัทเอกชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเล และได้มีการเข้าร่วมในโครงการ Ship to Shore Right กับ ILO ในปี 2559-2563 และต่อเนื่องในโครงการ Ship to Shore Right SEA ในปัจจุบัน
ความท้าทายคือ GLP เป็นโครงการแบบสมัครใจ และโรงงานสมาชิกได้มีการดำเนินการด้านแรงงาน โดยมีการตรวจสอบทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน (ลูกค้า) เป็นประจำอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อภายหลังได้มีการดำเนินการ GLP ประโยชน์ที่ได้รับคือ แรงงานมีความสุขในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน, พัฒนาความเป็นอยู่ของแรงงาน, พัฒนาเรื่องการกระบวนการมีส่วนร่วม และการเป็นผู้แทนของแรงงานในโรงงาน นอกจากนี้ยังลดจำนวนการเปลี่ยนงาน ซึ่งเป็นการลดต้นทุนสำหรับโรงงานในการต้องอบรมให้ความรู้กับแรงงาน
ในส่วนสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (คุณอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ ที่ปรึกษาด้านแรงงานฯ ที่ปรึกษาด้านแรงงาน) ได้แนะนำสมาคมฯ และกระบวนการดำเนินการในหัวข้อการ Visits SGLP คือ มีการส่งแบบประเมิน GLP ให้กับสมาชิก, สมาชิกมีการทำแบบประเมิน, นัดหมายเพื่อลงพื้นที่หรือ Online ในการเข้าเยี่ยมโรงงาน พร้อมขอเอกสาร รูปภาพเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น, เดินชมรอบบริเวณโรงงาน กระบวนการผลิต โรงอาหาร ห้องน้ำ บริเวณสันทนาการ เป็นต้น พร้อมทั้งสัมภาษณ์แรงงาน สรุปผลการตรวจแรงงานพร้อมข้อเสนอแนะให้กับโรงงาน โรงงานมีการจัดทำ Action Plan ส่งกลับสมาคมฯ แก้ไขตามคำแนะนำในการเข้าเยี่ยม สรุปเป็นรายงานประจำปีเผยแพร่ให้กับสาธารณะทราบผ่านทาง website ของสมาคมฯ
3. ในส่วนการดำเนินการของทั้ง 2 สมาคมคือ
1) มีความร่วมมือกับหน่วยงาน ILO ภาครัฐ ในการแก้ไขปัญหาแรงงาน จัดทำคู่มือ GLP และแบบประเมิน GLP
2) มีการทำ MOU ร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงาน และหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (ซึ่งทั้ง 2 สมาคมเป็นสมาชิก) ในการร่วมกันดำเนินการ GLP
3) ความร่วมมือกับหน่วยงาน CSOs ต่างๆ เช่น MWG สถาบันอิสรา องค์กรแพลน (ประเทศไทย) MWRN เป็นต้น
4) จัดกิจกรรม วันแรงงานต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลกทุกปี เพื่อให้ตระหนักถึงการให้เด็กในวัยเรียนเข้าถึงการศึกษา
ความท้าทายใหม่สำหรับ GLP
1) การให้ความรู้ GLP อย่างต่อเนื่องในทุกระดับแรงงาน
2) ผู้บริหารระดับสูง/เจ้าของโรงงาน ต้องเข้าใจและมีบทบาทรวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่อง GLP
3) โรงงานมีหลายระดับ ดังนั้นต้องยอมรับผลที่ได้จาก GLP ซึ่งแต่ละโรงงานมีความพร้อมที่ไม่เท่ากัน
4) การให้ GLP เป็นที่น่าเชื่อถือในอุตสาหกรรมและเป็นแรงกระตุ้นให้ยอมรับในลูกค้าและสากล
5) ขยาย GLP ไปสู่ห่วงโซ่อุปทาน
4. สมาคม Asosiasi Perikanan Pole & Line dan Handline Indonesia (AP2HI) โดย Mr.Ilham Alhaq Project Manager
เป็นสมาคมก่อตั้งเมื่อปี 2555 ใน International Coastal Tuna Business Forum (ICTBF) AP2HI เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2557 ในงานประชุม International Coastal Tuna Business Forum (ICTBF) ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา และหลังจากนั้น 7ปี AP2HI ก็ได้รับใบรับรองการประมงของ Marine Stewardship Council (MSC) ในเดือนมกราคม 2021
สมาชิก AP2HI ครอบคลุมห่วงโซ่การแปรรูปปลาทูน่าทั้งหมดในอินโดนีเซีย ทั้งชาวประมงและบริษัทผู้ผลิต และแปรรูป มีการคิดค้นนวัตกรรมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การประมงยั่งยืน และปรับปรุงประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับระเบียบในตลาดโลก และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยุติธรรม โปร่งใส และยั่งยืน ปัจจุบันมีสมาชิกเป็นเรือประมงกว่า 9,000 ลำ โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็ก 1 คน/ลำ ไปจนถึงขนาดใหญ่
สรุประเด็นถาม-ตอบในที่ประชุม
1.ในประเทศไทยมีการตรวจสอบโรงงานทั้งภาครัฐและเอกชนจากหน่วยงานใดบ้าง
- ในไทยจะมีการเข้าตรวจสอบโรงงานในส่วนภาครัฐ คือ กรมประมง ซึ่งดูแลในเรื่องระบบการผลิต สุขลักษณะ ตามมาตรฐานคุณภาพสินค้า ความปลอดภัย เช่น GMP HACCP และหน่วยงานกระทรวงแรงงานคือ กรมสวัสดิการฯ ในเรื่องแรงงาน สำหรับภาคเอกชน คือลูกค้า เช่น Walmart Kroger Tesco เป็นมาตรฐานแรงงาน เช่น SEDEX BRC
2. จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ในโรงงานไม่มีการล่วงละเมิดทางเพศ
ในโรงงานมีการให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีกระบวนการ คกส. ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันในประเด็นต่างๆ ของทั้งตัวแทนนายจ้างและลูกจ้าง ทำให้สามารถหารือกันได้ทุกเรื่องด้านแรงงาน และยังสนับสนุนให้แรงงานมีการแสดงความคิดเห็น แสดงออกในเรื่องต่างๆ ด้วย นอกจากนี้ใน checklist จะได้มีการปรับปรุงเพื่อเน้นในเรื่อง Sexual Harassment เนื่องจากในอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้แรงงานหญิงค่อนข้างมาก

3.สมาคม AP2HI เห็นว่า GLP เป็นโครงการที่ดี และทั้ง 2 สมาคมมีกิจกรรมกระบวนการที่ดี นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมืออย่างดีกับสมาชิกของสมาคม ซึ่งสำหรับ AP2HI ยังมองเป็นเรื่องยากในการทำให้ GLP ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีสมาชิกในหลายระดับ ทั้งนี้ ILO ให้ความเห็นว่า ในตอนแรก GLP จะดูยาก แต่เมื่อทำไปแล้ว และสร้างความเข้าใจให้กับอุตสาหกรรม ทั้งยอมรับในความก้าวหน้าการดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป และความพร้อมไม่เท่ากันในแต่ละโรงงาน ก็จะทำให้ GLP พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association