Gender equality and women’s empowerment strategy

เมื่อวันที่ 12-13 ธันวาคม 2565 คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุม Ship To Shore Rights South East Asia : Gender equality and women’s empowerment strategy จัดโดย ILO ซึ่งมีผู้แทนการประชุม จากผู้แทน 7 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนัก ความเท่าเทียมทางเพศ ให้ความสำคัญเรื่องเพศทางเลือก สรุปประเด็นดังนี้
-คุณ Kristy Millward ผู้เชี่ยวชาญความเท่าเทียมทางเพศ ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันเพศสภาพมักถูกหลงลืม และถูกมองว่าบทบาททางเพศ มีเพียง ชาย และ หญิงเท่านั้น ซึ่งความเป็นจริงยังมีมุมมองทางเพศที่มากกว่า (กลุ่ม LGBTQI+)
-การเปิดข้อค้นพบที่สำคัญเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ พบการแบ่งแยกเพศสภาพในการทำงาน ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ / เงินเดือนอาจมีความแตกต่างกันของเพศชายและหญิง ผู้ชายได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเพราะถูกมองว่าเป็นผู้นำครอบครัว
-ผลที่เกิดจากความคิดนี้เกิดจาก การเลี้ยงดู แนวความคิด ไม่กระทบกับงานหนักมาก / งานเกี่ยวข้องกับการเดินทางย้ายถื่นมักเป็นของผู้ชาย
-แนวคิดความคาดหวังทางสังคม ของ ญ และ ช มีความต่างกัน บริบทแต่ละประเทศ กฎหมายที่จำกัดความเท่าเทียมทางเพศ
-เพศสภาพของงานประมง พบว่า เป็นงานที่ให้โอกาสผู้ชายมากกว่า
-แรงงานข้ามชาติหญิงเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบมากกว่า และแรงงานเพศสภาพทางเลือกที่เป็นแรงงานข้ามชาติอาจต้องปกปิดตัวตนเพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบหรือถูกรังแก
-แรงงานหญิง มักจะมีเงื่อนไขในเรื่องการดูแลเด็ก ที่ทำให้เสียโอกาสในการทำงาน หากมีการให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และจัดสถานที่ในการดูแลเด็กที่ปลอดภัย จะทำให้แรงงานหญิงสามารถทำงานได้
-แรงงานหญิงส่วนใหญ่มักเป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้เข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้ยาก ทั้งประเด็นในเรื่องการห้ามย้ายงานหรือให้มีนายจ้างเพียงคนเดียว ซึ่งจะทำได้ยาก
-คุณวิบูลย์ ให้ข้อมูลว่า ในอุตสาหกรรมแปรรุปอาหารทะเล ได้มีการดำเนินการ GLP ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องการเท่าเทียมกัน รวมถึงเรื่องเพศสภาพ และการดูแลสิทธิแรงงานหญิง ซึ่งได้มีการเข้าเยี่ยมโรงงาน ซึ่งในปี 2565 ได้เข้าเยี่ยม 30 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับแรงงานและต้องการสร้างพื้นที่การทำงานที่ปลอดภัยให้กับแรงงาน ซึ่งภาครัฐ เอกชน และองค์การที่เกี่ยวข้อง เช่น ILO CSOs หากมีความร่วมมือกัน จะสามารถทำให้การผลักดันนี้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สรุป ข้อค้นพบที่เจอ แต่ละประเทศมีมุมมองต่างกันเรื่องเพศ / การเลือกปฏิบัติที่แตกต่าง / พบผู้บริหารยังเป็นเพศชายซะส่วนใหญ่ อนาคตหากมีการส่งเสริมให้หญิงมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น การอบรมที่ต้องมีหญิงเข้าร่วมอย่างน้อย 30% / การเข้าร่วมประชุมต่างๆ นอกจากด้านวิชาการความรู้แล้ว ควรมีการพูดคุยในเรื่องเฉพาะผู้หญิง เช่น การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม, ประเด็นปัญหาการทำงานของแรงงานหญิง เป็นต้น /ประเด็นด้านความปลอดภัยที่ถูกมองข้าม/แรงงานหญิงในส่วนภาคอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ เช่น การดูแลหญิงตั้งครรภ์ การคุ้มครองมารดา การให้การดูแลบุตร ได้มากกว่า ถ้าเทียบกับกลุ่มแรงงานหญิงในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้น อาจต้องให้อุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ากับเรือประมง การรับทำงานที่บ้าน ได้มีส่วนผลักดันให้นายจ้างในห่วงโซ่ปฏิบัติกับแรงงานหญิงอย่างเท่าเทียม/สนับสนุนการร่วมมือกันของพันธมิตรต่างๆ เพื่อดูแลแรงงาน รวมถึงเรื่องการร้องเรียน การเยียวยาของแรงงาน โดยประชาสัมพันธ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งฝั่งประเทศต้นทางและปลายทาง เพื่อการดำเนินการร่วมกัน

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association