ประชุมคณะกรรมการ Trade Environment วาระปี 2566-2567 ครั้งที่ 4

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 คุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผอ. สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการ Trade Environment วาระปี 2566-2567 ครั้งที่ 4 ผ่านระบบ Google Hangouts meet
สรุปการประชุมดังนี้
สรุปสาระสำคัญ
1. ประชุมพิจารณาแนวทางดําเนินการต่อมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 คณะกรรมาธิการยุโรปเผยแพร่ร่างกฎหมาย ลําดับรองเกี่ยวกับหน้าที่การรายงานข้อมูลของผู้นําเข้าสินค้าภายใต้ CBAM ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และล่าสุดอยู่ในขั้นตอนการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะ ต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566
ปัจจุบัน คณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ระหว่างออกกฎหมายลําดับรองเพื่อ ประกอบการบังคับใช้ระเบียบ CBAM
1 ต.ค. 66 - 31 ธ.ค. 68 คณะกรรมาธิการยุโรปอยู่ระหว่างออกกฎหมาย ลําดับรองเพื่อประกอบการบังคับใช้ระเบียบ CBAM เริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM โดยเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ซึ่งผู้นําเข้ามีหน้าที่ รายงานข้อมูลปริมาณสินค้าที่นําเข้าและการปล่อยคาร์บอน ในกระบวนการ ผลิต (embedded emissions)
1 ม.ค. 69 เริ่มบังคับให้ผู้นําเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการ ปล่อยคาร์บอน
ในช่วง Transition ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ผู้นํา เข้ายังสามารถเลือกวิธีรายงานการนําเข้าได้ 3 วิธี อาทิ 1. ตาม EU กําหนด 2. ด้วยการเทียบเคียงประเทศที่ 3 ที่ EU ยอมรับ และ 3. การรายงานข้อมูลตาม ค่า Default และ 2568 จะต้องทําตามวิธีการที่ EU กําหนดเท่านั้น ก่อนที่จะใช้ จริงปี 2569
รายละเอียดของ CBAM Implementing Regulation ร่างกฎหมาย ประกอบด้วย 40 ข้อบท แบ่งออกเป็น 5 บท และ 9 ภาคผนวก และหาข้อมูลระเบียบ CBAM และภาคผนวกระบุรายการสินค้าที่: https://bit.ly/3DrU7ES
ความกังวลภาคเอกชน : ผู้ประกอบการในภาพรวมยังคงมีความกังวลถึงความเป็นธรรมในการคํานวณ ปริมาณการปล่อยก๊าซฯ และการปรับ/ลงโทษ รวมถึงความพร้อมของ SME ไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน
1. เสนอให้เสนอให้มีการตั้ง กรอ. สิ่งแวดล้อม และ ดําเนินการในระดับ Focus group ในลําดับถัดไป และสินเชื่อ เพื่อสิ่งแวดล้อมต้องครอบคลุมรับรองมาตรการ CBAM และ ขอบเขตของสินค้าขอให้ชัดเจนว่าครอบคุมถึงบรรจุภัณฑ์หรือ เฉพาะตัวสินค้าเท่านั้น
2. ขอให้มีหน่วยงาน Focal point ในการอํานวยความสะดวก ให้กับผู้ประกอบการส่งออก ในระยะแรก
2. ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย – สหภาพยุโรป ภายใต้ข้อบทที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
ข้อเสนอที่ประชุม :
- ขอให้มีการระบุประเด็น Knowledge sharing สําหรับมาตรการ Decarbonization เพื่อให้ประเทศไทยได้ ประโยชน์เกี่ยวด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม อาทิ ความรู้ การดูแลสภาพของโรงงาน SME
- สินค้าเกษตรและอาหารมีสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปค่อนข้างมาก อยากให้นําเสนอข้อมูลการส่งออกใน หมวดหมู่สินค้าเกษตร และมีการให้ความสําคัญกับสินค้าเกษตรในการเจรจา FTA มากขึ้น และขอให้สนับสนุนใน การยกระดับเกษตรกรไทย ในเรื่องคุณภาพ เทคโนโลยี ให้เทียบเท่ามาตรฐานของ EU ให้เป็นที่ยอมรับ และ เทียบเท่ากับคู่แข่ง อาทิ อินเดีย ทั้งนี้ การสนับสนุนผู้ประกอบการ เกษตรกร หรือ MSME ก็ตาม ใน FTA อาจจะ ต้องขอเจรจาว่า ได้รับการยกเว้นในแง่ของ Subsidies ของไทยเพิ่มเติม
- Carbon Credit : ผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับเกณฑ์การคํานวนที่ยังไม่ระบุแน่ชัด และอยากให้มีการแสดง ตัวอย่างการคํานวณ Carbon และถ้าหากผู้ประกอบการยังไม่มีการเตรียมตัวจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
