9 มกราคม 2566 เวลา 09.30-18.30 น. ทางระบบการประชุม Zoom Online Meeting

เรียน  สมาชิกสมาคมฯ


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 09.30-18.30 น. ทางระบบการประชุม Zoom Online Meeting


สมาคมฯ โดยนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 62-1/2566 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้


(explaining) ที่ประชุมรับรองรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาเซียน ครั้งที่ 61-10/2565 ที่ประชุมไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565


(explaining) ที่ประชุมรับทราบผลการประชุม Prepared Foodstuff Product Working Group (PFPWG)ครั้งที่ 35 เมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2565 ซึ่งมีการหารือใน 3 ประเด็นหลัก ได้ แก่


(one) การปรับประสานมาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้คงค่า MLs ของวัตถุเจือปนอาหารของอาเซียนที่ได้ปรับประสานในรายการที่ 1 ไว้

และจะพิจารณาทบทวนรายการดังกล่าว เมื่อโคเด็กซ์ได้ดําเนินการปรับปรุงเอกสารของโคเด็กซ์เรียบร้อยแล้ว

โดยเฉพาะการปรับประสานระหว่างมาตรฐานสินค้า (Commodity Standard) กับมาตรฐานทั่วไปของวัตถุเจือปนอาหาร (General Standard for Food Additives; GSFA) ของโคเด็กซ์


(two) การปรับประสานมาตรฐานสารปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้รวมค่า ML สําหรับสารหนูในน้ําแร่ธรรมชาติและค่า ML สําหรับแคดเมียมในข้าวขัดสีในภาคผนวก 5 “รายการของค่า MLs

ที่ยังไม่ปรับประสาน” และให้ขยายกรอบเวลาสําหรับการปรับประสานในระยะที่ 1 เป็นปี 2567 และจะเริ่มการอภิปรายสําหรับการปรับประสานในระยะที่ 2 ในการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 7 โดยมีเป้าหมายที่จะจัดทําให้แล้วเสร็จในปี 2567


(three) การปรับประสานมาตรฐานเกี่ยวกับวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน ซึ่งที่ประชุมขอให้ประเทศสมาชิกส่งข้อคิดเห็นต่อร่างมาตรการเฉพาะสําหรับเซรามิกให้แก่ไทยเพื่อรวบรวมข้อมูลและเวียนเอกสารให้ประเทศสมาชิกก่อนการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 7 เพื่อรับรองร่างมาตรฐาน นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบกําหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการสําหรับการจัดทํามาตรการเฉพาะที่ปรับประสานสําหรับพลาสติก


(four) การปรับประสานมาตรฐานฉลากโภชนาการ ซึ่งที่ประชุมขอให้ประเทศสมาชิกหารือภายในเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Section 3.2.5 กฎระเบียบ/ข้อกําหนด และแจ้งสถานะในการประชุมครั้งถัดไป และขอให้

ประเทศสมาชิกทบทวนค่าอ้างอิงสารอาหารแนะนํา (Nutrient Reference Values-Requirements; NRVs-R) เพื่อประกอบการจัดทําเอกสารให้แล้วเสร็จ รวมทั้งขอให้มาเลเซียจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับค่า NRVs-R ของร่างแนวทางฉลากโภชนาการของอาเซียน


(five) การปรับประสานมาตรฐานฉลากอาหาร ซึ่งที่ประชุมรับทราบข้อร้องขอของไทยที่ให้ทวนสอบข้อมูลในรายงานการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 6 ในประเด็นการพิจารณารวมกฎหมายของประเทศในมาตรฐานทั่วไปสําหรับฉลากอาหารสําเร็จรูปของอาเซียนซึ่งทําให้เอกสารดังกล่าวแตกต่างจากมาตรฐานทั่วไปสําหรับฉลากอาหารสําเร็จรูปของโคเด็กซ์และเห็นควรให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวเพิ่มเติมในการประชุม ACHPFS ครั้งที่ 8


(six) การแจ้งความพร้อมในการเข้าร่วม MRA on PF ซึ่งที่ประชุมรับทราบผลการแจ้งความพร้อมในการเข้าร่วม MRA on PF ดังนี้


- อินโดนีเซียจะแจ้งความพร้อมปลายปี 2565

- ลาว รัฐฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเมียนมาจะแจ้งความพร้อมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566

- มาเลเซียจะแจ้งความพร้อมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 สําหรับสินค้าในพิกัดศุลกากร 16-22

- กัมพูชาจะแจ้งความพร้อมในปี 2566 สิงคโปร์อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายโดยจะแจ้งความคืบหน้าสําหรับความพร้อมในปลายปี 2565

- บรูไนดารุสซาลามจะดําเนินการหารือภายในประเทศและจะแจ้งความพร้อมในไตรมาสแรกของปี 2566

- ไทยจะดําเนินการหารือภายในประเทศเกี่ยวกับการแจ้งความพร้อมโดยจะแจ้งความคืบหน้าในการประชุมครั้งถัดไป


