รุกตลาดเอเชียใต้ ขยายการค้าการลงทุนด้วย FTA ไทย-ศรีลังกา

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 คุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผู้อำนวยการสมาคมฯ ได้เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง "รุกตลาดเอเชียใต้ ขยายการค้าการลงทุนด้วย FTA ไทย-ศรีลังกา" ผ่าน online facebook live โดยมี
คุณชุติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานเปิดการสัมมนา
สรุปสาระสำคัญ
เป็น FTA ฉบับที่ 15 ที่ไทยทำ และเป็นฉบับที่ 2 ของเอเชียใต้ ที่ไทยได้ทำ (ฉบับแรก FTA ไทย-อินเดีย) โดยมีการเจรจาทั้งสิ้น 9 ครั้ง โดยมีการลงนามร่วมกันในความตกลง FTA วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 และจะมีการเสนอต่อรัฐสภา โดยนำข้อมูลของทุกท่านในวันนี้ ไปนำเสนอรัฐสภาเพื่อให้ความตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ ระยะเวลาทั้งสิ้นในการเปิดตลาดและลดภาษี 16 ปี แบ่งเป็น (four) กลุ่ม คือกลุ่มสินค้าที่ลดภาษีทันที 50%, กลุ่มสินค้าทยอยลดภาษี 30%, กลุ่มสินค้าลดอาการแต่ไม่เหลือ 0 โดยเริ่มนับจากปีที่ 16 และกลุ่มสินค้าที่ไม่ลดอากร
สินค้าศรีลังกาในส่วนอาหารทะเล มีปูจำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่ไทยสามารถนำเข้ามาได้ (ปูของร้านอาหารสมบูรณ์โภชนา หรือร้านจัมโบ้ของสิงคโปร์ส่วนใหญ่วัตถุดิบปูมาจากศรีลังกา) ปัจจุบันศรีลังกามีการเจรจา FTA กับประเทศในเอเชียใต้ คืออินเดีย ปากีสถาน ในเอเชียคือสิงคโปร์ และมีแผนกับเจรจา FTA กับอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ต่อไปในอนาคต
ศรีลังกาเป็นประเทศที่ได้สิทธิ GSP ของสหภาพยุโรปในหลายสิ้นค้า เช่น กลุ่มเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ยาง ของปรุงแต่งจากพืช ชิ้นส่วนรถบางชนิด อาหารแช่แข็ง ถือเป็นแต้มต่อหากบริษัท
การไปลงทุนภาคผลิตในศรีลังกา
1. การเจรจาฉบับนี้ไม่มีเรื่อง MFN คือมาตการที่เมื่อให้ประเทศอื่นที่เจรจา FTA แล้วต้องให้กับศรีลังกาด้วย ข้อนี้ไม่มี เนื่องจากไทยมีการเจรจา FTA กับหลายประเทศ ซึ่งแต่ละตลาดมีขนาดและมูลค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ไทยต้องนำการเจรจาที่ให้ประโยชน์ในประเทศขนาดใหญ่ ต้องนำมาให้กับศรีลังกา
2. การเปิดตลาดในสินค้าอ่อนไหวของศรีลังกาคือสิ่งก่อสร้าง และตัวแทนการท่องเที่ยว มีเงื่อนไขคือศรีลังกาให้มีการมาลงทุนของนักลงทุนไทย แต่สามารถถือหุ้นได้ฝั่งส่วนน้อยคือ 40%
3. ตลาดการเงิน เป็นที่ถกเถียงกันเนื่องจากทั้ง 2 ประเทศอยากให้เปิดการลงทุนทั้ง 2 ฝ่าย และได้ข้อสรุปในเบื้องต้นคือ ไทยไม่เปิดตลาดการเงินให้ศรีลังกา แต่ศรีลังกาเปิดตลาดดังกล่าวให้ไทย
4. ด้านแรงงาน ไทยอนุญาตให้ด้านแรงงานเข้ามาในไทยได้เพียง 90 วันในแต่ละครั้งเท่านั้น ด้านแรงงานไทยเปิด 2 ประเภท คือนักธุรกิจและผู้โอนย้ายภายในกิจการ (กำหนดระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น) โดยต่ออายุปีละ 3 ครั้งและอยู่ได้เพียง 3 ปี
5. ประโยชน์ที่ได้จากข้อตกลง SLTFTA คือ ส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล เช่น Thailand 4.0 , การเพิ่มโอกาสผู้ประกอบการในประเทศในการลงทุนในตลาดใหม่, การใช้ประโยชน์จากที่ตั้งภูมิศาสตร์ของศรีลังกาในการบุกตลาดเอเชียใต้, การพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศจากการแข่งขัน, การเพิ่มทางเลือกของผู้บริโภคภายในประเทศ
6. สินค้าชา ไทยเปิดเสรีให้เป็น 0 ทันที โดยเปิดไว้ภายใต้ WTO คือมีปริมาณโควตาการนำเข้า ในส่วนถิ่นกำเนิดสินค้าจะมีการหารือกันต่อไป
7. ขณะนี้ศรีลังกาอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตการเมืองในประเทศ ซึ่งสิ่งที่กระทบกับผู้บริโภคในประเทศคือการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อทำเงินมาฟื้นฟูบริหารประเทศ
8. ศรีลังกานับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพื้นฐานเช่นเดียวกับไทย ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือระหว่างกัน มีการใช้ชีวิตที่เงียบสงบ สินค้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป, เสื้อผ้าเด็ก ผู้ใหญ่ รองเท้า กระเป๋า, อุปกรณ์การตัดเย็บ อะไหล่เสื้อผ้า, รถเล็กๆ มอเตอร์ไซต์รวมถึงอะไหล่ , เครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี ตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้า, ปูนซีเมนต์, อาหารสำเร็จรูป,ผลไม้กระป๋อง อาหารอบแห้ง รวมถึงเครื่องปรุงต่างๆ ซึ่งคู่แข่งสำคัญคือประเทศจีน และเครื่องสำอางค์ของไทย ซึ่งมีความต้องการสูงมาก

9. สินค้าที่ศรีลังกามีศักยภาพ และต้องการส่งออกมาไทย คือ ชาซีลอน เพชร พลอย กะทิ มะพร้าว กะลามะพร้าว นำมาเผาเป็นถ่านได้ ไม้กฤษณา เครื่องเทศต่างๆ เช่น พริกไทย อบเชย และยาสมุนไพร

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association