- TBT หรือ NTB ใน FTA กับสหภาพยุโรป ขอให้ทางกรมฯ หรือ สมอ. รับเป็นหน่วยงานความร่วมมือกับทาง EU ใน เรื่องของการมีมาตรฐานและการออก Certificate แบบ Paperless ซึ่งสามารถช่วย MSME ได้มาก
- จากที่ขณะนี้EU มีการ Trace back กลับไปถึงการเลี้ยงวัวและการเชือดจะต้องถูกต้องตามหลักและมาตราฐาน ของ EU ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร และ SME ไม่สามารถปรับได้ตามมาตรฐานได้ตามที่อียูกําหนดไว้ได้ เนื่องจาก มีอุปสรรคด้านงบประมาณในการสนับสนุน
- ปัจจุบันมีการลักลอบสินค้าเข้ามายังประเทศไทย ทําการเปลี่ยนฉากและส่งออกไปยัง EU โดยทาง EU มีผู้เชี่ยวชาญและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ขอเสนอให้มีการระบุความร่วมมือด้านนี้เพิ่มเติม
3. ประชุมเพื่อแจ้งความคืบหน้าและรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของ ไทยกับประเทศคู่ค้า
- ไทยมีการเจรจา TH-CA แต่เมื่อทำการศึกษาแล้ว คิดว่าไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร จึงมีการเปลี่ยนเป็นการเจรจาระดับภูมิภาคคือ ASEAN-CA โดยคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในปี 2567
- ไทย-UAE มีการเจรจาเริ่มเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะใช้เวลาในการเจรจาไม่เกิน 6 เดือน
- ไทย-ศรีลังกา เริ่มการเจรจาปี 2561 ตั้งเป้าเจรจาจบในปี 2567
- ไทย-EU เริ่มการเจรจากันยายน 2565 ตั้งเป้าการเจรจาจบภายในปี 2568
อุตสาหกรรม
- ส่วนใหญ่ตัวเลขลดลง ยกเว้นในส่วนอิเล็คทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ แผงวงจร โทรทัศน์ ตัวเลขเพิ่มขึ้น 15%
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ตัวเลขเพิ่มขึ้น 5% แต่อุปกรณ์ชิ้นส่วนมีปริมาณลดลง อาจส่งผลให้ยานยนต์ขาดอุปกรณ์การผลิต
- อุตสาหกรรมข้าวตอนนี้อินเดียมีการแบนการส่งออกข้าวขาวไทย และขึ้นภาษีข้าวนึ่ง ในส่วนผลผลิตข้าวในไทย เนื่องจากข้าวเวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งไทย ส่งออกเหลือปริมาณน้อย ทำให้ผลผลิตไทยที่จะออกในเดือนสิงหาคม (นาปรังรอบ 2) และเดือนตุลาคม (นาปี) จะมีความต้องการของตลาดอย่างมาก ทำให้ราคาข้าวขาวขึ้นตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 400 US$ ตอนนี้ขึ้นมาเป็น 600 US$ ซึ่งคาดว่าสิ้นปี 2566 ผลผลิตข้าวไทยอาจจะถึง 8.5 ล้านตัน
- อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ในส่วนปริมาณ และมูลค่าการส่งออกหน่วยบาทและดอลล่าร์ ลดลง 15.5% 10% 12.5% ตามลำดับ ในสินค้ากุ้ง ปัจจุบันประเทศที่ผลผลิตสูงสุดคือ เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย มีปริมาณ 1.2 ล้านตัน, 7 แสนตัน, 6.5 แสนตัน, 3.5 แสนตัน และ 2.5 แสนตัน ด้วยสถานการณ์ในปีนี้ ผลผลิตล้นตลาดโลก ประกอบกับเอกวาดอร์และอินเดียมีห้องเย็นน้อย ทำให้ต้องเร่งขายในตลาด ราคาถูกและประเทศนำเข้าหลักคือสหรัฐฯ ประสบปัญหาเศรษฐกิจ และสินค้าในคลังยังมีเยอะ ทำให้ต้องชะลอคำสั่งซื้อ และซื้อในราคาถูก ส่งผลให้ราคากุ้งทั่วโลกตกต่ำ
- ในส่วนประเทศไทย กุ้งตลาดหลักคือสหรัฐฯ มีคำสั่งซื้อลดลง เนื่องจากสหรัฐฯ มีสินค้าในสต๊อกจำนวนมาก หรือหันไปซื้อจากเอกวาดอร์ อินเดียที่ราคาต่ำ ทำให้สินค้าไทยสู้ราคากุ้งในตลาดโลกไม่ได้ สำหรับสถานการณ์เรื่อง Antidumping สินค้ากุ้งส่งออกไปสหรัฐ มีการทำ Sunset ครั้งที่ 3 โดยล่าสุดคือไทยไม่หลุด AD ทำให้ต่อไปอีก 5 ปี สำหรับประกาศล่าสุดที่พิจารณา POR18 โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิกถอน
คำสั่งฟ้องในรอบ POR18 (ส่งออก 1 กพ 2565-31 มค 2566) ทำให้อัตราภาษีเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 0.81%

ในส่วนสินค้าปลา ซูริมิ การค้าลดลง 15-20% เนื่องจากต้นปีราคาวัตถุดิบสูง ทำให้ต้องมีการนำเข้าจากอินดีย เวียดนาม คาดว่าครึ่งปีหลังจะดีขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจกลับมา

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association