ประชุมคณะทำงานคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งทะเลให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ครั้งที่ 2/2566

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 17.00-20.00 น. สมาคมฯ โดยคุณชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ (เลขาธิการสมาคมฯ) และคุณวาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าร่วมประชุมคณะทำงานคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งทะเล ให้เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ ครั้งที่ 2/2566 ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings โดยมีนายบรรจง นิสภวาณิชย์ เป็นประธาน สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1 รับรองรายงานการประชุม คณะทำงานคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งทะเลให้เหมาะสม ในแต่ละพื้นที่ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566
2. คณะทำงานฯ เห็นด้วยให้มีการนำเข้าสายพันธุ์กุ้งขาว และกุ้งกุลาดำ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์กุ้ง เนื่องจาก สายพันธุ์กุ้งขาวและกุ้งกุลาดำที่ใช้เลี้ยงกันในปัจจุบัน ยังขาดความหลากหลายของสายพันธุ์ และจากการพัฒนาและเลี้ยงจริงในแต่ละรุ่นหรือการไขว้สายพันธุ์ เพื่อหาลักษณะที่ต้องการ พบว่าสายพันธุ์กุ้งในแต่ละรุ่น หากเลี้ยงไปประมาณ 2-3 ปี สายพันธุ์จะเริ่มชิน และไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม ทำให้ต้องพัฒนากุ้งรุ่นใหม่ แต่สายพันธุ์เดิม ในระยะยาวอาจเกิดการผสมเลือดชิดหรือInbreeding ของสายพันธุ์ที่ใช้เลี้ยง ทำให้เกิดการเสื่อมของสายพันธุ์
ทั้งนี้ การนำเข้ากุ้ง เพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ จะต้องผ่านการรับรองว่าปลอดโรคไวรัสในกุ้ง เช่น TSV, YHV, IHHNV, WSSV, IMNV, NHP, DIV1 ด้วยวิธี Polymerase Chain Reaction หรือ PCR
3. การคัดเลือกคุณสมบัติของสายพันธุ์กุ้งกุลาดำ ปัจจุบันสายพันธุ์กุ้งกุลาดำที่ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 6 สายพันธุ์ ¬ ได้แก่ (1) สายพันธุ์ Black Genetics (2) สายพันธุ์ Moana (3) สายพันธุ์ CP (4) สายพันธุ์ สวทช. (5) สายพันธุ์ ม.บูรพา (6) สายพันธุ์ธรรมชาติ ซึ่งจะพิจารณาคุณสมบัติ 3 ด้าน การเติบโต, อัตรารอด และสีกุ้งหลังต้มของแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งที่ประชุมได้ออกแบบสอบถาม และจะเวียนสอบถามไปยังผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ฝ่ายเลขาฯ ได้จัดทำข้อมูลด้านประสิทธิภาพกุ้งขาวแวนนาไม จำแนกตามสายพันธุ์ ปี 2565 โดยมีพารามิเตอร์กำหนดคุณสมบัติของสายพันธุ์ ดังนี้ (1) ประสิทธิภาพการผลิต (ผลผลิตหน่วยตัน ต่อลูกกุ้ง 1 ล้านตัว) (2) อัตรารอด (3)การเจริญเติบโต ADG(4)ความหนาแน่นในการปล่อยเลี้ยง(ตัวต่อไร่) (5)ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (6) ขนาดจับเฉลี่ย (7) ระยะเวลาเลี้ยงเฉลี่ย จากการวิเคราะห์ข้อมูลตามพารามิเตอร์ พบสายพันธุ์กุ้งที่มีคุณสมบัติผ่านค่าเฉลี่ยอย่างน้อย 3 พารามิเตอร์ คือ 1) สายพันธุ์ Syaqua 2) สายพันธุ์ Blue genetic 3) สายพันธุ์ TUH 4) สายพันธุ์ CP 5)สายพันธุ์ SIS
โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีข้อมูลที่ยังไม่สามารถที่จะระบุสายพันธุ์ได้ เนื่องจากผู้ซื้อไม่ขอรับ MD หรือ APD ทำให้ไม่มีข้อมูลในระบบกรมประมง ที่ประชุมขอให้ผู้ขายออกหนังสือ เพื่อให้มีข้อมูลในระบบ

ทั้งนี้ ที่ประชุมข้อมูลฝ่ายเลขาฯ จำแนกข้อมูลสายพันธุ์กุ้ง ตามรายภาค เพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลสายพันธุ์กุ้ง ร่วมกับการเลี้ยงกุ้งใน แต่ละภาค เนื่องจากสภาพแวดล้อม และน้ำที่ใช้เลี้ยงมีความแตกต่าง กันตามแต่ละพื้นที่

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association