ประชุมหารือการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าปลาและสินค้าประมงนำเข้าที่ถูกกักกัน

การประชุมหารือการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าปลาและสินค้าประมงนำเข้าที่ถูกกักกัน (Detention Without Physical Examination: DWPE)
เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 สมาคมโดยคณะอนุกรรมการกลุ่มสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ และผู้แทนจากหน่วยงานภายนอก (มกอช. สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย)
สืบเนื่องจาก USFDA ได้มีการร่างระเบียบปฏิบัติในการเก็บตัวอย่างสินค้า เพื่อวิเคราะห์ว่าสินค้ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ก่อนการตรวจปล่อยสินค้าที่อยู่ระหว่าง detention ซึ่งมีสาเหตุจากการตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้าง จุลินทรีย์ ฮีสตามีน เพิ่มมากขึ้นในสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ประมง ทั้งจากรูปแบบอาหารแช่เยือกแข็ง อาหารกระป๋อง อาหารบรรจุภาชนะ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ Retort Pouch เมื่อสินค้าเหล่านี้ถูก reject จากการตรวจพบเชื้อ และสารตกค้างจะถูก reject โดยชื่อของบริษัทผู้ส่งออก จะขึ้นอยู่ใน Import Alert ไม่ถูกตรวจทางกายภาพ (Detention Without Physical Examination: DWPE) ร่างระเบียบปฏิบัติในการเก็บตัวอย่างสินค้า เพื่อวิเคราะห์ว่าสินค้ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค (Draft Guideline) Recommendation for collecting Representative Samples for Food Testing Used as Evidence for Release of Certain Fish and Fishery Products Subject to Detention Without Physical Examination (DWPE) and Removal of a Foreign Manufacturer’s Goods from DWPE: Guidance for Industry
ร่างคู่มือฉบับนี้ จะถูกนำมาใช้กับบริษัทที่มีรายการ สินค้าติดอยู่ใน Import Alert และ FDA อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นภายใน 60 วัน (ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ -12 เมษายน 2567) **กรณี ที่บริษัทไม่ได้มีรายชื่อใน Import Alert จะไม่ถูกใช้ระเบียบฉบับนี้**
หากสินค้าอยู่ในรายการ detention เจ้าหน้าที่ FDA จะเก็บตัวอย่างตามคู่มือ ซึ่งมีการจัดกลุ่มได้ทั้ง
- ตามกระบวนการผลิต ทั้งคุณลักษณะ เช่น ประเภท ชนิด ขนาด ของผลิตภัณฑ์ จำนวน น้ำหนักบรรจุภัณฑ์ รูปแบบสินค้า (ตามรายละเอียดใน invoice)
- รหัสการผลิต โดย บ่งบอกแหล่งที่มา ของผลิตภัณฑ์ เช่นฟาร์ม พื้นที่ หรือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต สายการผลิตเฉพาะ เป็นต้น
ระเบียบนี้กำหนดให้เก็บตัวอย่างให้ครอบคลุม และวิเคราะห์ทุกตัวอย่างที่มีการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้า เช่น สินค้า 1 ปอนด์ ให้เก็บ 24 ตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์ เพื่อความเชื่อมั่นทางสถิติที่ 95% แต่หากผู้นำเข้า มีวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ดีกว่า สามารถให้ข้อคิดเห็น และมีข้อมูล หลักฐานและสถิติเสนอต่อ FDA ได้
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ได้มีการหารือและสรุปแนวทางยื่น ความเห็นไปยัง FDA โดยดำเนินการ 2 แนวทาง คือ
- ภาคเอกชน โดยสมาคมฯ แสดงความเห็น ถึงผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ ต้นทุนการดำเนินงาน และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการสุ่มตรวจวิเคราะห์ สำหรับสินค้าที่ถูกกัก
- หน่วยงานรัฐ กรมประมง และ มกอช. จะเน้นย้ำเรื่องระบบ มาตรการตรวจสอบป้องกัน
- รวมทั้งอาจต้องนัดหมายหารือกับทาง FDA โดยผ่านทางทูตเกษตรของไทย ที่ประจำสหรัฐฯ

ในส่วนของสมาชิกจะหาข้อมูลระเบียบการสุ่มตัวอย่างแบบเดิม ก่อนที่จะมีการกำหนดใช้ระเบียบใหม่ หลังวันที่ 12 เมษายน 2567 และสมาคมฯ จะมีหนังสือไปยัง มกอช. เพื่อขอให้ทาง มกอช. ได้แสดงความเห็นในนามประเทศ

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association