(seven) การประเมินและข้อแนะนําที่ได้จากการฝึกอบรมสําหรับผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุมัติ (Approved Expert) ซึ่ง ARISE Plus จะแจ้งผลการพิจารณาเกี่ยวกับการสนับสนุนเพื่อปรับปรุงแก้ไข Training

Module 2 โดยเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมิน ณ สถานที่ (on-site evaluation) กรณีศึกษา วิธีการประเมิน หัวข้อการประเมินระบบ (system audit) และเอกสารอ้างอิงให้ PFPWG ทราบต่อไป


(eight) เอกสารหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหารของโคเด็กซ์ (Codex General Principles of Food Hygiene; CXC 1-1969) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ดําเนินการทบทวนภาคผนวก 2 ของ MRA on PF ตามเอกสารหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหารของโคเด็กซ์ฉบับปัจจุบัน โดยให้จัดตั้งคณะทํางานเฉพาะกิจ (ad-hoc working group) ที่นําโดยมาเลเซียและไทยเพื่อดําเนินการดังกล่าวในรูปแบบคู่ขนานไปกับการดําเนินการตาม MRA on PF


(nine) ประเด็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุมัติเป็นส่วนหนึ่งของผู้แทน JSC MRA on PF ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งทําหน้าที่เป็นผู้แทน JSC MRA on PF ด้วย ต้องไม่มีส่วนร่วมในการประเมินและขั้นตอนการตัดสินใจของการประเมินผลของประเทศผู้สมัครที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญคนนั้นเองในฐานะคณะผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุมัติในการประชุม JSC MRA on PF เพื่อหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน


(one)(zero) ASEAN Food Safety Regulatory Framework Agreement (AFSRF Agreement) ซึ่งที่ประชุมรับทราบว่าอินโดนีเซียได้ส่งหนังสือมอบอํานาจเต็มใหม่จากรัฐมนตรีใหม่ที่ได้จากการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว,ฟิลิปปินส์อาจมีหนังสือมอบอํานาจเต็มใหม่สําหรับการลงนามใน AFSRF Agreement, สิงคโปร์อยู่ระหว่าง

การดําเนินการหารือภายในประเทศ และรับทราบว่าจะมีการอภิปรายรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมการสําหรับ

การดําเนินการตาม AFSRF Agreement ในการประชุม TF AFSRF ครั้งที่ 9


(explaining) ที่ประชุมได้รับทราบกําหนดการประชุม PFPWG ครั้งที่ 36 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้


- การประชุม JSC MRA on PF ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2566

- การประชุม ACHPFS ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566

- การประชุม AFTLC ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2566 (ขอแก้ไขเป็น 22-23 กุมภาพันธ์ 2566)

- การประชุม PFPWG ครั้งที่ 36 ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 (ขอแก้ไขเป็น 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2566)


(explaining) ที่ประชุมพิจารณาการประชุมหารือการเลือกขอบข่ายของผลิตภัณฑ์อาหาร (HS code 16-22) สําหรับการแจ้งความพร้อมในการเข้าร่วม MRA on PF ซึ่งที่ประชุมเสนอแนวทาง ดังนี้


(.) ขอให้ฝ่ายเลขาฯ รวบรวมรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับ prepared foodstuff products ภายใต้ HS code 16-22 ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด


(.)ปรับปรุงแก้ไขกําหนดการประชุมหารือการเลือกขอบข่ายของผลิตภัณฑ์อาหาร (HS code 16-22) สําหรับการแจ้งความพร้อมฯขยายระยะเวลาการประชุมหารือฯ เป็น 1 วัน และปรับปรุงชื่อหัวข้อในแต่ละช่วงของการประชุมหารือฯ ให้ชัดเจน (กำหนดการประชุมขอข้อคิดเห็นในวันที่ 2 มีนาคม 2566)


(.) ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบางส่วนของเอกสารสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ MRA on PF โดยเพิ่มเติมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในกรณีที่ประเทศไทยผ่านการรับรองให้เข้าร่วมใน MRA on PF และผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่ประเทศไทยยังไม่ผ่านการรับรองให้เข้าร่วมใน MRA on PF แต่มีประเทศสมาชิกอื่นผ่านการรับรองให้เข้าร่วมใน MRA on PF เรียบร้อยแล้ว


(.) ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเข้าร่วม MRA on PF ในพิกัดสินค้า 16-22 และเสนอให้แจ้งความพร้อมในปี 2566


(explaining) ที่ประชุมพิจารณาร่างมาตรการเฉพาะสําหรับเซรามิก (Final draft specific measures for ceramics) โดยปรับเนื้อหาบางส่วนตามข้อเสนอแนะของมาเลเซีย เพื่อให้ร่างเออกสารมีความสมบูรณ์มากขึ้น ก่อนเสนอต่อเลขานุการอาเซียนต่อไป


(explaining) กำหนดการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งถัดไป วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association