ประชุมกับ EJF ประเมินสถานการณ์การแก้ไขกฎหมายประมง

เช้าวันนี้ 1 มีนาคม 2567 สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย โดยมี ดร.อดิศร พร้อมเทพ ที่ปรึกษาด้านประมงสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และผู้แทนด้านความยั่งยืนจากบ. ไทยยูเนียน ได้ร่วมประชุมออนไลน์ กับหน่วยงาน EJF (Environmental Justice Foundation) ประเมินสถานการณ์การแก้ไขกฎหมายประมง : ร่างพ.ร.บ แก้ไข พรก.การประมงและกฎหมายลำดับรอง เพื่อรับฟังความเห็นและแลกเปลี่ยนความเห็นข้อกังวลรวมถึงสรุปประเด็นด้านกฎหมาย สรุปดังนี้
EJF อธิบายร่างกฎหมายที่กำลังเข้าสภาซึ่งอยู่ในระยะแปรญัตติ 15 วัน โดยใช้ร่างกฎหมายฉบับของ คณะรัฐมนตรี เป็นร่างหลัก และอีก 7 ฉบับที่มาจากพรรคการเมือง พิจารณาปรับเพิ่ม ซึ่งรายชื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย EJF ให้ข้อสังเกตว่าขาดผู้มีความรู้ด้านแรงงานสิ่งแวดล้อม ตัวแทนภาคประชาสังคม ผู้ประกอบธุรกิจแปรรูป และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการด้วย ขณะเดียวกัน EJF อยู่ระหว่างเสนอชื่อผู้แทนภาค ประชาสังคม เพื่อเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
ร่างพระราชบัญญัติพิจารณาของคณะกรรมาธิการ และฉบับผ่านกฤษฎีกานี้ อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2567 ซึ่ง EJF ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ อยู่ในระหว่าง การแปรญัตติ แต่ก็ยังคงเปิดรับฟังความคิดเห็น ไปพร้อมด้วยซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่สอดคล้องกัน
จากการหารือ มีประเด็นที่ค่อนข้างกังวล ตามบทบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันหลายมาตรา เช่น
1) การยกเลิกข้อจำกัดในการปฏิบัติเกี่ยวกับ การทำประมง IUU เช่น มาตรา 83/1 การขนถ่ายลูกเรือทางทะเล มาตรา 85/1, มาตรา 87 การอนุญาตขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล
2) เพิกถอนการใช้เขตอำนาจนอกดินแดน เช่น มาตรา 8 ผู้มีสัญชาติไทย มีการทำประมง IUU นอกน่านน้ำ
3) การนำเข้าสัตว์น้ำ เช่น มาตรา 97 จำกัดปริมาณ สัตว์น้ำ นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
4) แรงงาน ตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม ซึ่งเกี่ยวข้อง กับหลายมาตรา
5) มาตรการอนุรักษ์ เช่น มาตรา 67 ยกเลิกการควบคุมเข้มข้น อนุญาตใช้เครื่องมือทำลายล้าง มาตรา 66 ผ่อนปรนการจับสัตว์สงวน เป็นต้น
6) การผ่อนปนข้อบังคับรวมถึงการกำหนดโทษ ให้ลดลงของผู้ทำผิดและลดการลงโทษของ เรือประมงขนาดเล็กขนาดใหญ่ รวมกัน
7) ท้ายบัญญัติ ; การเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการนำเข้าสัตว์น้ำ
โดยภายหลังการประชุม EJF จะมีการดำเนินการ ดังนี้
1.ขอเสนอผู้แทนหน่วยงานเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการด้านกฎหมาย เพื่อเข้าร่วมออกความเห็น
2.ทำข้อเสนอความเห็นรายมาตราถึงคณะกรรมาธิการร่างกฎหมาย
3.ร่วมเสนอความเห็นตัวแทนจาก EU 25 ประเทศเพื่ออธิบายร่างกฎหมายและข้อกังวลของ NGO ที่เกิดขึ้น
4.จัดทำหนังสือแสดงความเห็นของ NGO และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งตรงถึงคณะกรรมาธิการร่างกฎหมายและเผยแพร่ถึงสาธารณะ
ในส่วนของสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้มีแผนดำเนินการดังนี้
1) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย สมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ทำหนังสือ " ไม่เห็นด้วย " กับร่าง พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ..... ไปยังหอการค้าไทย เพื่อให้ผลักดันไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรียบร้อยแล้ว
2) สัปดาห์หน้า (4 มีนาคม) สมาคมฯ จะประชุมร่วมกับ ทีมทำงานด้านกฎหมายของหอการค้าไทยและสมาคมฯ ที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์รายมาตรา แสดงความ เห็นท่าทีของภาคเอกชน ส่งให้กับคณะกรรมาธิการฯ โดยมีคุณพจน์ เป็นประธาน

3) ส่วนของการแสดงความคิดเห็นเต็มฉบับ จำนวน 29 ประเด็น ผ่านช่องทางกฤษฎีกาทางเว็บไซด์ สมาคมฯ จะสรุปและขอความร่วมมือสมาชิกให้ เข้าร่วมแสดงความเห็นอีกครั้ง

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association