ประชุมคณะทำงานพัฒนาสารสนเทศการเกษตรระดับประเทศ ครั้งที่ 1/2566

(R)(E)(P)(O)(R)(T)


27 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยคุณเสาวนีย์ คำแฝง (ผู้อำนวยการสมาคมฯ) และคุณวาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาสารสนเทศการเกษตรระดับประเทศ ครั้งที่ 1/2566  ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings โดยมีนายวินิต อธิสุข (ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร) เป็นประธาน จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สรุปสาระสำคัญสินค้ากุ้งและทูน่า ดังนี้


*สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์*

(*) ผลผลิตกุ้งไทย จากระบบ APPD และหนังสือ MD เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 239,344  ตัน เพิ่มขึ้น 0.14 %  (จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 238,373 ตัน) 

(*) ราคากุ้งขาวเฉลี่ย ไตรมาส 4 (ต.ค.-พ.ย.) ราคาปรับลดลงทุกขนาด เฉลี่ยลดลงร้อยละ 5  เมื่อเทียบกับไตมาสที่ 3/2565 เนื่องจากเศรษฐกิจและราคาในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง  จากตลาดสหรัฐอเมริกามีสินค้ากุ้งในคลังมากขึ้น ร้อยละ 0.54  เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4/2564 ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น จากการผ่อนคลายโควิด-19

(*)การนำเข้ากุ้งของไทย ไตรมาส 3/2565 เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565  ไทยนำเข้ากุ้ง ปริมาณ 5,686 ตัน คิดเป็นมูลค่า1,3046 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สัดส่วนตลาดหลักนำเข้ากุ้งของไทย  ดังนี้ เอกวาดอร์ 34% , อาร์เจนติน่า 20 %, อินเดีย 6%, ปากีสถาน 5%  และเวียดนาม 3%

(*)การส่งออกกุ้งของไทย  ไตรมาส 3/2565 เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565  ไทยส่งออกกุ้งปริมาณ 25,251 ตัน คิดเป็นมูลค่า 8,806 ล้านบาท ปริมาณลดลงร้อยละ 9 มูลค่าลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งตามตลาดส่งออกหลัก ดังนี้ อเมริกา 29 %,  ญี่ปุ่น 27 %),  จีน 17 % เกาหลีใต้ 6 % และ ไต้หวัน 5%

สถานการณ์ตลาดหลัก (อเมริกา/ญี่ปุ่น/เอเชีย) 


(.) สหรัฐอเมริกา  เดือนมกราคม - ตุลาคม 2565 อเมริกานำเข้ากุ้ง ปริมาณ 715,711 ตัน มูลค่า 6,715 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณลดลง 1.82 % มูลค่าเพิ่มขึ้น 5 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนนำเข้าจากประเทศ 5 อันดับแรก(ตามมูลค่า) ได้แก่ อินเดีย 35 % , อินโดนีเซีย 20% ,  เอกวาดอร์ 19 %,  เวียดนาม  10 % , ไทย 5 %  และประเทศอื่นๆ 8%  ซึ่งนำเข้าจากไทย เพิ่มขึ้น 4 % มูลค่าเพิ่มขึ้น 11 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยพิกัดสินค้าที่จีนนำเข้ามากที่สุด 03061700041 WARM-WATER PEELED FROZEN FARMED  ร้อยละ 41 %


การนำเข้ากุ้งในเดือนกันยายน ลดลง เนื่องจากสหรัฐฯ มีสินค้าในคลังมาก และในเดือน พฤศจิกายน  ราคาเสนอขายสินค้ากุ้งเอกวาดอร์ลดลงมาก ความต้องซื้อจากตลาดหลักลดลง ทำให้ราคาปรับลดลงตาม  ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตกุ้งเอเชียที่ราคาปรับลดลงตาม แต่ได้รับผลกระทบไม่มาก เนื่องจากความต้องการกุ้งในเอเชียมีน้อยคาดว่าจะถึง กพ. 2023


(.) ตลาดญี่ปุ่น เดือนมกราคม - ตุลาคม 2565 ญี่ปุ่นนำเข้ากุ้ง ปริมาณ 185,032 ตัน มูลค่า 25,718  ล้านเยน ปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้น 6 % และ 32  % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนนำเข้าจากประเทศ 5 อันดับแรก (ตามมูลค่า)ได้แก่ เวียดนาม 26 % , อินโดนีเซีย 17 % ,  ไทย 16  %, อินเดีย 14% อาร์เจนติน่า 7%   และประเทศอื่นๆ 19%  ซึ่งนำเข้าจากไทย เพิ่มขึ้น 23 % มูลค่าเพิ่มขึ้น 44  % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยพิกัดสินค้าที่จีนนำเข้ามากที่สุด 030617000 OTHER SHRIMPS AND PRAWNS ร้อยละ 63 %


หลังจากเปิดประเทศ และกลับมาเป็นประเทศท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวอีกครั้ง รวมถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ เป็นช่วงที่มีความต้องการบริโภคสินค้ากุ้งมากขึ้น และคาดว่ายอดขาย และราคาขายจะปรับเพิ่มสูงขึ้น


