Consultation on Recruitment Fees and Related Costs for Migrant Workers in the Seafood Processing Sectors

การประชุมหารือ Consultation on Recruitment Fees and Related Costs for Migrant Workers in the Seafood Processing Sectors ในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 โดยมีคุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ และคุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผอ.สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม
การประชุมวันนี้จัดขึ้นโดยมีหน่วยงาน ILO ร่วมกับภาคเอกชน คือสมาคมภาคแปรรูปอาหารทะเล TFFA TTIA และผู้ประกอบการ รวมทั้งหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมหารือกันในเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจัดหางานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องสำหรับแรงงานข้ามชาติในภาคการแปรรูปอาหารทะเล เพื่อให้ได้การจัดหางานที่เป็นธรรม สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนที่นานาชาติให้การยอมรับ จัดหางานสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ไม่เป็นช่องทางการเอาเปรียบและหลอกลวง ที่อาจก่อให้เกิดแรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ การทำงานที่เป็นมิตร นายจ้างได้แรงงานที่ต้องการ ลูกจ้างได้งานที่ดี
สรุปสาระสำคัญ
(1) Mr. Nilim ผู้เชี่ยวชาญด้าน Labour Migration ได้นำเสนอถึงหลักการทั่วไปและแนวปฏิบัติเพื่อการจัดหางานที่เป็นธรรม และบทนิยามว่าด้วยค่าธรรมเนียมในการจัดหางานและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นสำคัญคือ
การจัดหางานระหว่างประเทศควรเคารพกฎหมาย กฎระเบียบ สัญญาจ้าง และข้อตกลงร่วมกันของประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่านและประเทศปลายทาง
สิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ รวมถึงหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน และมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกฎหมายและมาตรฐานไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล
ไม่ควรมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดหางานหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจากแรงงานหรือคนหางาน หรือผลักให้พวกเขารับผิดชอบในทางหนึ่งทางใด ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องจ่าย สามารถมีข้อยกเว้นได้ โดยมีการหารือร่วมกันระหว่างรัฐ เอกชน และ CSOs ทั้งนี้เมื่อมีการกำหนดรายละเอียดแล้ว ต้องมีการชี้แจงกับแรงงานให้รับทราบก่อนมีการสรรหาแรงงาน
แรงงานควรมีเสรีภาพในการเดินทาง ในการบอกเลิการจ้างงานของตน และช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และการตกลงยอมรับข้อกำหนดต่างๆ ควรเป็นไปโดยสมัครใจและปลอดจากการถูกล่อลวงหรือขู่บังคับ
(2) คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคม TFFA นำเสนอการดำเนินการปัจจุบันของสมาชิก TFFA
ปัจจุบันการสรรหาแรงงานแบ่งเป็นโดยตรงผ่านการประกาศรับสมัครงาน, walk in (มีทั้งแรงงานไทยและข้ามชาติ) , ผ่านระบบ MOU (แรงงานข้ามชาติ) และด้วยการแนะนำชักชวนจ่ากเพื่อน ญาติ (มีทั้งแรงงานไทยและข้ามชาติ)
ขั้นตอนการดำเนินการ “สรรหาแรงงาน” คือ วางแผนงาน, ประกาศรับสมัคร, สัมภาษณ์ คัดเลือก, สัญญาจ้าง และอบรมปฐมนิเทศน์
ค่าใช้จ่ายในการสรรหาแรงงานข้ามชาติ สำหรับแรงงาน MOU แบ่งเป็น
1) ในส่วนประเทศต้นทาง เช่น พม่ามีกฎหมายค่าใช้จ่ายที่แรงงานพม่าต้องจ่ายให้กับนายหน้าพม่า ไม่เกิน 300,000 จ๊าด/คน (ประมาณ 5,000 บาท) มีทั้งแบบแรงงานพม่าจ่ายเองทั้งหมด, นายจ้างช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วน และนายจ้างจ่ายให้ทั้งหมด
2) ค่าเอกสารดำเนินการต่างๆ ตาม พรก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉ.2) พ.ศ. 2561 มาตรา 49 ค่าใช้จ่ายที่เป็นความรับผิดชอบของแรงงาน มีดังนี้ ค่าหนังสือเดินทาง, ค่าใบอนุญาตทำงาน,ค่าตรวจสุขภาพและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่รัฐกำหนดเพิ่มเติม สมาชิกดำเนินการ 2 แบบคือ แรงงานข้ามชาติจ่ายเองทั้งหมด และนายจ้างจ่ายให้ในส่วนค่าวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน ค่าตรวจสุขภาพ เป็นต้น
