ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ กลุ่มปลาหน้าดิน ครั้งที่ 1/2567

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมกุลาดำ กรมประมง
สมาคมฯ โดยคุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ, คุณพรศักดิ์ ถาวรทวีววงษ์ กรรมการสมาคมฯ และคุณนคร หาญไกรวิไลย์ ปฏิคมสมาคมฯ และคุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ กลุ่มปลาหน้าดิน ครั้งที่ 1/2567 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
1) ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้้าตกต่ำ กลุ่มปลาหน้าดิน โดยคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วยรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้แทนจากสมาคมประมงที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาคเอกชน และภาครัฐ เป็นคณะอนุกรรมการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการประมง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2) ที่ประชุมรับทราบ ผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้้าตกต่ำ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันชาวประมงประสบปัญหาราคาสัตว์น้้าตกต่ำ กรมประมง ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของชาวประมง จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้้าตกต่ำ ตามคำาสั่งกรมประมง ที่ 80/2567 ลงวันที่ 29 มกราคม 2567
เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา จัดทำข้อเสนอหรือมาตรการแก้ไขปัญหากรณีราคาสินค้าสัตว์น้้าตกต่ำ ซึ่งกรมประมงมีการประชุมหารือเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้้าตกต่ำแล้ว รวมจ้านวน 5 ครั้ง มีมติที่ประชุม ดังนี้ .
1. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมสินค้าสัตว์น้้าน้าเข้า
โดยกรมประมงได้ปรับปรุงประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้้า พ.ศ. 2560 ตามมาตรา 92 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม มีผลบังคับเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567
2. มาตรการป้องกันการลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมาย
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการน้าเข้าส่งออกสินค้าประมงผิดกฎหมายของกรมประมง ร่วมกับชุดปฏิบัติการ“พญานาคราช” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อป้องกันการลักลอบการน้าเข้าสินค้าประมงผิดกฎหมาย พร้อมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานขอความร่วมมือโดยจัดท้าหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) และผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีด่านชายแดน เพื่อตรวจสอบแนวชายแดนในการป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าสัตว์น้้าที่ผิดกฎหมาย
3. มาตรการการตรวจสอบด้าเนินคดีกับผู้นำเข้าที่ปลอมแปลงเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้้า
รมประมง โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการนำเข้าส่งออกสินค้าประมงผิดกฎหมาย ร่วมกับกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้้าและปัจจัยการผลิต ได้ตรวจสอบเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้้าผ่านระบบ Fisheries Single Window (FSW) พบการปลอมแปลงเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้้าเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมีการปลอมแปลงเอกสาร Product Movement Document (PMD) ของประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้าทางด่านสิงขร
จำนวน 2 ราย น้้าหนักสัตว์น้้า 13,929 กก. คิดเป็นมูลค่า 646,275 บาท และพบการปลอมแปลงเอกสาร Export Permit (ใบอนุญาตส่งออก) ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตนำเข้า
ทางด่านตรวจประมงนราธิวาส จำนวน 2 ราย น้้าหนักสัตว์น้้า 57,330 กก. คิดเป็นมูลค่า 1,120,980 บาท
4. การใช้กลไกการตกลงราคาระหว่างกลุ่มชาวประมงกับสมาคมผู้รับซื้อ
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สหกรณ์ประมงแม่กลองและชมรมผู้ค้าปลาสมุทรสาคร ซึ่งเป็นผู้ขาย ร่วมกับสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ซึ่งเป็นผู้รับซื้อ ณ ตลาดทะเลไทย ได้ประชุมหารือกำหนดราคารับซื้อโดยอ้างอิงจากราคาปลา ณ ตลาดทะเลไทย ดังนี้
(butterflyfish) ประกาศราคารับซื้อกลุ่มปลาที่น้าไปแปรรูปเป็นซูริมิ (ปลาทรายแดง ปลาตาหวาน และปลาไล้กอ) เพิ่มขึ้น 1-2 บาท/กก.
ซึ่งสมาชิกโรงงานผู้ผลิตซูริมิ เริ่มดำเนินการรับซื้อตามราคาที่ตกลง ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป
(blowfish) ประกาศราคารับซื้อปลาจวดและปลาหนวดฤๅษีเพิ่มเติม เริ่มดำเนินการรับซื้อตามราคาที่ตกลง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2567
5. มาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้้าทางจุดผ่อนปรนพิเศษ
กรมประมงได้ด้าเนินมาตรการควบคุมการนำเข้าสัตว์น้้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้้าทางจุดผ่อนปรนพิเศษได้จัดทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ด่านสิงขร) เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้เข้มงวด มิให้มีการนำเข้าสินค้าประมงที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงไทย โดยให้จังหวัดพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข ปริมาณการนำเข้าสัตว์น้้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้้าทางจุดผ่อนปรน
พิเศษที่ไม่ส่งผลต่อประโยชน์ทางการค้าของผู้ประกอบการภายในประเทศ และศักยภาพของการควบคุมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจประมง กรมประมง
6. ความร่วมมือระหว่างกรมประมงและหอการค้าไทยในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการซื้อสินค้าสัตว์น้้าภายในประเทศ
ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาการจัดงานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยเรื่อง การขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและอาหาร โดยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจะจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฉบับ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1) หน่วยงานภาครัฐ
2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Supply Side และ
3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Demand Side
โดยกรมประมงได้ส่งข้อคิดเห็นต่อร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯให้หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยพิจารณาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 โดยมีอธิบดีกรมประมง (นายบัญชา สุขแก้ว) เป็นผู้แทนกรมประมงในการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ

7. การนำข้าและการใช้วัตถุดิบในประเทศอย่างสมดุล (Balance Sheet)
โดย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย
คุณอนุชา ได้นำเสนอที่ประชุมเกี่ยวกับ Surimi Balance Sheet : การคำนวณจากข้อมูลการผลิตให้กับที่ประชุมทราบ และเสนอให้กรมประมงนำข้อมูลสถิติการนำเข้าซูริมิของกรมประมงมาพิจารณาร่วมกับสถิติของแต่ละหน่วยงาน เพื่อมากำหนดสัดส่วนการนำเข้าซูริมิร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในห่วงโซ่การผลิตซูริมิ และเหมาะสมกับปริมาณปลาที่ชาวประมงมี รวมถึงลดผลกระทบในเรื่องของราคาตกต่ำให้กับชาวประมงและแพปลา โดยกรมประมงรับประเด็นจากคุณอนุชาไป และจะจัดทำข้อมูลเสนอในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งถัดไป

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association