(.) ตลาดจีน เดือนมกราคม – ตุลาคม 2565 จีนนำเข้ากุ้ง ปริมาณ 746,728 ตัน มูลค่า 5,006 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 48% และ67% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนนำเข้าจากประเทศ 5 อันดับแรก(ตามมูลค่า) ได้แก่ เอกวาดอร์ 56 %,  อินเดีย 16 %,  ไทย 5 %,  เวียดนาม 5 % แคนาดา 3 %  และประเทศอื่นๆ 16 % ซึ่งนำเข้าจากไทยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 4%  และ 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยพิกัดสินค้าที่จีนนำเข้ามากที่สุด 03061790 OTHER FROZEN SHRIMPS AND PRAWNS ร้อยละ 85 %


ตลาดเอเชีย เดือนสิงหาคม อุปทานการผลิตของประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย  และเวียดนาม ลดลงอย่างมาก และคาดว่าอุปทานกุ้งเอเชียจะลดลงเล็กน้อย จากหลายปัจจัย อาทิ โรคกุ้ง สภาพอากาศแปรปรวน และราคาอาหารกุ้งที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาขายหน้าฟาร์มกลับลดลง  ทั้งนี้ ประเทศเวียดนาม ขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งสด และตลาดหลักกุ้งของเวียดนามมีความต้องการกุ้ง ลดลง  ทำให้ยอดการส่งออกกุ้งเวียดนามลดลงในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะสภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลให้อุปทานด้านการผลิตกุ้งลดลง และอุปสงค์ด้านการบริโภคปรับลดลงตาม


(*) กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ มีนโยบายเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้ง ให้ได้ 400,000 ตัน  และมอบหมายให้กรมประมง ดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้ 11 แนวทาง ซึ่งจะร่วมดำเนินการกับกลุ่มเกษตรกร และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญและเข้มงวด ด้านการแก้ไขปัญหาเรื่องโรค  สายพันธุ์กุ้ง การขยายพื้นที่การผลิต เพื่อให้ได้กุ้งคุณภาพ ปลอดภัย รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และรักษามาตรฐานการผลิตตามสากล


*สินค้าปลาทูน่า และผลิตภัณฑ์* 

(*)การจับทูน่าจากการทำประมงพาณิชย์  มกราคม-พฤศจิกายน  2565 มีปริมาณการจับ 48,926 ตัน ลดลง 4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น ปลาโอดำ 51 %  ปลาโอลาย 35 % ปลาโอหลอด 8 % ปลาทูน่าท้องแถบ 5 % และปลาอื่นๆ 0.1 % 


(*)การส่งออก: มกราคม-พฤศจิกายน 2565 ไทยส่งออกปลาทูน่า ปริมาณ 488,168 ตัน มูลค่า 37,177 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 9 % และ 29 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นทูน่ากระป๋อง 91% ปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง 3 % ปลาทูน่าลอยน์สดแช่เย็นแช่แข็ง 2% และปลาทูน่าแปรรูป 4.52 % โดยสัดส่วนตลาดหลักส่งออกทูน่า ได้แก่  สหรัฐอเมริกา 24 %  ตะวันออกกลาง 17 % แอฟริกา 17 % ญี่ปุ่น 9 % ออสเตรเลีย 9 % แคนาดา 6% อเมริกาใต้ 3.5 % สหภาพยุโรป 3 %  อาเซียน 3 % และอื่นๆ 9 %


(*)การนำเข้า: มกราคม-พฤศจิกายน 2565 ไทยนำเข้าปริมาณ 661,367 ตัน มูลค่า 41,762 ล้านบาท ปริมาณลดลง 2% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนตลาดนำเข้า 5 อันดับได้แก่ไต้หวัน 18 %, ไมโครนีเชีย 13 % , นาอูรู 10 % , มัลดีฟ 7 %, และวานูอาตู 8  %  แบ่งตามชนิดทูน่านำเข้า ได้แก่ Skipjack 74 %, Yellowfin 14 %, Albacore 5 %, Bigeye 3 %และอื่นๆ 3%   ผลิตภัณฑ์ทูน่าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 98.7 % , ปลาทูน่าแปรรูป1.2 % และ เนื้อปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 0.1%


*สถานการณ์ปลาทูน่าต่างประเทศ* 

(*)สถานการณ์การทำประมงทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกยังไม่ฟื้นตัวมาก ทำให้อุปทานปลาทูน่าชะลอตัว ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ  Skipjack มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะสั้น  และคาดว่าในช่วงไตรมาส 4/2565-ไตรมาส 1/2566 อุปทานปลาทูน่าในส่วนปริมาณวัตถุดิบยังคงเพียงพอต่อการแปรรูป ซึ่งสอดรับกับความต้องการปลาทูน่าที่ลดลง


(*)ปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้หลายประเทศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตทูน่ากระป๋องและค่าขนส่งเพิ่มขึ้น แต่ไทยกลับส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปรัสเซียม.ค.-พ.ย.  2565 เพิ่มขึ้น 61 %  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association