ความคิดเห็นของลูกค้า (ผู้ซื้อ) ในกลุ่ม Seafood Task Force นายจ้างจ่ายค่าวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน ค่าตรวจสุขภาพให้แรงงานข้ามชาติ ยกเว้นในส่วนพาสปอร์ตที่ให้แรงงานจ่ายเอง, ผู้ซื้อที่สำคัญในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ยังเน้นให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยอาหาร ในส่วนแรงงานกล่าวถึงเพียงให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทย, มาตรฐานเอกชน เช่น SMETA BSCI จะเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก/บังคับ การเลือกปฏิบัติ ค่าจ้าง การล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งปัจจุบันไทยมี GLP ซึ่งเป็นแนวทางพื้นฐานในการปฏิบัติ และลูกค้ามีการกล่าวถึงเรื่อง Zero Recruitment, Fair Recruitment แต่ยังไม่มีเงื่อนไขที่ชัดเจน
สิ่งที่ผู้ประกอบการ (สมาชิก) ต้องการ คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นควรมีการแจกแจกรายละเอียดที่ชัดเจน, นิยามและความชัดเจนเรื่อง Recruitment Fees โดยหารือร่วมกันระหว่างไตรภาคี, แนวทางป้องกัน ในกรณีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการสรรหาที่นายจ้างจ่ายไปแล้ว แต่แรงงานทำงานไม่ครบตามกำหนดสัญญา MOU และรัฐประเทศต้นทางและปลายทางหารือร่วมกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อใก้เหมาะสมกับทั้งนายจ้างและแรงงาน
(3) คุณอดิศร เกิดมงคล หน่วยงาน MWG
แสดงค่าใช้จ่ายปัจจุบันของแรงงานในการเข้ามาทำงานอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท/คน
ปัญหาในการนำเข้า MOU เช่น ความล่าช้าของขั้นตอนในการดำเนินการ, ปัญหาในการออกเอกสารหนังสือเดินทาง, ความล่าช้า/วุ่นวายทำให้แรงงานมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น, สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศต้นทางทำให้การย้ายถิ่นอย่างปลอดภัยไม่เกิดขึ้น
ข้อเสนอควรมีการกำหนดการตรวจสอบการเรียกเก็บค่าบริการในการนำเข้า การจัดทำสัญญานำเข้าที่ระบุค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน, กำหนดรูปแบบการแจ้งและแสดงหลักฐานการหักค่าจ้างตาม ม. 49 , จัดทำยุทธศาสตร์การนำเข้าแรงงานตาม MOU ที่ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม
(4) ที่ประชุมได้มีการระดมความคิดเห็นของภาคเอกชนในเรื่องค่าใช้จ่ายปัจจุบัน โดยสรุปดังนี้
ค่าใช้จ่ายปัจจุบันของแรงงานเป็นไปตามกฎหมาย ม.49 คือ ค่าวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน ค่าตรวจสุขภาพ เป็นค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องจ่าย ทั้งนี้มีหลายบริษัทที่ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้กับแรงงาน ในอนาคตหากต้องมีการปฏิบัติตามหลักการ ILO นายจ้างสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ ภายใต้เงื่อนไขว่า “แรงงานต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาคืออยู่ครบสัญญา และหากมีกรณีย้ายงาน หนีงาน ลาออก ต้องมีมาตรการป้องกัน และรับผิดชอบในส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับแรงงาน ที่นายจ้างจ่ายไปตามหลักการกฎหมาย ม. 51
ค่าใช้จ่ายในประเทศต้นทาง เนื่องจากยังไม่มีรายละเอียดและความชัดเจน ปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องจ่าย และอนาคตหากยังไม่ชัดเจนควรเป็นค่าใช้จ่ายที่แรงงานต้องจ่าย
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ป้องกันในการทำงาน สุขภาพที่เป็นการตรวจเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรม, การฝึกอบรม ปฐมนิเทศ และการทดสอบทักษะพิเศษต่างๆในการทำงาน นายจ้างเป็นผู้จ่าย

ILO ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน และจะมีการสรุปความคิดเห็นของทุกท่านในที่ประชุม เพื่อส่งให้พิจารณา และนัดหารือร่วมกันในครั้งต่อไป โดยมีประเด็นต่อเนื่อง เช่น เรื่องพาสปอร์ต ค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน และนำเสนอกับภาครัฐ นำไปเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันเรื่องการคอร์รัปชั่น อันจะนำไปสู่เรื่องการใช้แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ต่อไป

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association