ประชุมโครงการแนวทางการพัฒนาการประมงอวนลากในอ่าวไทยสู่ความยั่งยืนตามแนวปฏิบัติมาตรฐานสากล

วันพุธที่ 19 เมษายน 2566 เวลา 13.30-17.00 น. ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน
สมาคมฯ โดย คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมฯ พร้อมด้วยคุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ และนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริหารข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมโครงการแนวทางการพัฒนาการประมงอวนลากในอ่าวไทยสู่ความยั่งยืนตามแนวปฏิบัติมาตรฐานสากล โดยมีนายบัญชา สุขแก้ว ลองอธิบดีกรมประมงเป็นประธานที่ประชุม มีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
⛵ คณะทำงาน 8 สมาคม ชี้แจงความก้าวหน้าของการจัดทำโครงการให้ที่ประชุมทราบ โดยในปัจจุบันโครงการได้รับการประเมินครั้งที่ 2 จากผู้ประเมิน MarinTrust แล้ว โดยผลการประเมินพบว่า มีบางกิจกรรมมีคะแนนการประเมินดีขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของกิจกรรมที่ใช้ผลการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และมีโรงงานปลาป่นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืนแล้วจำนวนกว่า 40 ราย และในปี 2566 มีแผนที่จะรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับ ETP species โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และดำเนินการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวก.ต่อในปีที่ 3
⛵คณะนักวิจัยภายใต้โครงการได้นำเสนอผลการวิจัย 2 ปีแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวก. มีรายละเอียด ดังนี้
(1) การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและการประเมินสภาวะทรัพยากรของผลจากการประมงอวนลากในอ่าวไทย โดย ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ซึ่งได้ทำ PSA analysis พบว่า สัตว์น้ำที่มีความเสี่ยงสูงจากการทำการประมงอวนลากในพื้นที่อ่าวไทย ได้แก่ ปลาปากคม ปลาทรายแดง หมึก ฉลามและกระเบน และได้มีการนำสัตว์น้ำกลุ่มเสี่ยงสูงนี้มาประเมินสภาวะทรัพยากรด้วยเทคนิค SPR อาทิ ปลาปากคม พบว่า ค่า SPR มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นจึงต้องมีการเสนอให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมี่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับแผนในปี 2566 งานวิจัยนี้จะมีการดำเนินการวิจัยในส่วนของ Ecopath and ecosim เพื่อประเมินผลกระทบใน food web รวมถึงจะมีการจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การประมงอวนลากต่อทรัพยากรและระบบนิเวศในอ่าวไทยต่อไป
(2) ผลกระทบจากการทำประมงอวนลากต่อทรัพยากร ชีวภาพและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในอ่าวไทย โดย ศ.ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ โดยมีการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำ ตะกอนดิน และสัตว์น้ำในพื้นที่ที่มีการทำการประมงอวนลากในอ่าวไทย โดยพบว่าคุณภาพน้ำมีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม มีบางพื้นที่ที่คุณภาพน้ำไม่ค่อยเหมาะสมนัก โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำท่าจีน ในส่วนของตะกอนดิน พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่พบว่า ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำอยู่ในระดับต่ำซึ่งไม่เหมาะกับการวางไข่ของปลา และมีค่าฟอสฟอรัสไม่เหมาะสม ผมโลหะหนักปริมาณสูงในบางพื้นที่ ส่วนการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำในพื้นที่ประมงอวนลาก พบว่า มีความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำค่อนข้างน้อย
(3) การวิเคราะห์พื้นที่ทำประมงอวนลากในอ่าวไทย โดย ผศ.ดร.ศันสนีย์ หวังวรลักษณ์ มีการสำรวจพื้นที่การทำประมงอวนลากในอ่าวไทยตอนบน พบว่า มีการทำการประมงอวนลาก 80% ของพื้นที่อ่าวไทยตอนบนทั้งหมด โดยมีการทำการประมงอวนลากคู่มากที่สุด และมีกลุ่มสัตว์น้ำที่เข้าสู่ข่ายการประมงอวนลาก ได้แก่ กลุ่มปลาหน้าดิน ปลาเป็ด ปู และหมึก และพบว่ามาตรการปิดอ่าวมีผลทำให้เกิดการย้ายแหล่งทำการประมงออกจากบริเวณอ่าวไทยตอนบนไปสู่อ่าวไทยตอนล่างซึ่งมีส่วนช่วยในการพักการใช้ประโยชน์พื้นที่และทำให้ทรัพยากรฟื้นตัว
⛵ที่ประชุมให้ความเห็นว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวนี้ รวมถึงการทำวิจัย มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูทรัพยากรปละส่งผลให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน

⛵ในส่วนของสมาคมฯ คุณอนุชา ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า สมาคมฯ ได้ร่วมดำเนินโครงการดังกล่าวนี้ตั้งแต่เริ่มต้น และยินดีที่เห็นว่าโครงการมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยในปัจจุบันในภาคการส่งออก ผู้นำเข้าก็ทราบเป็นอย่างดีว่าประเทศไทยมีการดำเนินโครงการในลักษณะนี้ โดยได้มีการสอบถามความก้าวหน้าของโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของการส่งออกสินค้าประมงของไทย

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association