ประชุมคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 2 สิงหาคม 2566 นายอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ และนายกรวิชญ์ ทุมมานนท์ เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบ Google Meet จัดโดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สรุปดังนี้
ความคืบหน้าการเจรจา FTA ไทย-EFTA
ประเด็นเจรจามีดังนี้ การเปิดดลาด (สินค้า/บริการ/ลงทุน) กฏว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้าและพิธีการศุลกากร กฏระเบียบ/มาตรฐาน (SPS/TBT) มาตรการเยียวยาทางการค้า ทลไกเชิงสถาบัน/การระงับข้อพิพาท ความร่วมมือระหว่างกัน
ประเด็นเจรจาใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นในการเจรจา ได้แก่ E-commerce การแข่งขันทางการค้า การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน (สิ่งแวดล้อมและแรงงาน)
การเจรจาได้มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับหัวหน้าคณะเจรจา และระดับการเจรจากลุ่มย่อย
ความคืบหน้าการเจรจา FTA ไทย-EU
ล่าสุดการประชุมเจรจาในรอบต่างๆ มีทั้งการประชุมแบบผสมผสาน (ไฮบริต) โดยมีทั้งการประชุมทางไกลผ่านระบบออนไลน์และการประชุมเจรจาแบบพบกันจริง
ประเด็นที่เจรจา FTA ไทย-EU ได้แก่ การเปิดตลาด (สินค้า/บริการ/ลงทุน) กฏว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้าและพิธีการศุลกากร กฏระเบียบ/มาตรฐาน (SPS/TBT) มาตรการเยียวยาทางการค้า ทลไกเชิงสถาบัน/การระงับข้อพิพาท ความร่วมมือระหว่างกัน เช่น แผนงานการเจรจา การค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน การแข่งขัน รัฐวิสาหกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การค้าดิจิทัล พลังงานและวัตถุดิบ SMEs และหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเจรจา ได้แก่ ภาษีการส่งออกจะเป็นศูนย์ สามารถแข่งขันด้านราคาและมีแต้มต่อกับประเทศที่ไม่ได้ทำ FTA กับ EU และทำให้ภาคการผลิตลดต้นทุนการผลิตได้ โดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์ เกิดการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างกัน ไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม และช่วยดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุนในไทยอีกด้วย โดยมีเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จภายใน ปี พ.ศ. 2568
คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ ได้ให้ความเห็นว่า EU ได้ตัดสิทธิประโยชน์ GSP ในกลุ่มสินค้าประมงของไทย ส่งผลให้สินค้าประมงที่ส่งเข้าไป EU ต้องใช้อัตรา MFN (Most Favored Nation) ทำให้ภาษีสินค้าประมงมีอัตราภาษีสูงขึ้นและไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ โดยเมื่อเปรียบเทียบปี 2565 กับปี 2557 มูลค่าการค้าสินค้ากุ้งลดลง 86% หมึกลดลง 27% ทูน่าลดลง 80% โดยรวมทั้งหมดสินค้าประมงลดลงถึง 67% โดยสมาคมฯ ได้เสนอให้นำรายการสินค้าประมงสด แปรรูป แช่เย็นแช่แข็ง เข้าไปเจรจา FTA ไทย-EU ในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้จัดส่ง (Draft) Thailand's Request List under FTA TH-EU รายการสินค้า และ HS Code ของ EU ตามฟอร์มที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดทำไว้ส่งให้กับสมาชิกสมาคมฯ เรียบร้อยแล้ว และขอให้ตอบกลับภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2566เพื่อส่งรายการสินค้าของสมาชิกไว้ในการเจรจา และให้อัตราภาษีมีผลเป็น0% ทันทีเมื่อการตกลงบังคับใช้
ความคืบหน้าการเจรจา FTA ASEAN-Canada
รูปแบบการประชุมเจรจา
• คณะกรรมการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเชียน – แคนาดา (ACAFTA Trade Negotiating Committee: ACAFTA TNC) เพื่อกำกับดูแลและติดตามภาพรวมการเจรจา
• คณะทำงานเจรจากลุ่มต่าง ๆ (Working groups/Sub-working groups) เพื่อเป็นผู้เจรจาข้อบทในรายละเอียด โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำคัญเข้าร่วม
• กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert groups) เพื่อหารือประเด็นการค้าใหม่ ๆ ในเรื่องแรงงาน สั่งแวดล้อม และการค้าที่ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน
ความคืบหน้าการเจรจา FTA ไทย-UAE
ไทยเป็นเจ้าภาพการเจรจา FTA รอบที่ 2 กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ในวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2566 ณ กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายสรุปผลการเจรจาให้สำเร็จภายใน 6 เดือนนับจากวันที่เริ่มต้นเจรจา
การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ หรือ CEPA (Comprehensive Economic Partnership Agreement) ระหว่างไทย-UAE มีคณะกรรมการเจรจาการค้าและคณะทำงานกลุ่มย่อย 11 คณะ เกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การค้าสินค้า พิธีการศุลกากรและอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ MSMEs กฎหมายและสถาบัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ทรัพย์สินทางปัญญา การค้าบริการรวมถึงการค้าดิจิทัล การลงทุน มาตรการที่เป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
UAE เป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของไทยในตลาดโลกและอันดับ 1 ในตะวันออกกลาง ในปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับยูเออี เพิ่มขึ้นเป็น 20,824.2 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 73.9% จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ UAE ลดลง 4.50% จากปีก่อนหน้า
ความคืบหน้าการเจรจา FTA ไทย – ศรีลังกา
คณะกรรมการร่วมทางการค้าได้ติดตามความคืบหน้าการเจรจาทั้งหมด โดยเฉพาะการลดและยกเลิกภาษีศุลกากร การยกระดับมาตรฐานกฎระเบียบทางการค้าให้โปร่งใสและเข้าถึงง่าย และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ
ส่วนการประชุมคณะทำงานทั้ง 9 คณะ ได้ยกร่างความตกลงใกล้เสร็จแล้ว และมีแผนการสรุปผลการเจรจาให้เสร็จภายในต้นปี 2567
ในปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและศรีลังกามีมูลค่า 358.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปศรีลังกามูลค่า 271.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าจากศรีลังกามูลค่า 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเจรจาจัดทำความตกลง Indo-Pacific Economic Framework (IPEF)
IPEF เป็นการเจรจาเพื่อเพิ่มอำนาจในภูมิภาคและต้านอิทธิพลจีน ร่วมกับสหรัฐและ 13 ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาครวมถึงออสเตรเลีย บรูไน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และฟิจิ ทั้งนี้ IPEF มีขนาดใหญ่กว่า RCEP และ CPTPP ในแง่ของมูลค่าการค้า
ไทยต้องเลือกกลยุทธ์ที่จะเข้าร่วมกับพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อสร้างประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนในประเทศ โดยข้อตกลงใน IPEF ไม่เหมือนกับ FTA เพราะเป็นการควบคุมและมีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานร่วมกันในกลุ่มประเทศ โดยสหรัฐเป็นแกนนำในการเจรจา IPEF และพยายามดันอินเดียเข้าร่วมเพื่อเพิ่มอำนาจในภูมิภาค

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association