สัมมนาเรื่อง "ส่องโอกาสอเมริกาใต้ตลาดเสรีที่ท้าทายภาคเกษตรไทย"

วันที่ 31 มีนาคม 2566 คุณกรวิชญ์ ทุมมานนท์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง "ส่องโอกาสอเมริกาใต้ตลาดเสรีที่ท้าทายภาคเกษตรไทย" ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ จัดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ตลาดละตินอเมริกามีประชากรที่กำลังซื้อใกล้เคียงกับอเมริกาเหนือถึง 400 ล้านคน ซึ่งมีพฤติกรรมการบริโภคและความนิยมสินค้าใกล้เคียงกับชาวเอเชียอย่างเกินความคาดหมาย ด้วยสินค้าและโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ทำให้อเมริกาใต้โดยเฉพาะ 5 ประเทศเศรษฐกิจ คือ บราซิล ชิลี เปรู เอกวาดอร์ และอาร์เจนตินา ก้าวเป็นแหล่งทรัพยากรและปัจจัยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของโลก ทั้งในส่วนของสินค้าพืช ปศุสัตว์ ประมง ไปจนถึงวัตถุดิบอาหารสัตว์ และยังมีพัฒนาการที่น่าสนใจทั้งด้านอุตสาหกรรม การจัดทำความตกลงการค้าเสรีและตลาดร่วม เช่น Southern Common Market หรือ MERCOSUL บนพื้นฐานความหลากหลายของวัฒนธรรมและเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ประชากรที่มีทั้งกลุ่มยุโรป เอเชีย ไปจนถึงชนพื้นเมือง ทำให้เป็นโอกาสที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญและขยายช่องทางการค้าที่อาจเป็นขุมกำลังทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้
อเมริกาใต้ถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่ออุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งนโยบายทางการค้าที่ให้ความสำคัญต่อการเป็นตลาดเสรี ซึ่งในส่วนของประเทศที่ไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าในระดับความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี ได้แก่ ชิลีและเปรู ที่เป็นแหล่งทรัพยากรปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และได้รับการใช้ประโยชน์ความตกลงการค้าเสรีในระดับสูง รวมทั้งหลายประเทศยังมีความพร้อมที่จะพัฒนาขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งในด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ด้านการเกษตร ตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในระดับอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถและความร่วมมือที่เป็นโอกาสต่อการขยายตลาด วงจรการผลิต และการลงทุนระหว่างประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างกันในอนาคต
ประเทศชิลี
มีความมั่นคงทางเครษฐกิจและการเมืองมากที่สุดในลาตินอเมริกา มีแหล่งทรัพยากรแร่ราตุและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ อาทิ ทองแดง ลิเทียม ไม้ สินแร่เหล็ก โดยผลิตทองแดงและส่งออกปลาแซลมอนเป็นอันดับ 1 ของโลก มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การประมง การขนส่ง ก่อสร้าง มีนโยบายเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการค้าเสรี และให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสนับสนุนการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ความเท่าเทียมกันทางเพศ และมุ่งแก้ปัญหาความยากจน
สภาวะและแนวโน้มทางเศรษฐกิจของชิลี มีนโยบายเปิดกว้างทั้งด้านการค้าและการลงทุน มีการ Privatize กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายสาขา โดยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่เป็นสมาชิก Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) ชิลีสนใจตลาดเอเชียโดยเฉพาะอาเซียนเพื่อ diversify ตลาดคู่ค้าของซิลีไม่ให้พึ่งพิงจีนและสหรัฐฯ มากจนเกินไป ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของชิลียังอยู่ในระดับสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 และปัจจุบัน อยู่ที่อัตรา 119% โดยคาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2566 จะอยู่ที่ 8.7% ชิลียังคงต้องเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจในปี 2566 ซึ่งคาดว่าจะหดตัว -0.9% และจะค่อยๆ ฟื้นตัวในปี 2567
การค้าระหว่างไทยและชิลี ไทยมองว่าชิลีอยู่ในฐานะตลาดวัตถุดิบของไทย โดยไทยเป็นตลาดสิ่งออกอันดับที่ 22 ของชิลี และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของชิลีในอาเซียน สินค้าซิลีที่ส่งออกมายังไทยมาก ได้แก่ ปลาแซลมอนและปลา Trout หอยแมลงภู่ และผลไม้ (เชอร์รี่ องุ่น)
ทั้งนี้ ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 20 ของชิลี สินค้าไทยที่มีการส่งออกไปชิลีมาก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป โดยมองว่าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปมีศักยภาพในการขยายตลาดในชิลี
ภายใต้ความตกลงการค้าเสริไทย-ชิลี
ชิลีให้สิทธิพิเศษแก่สินค้า จำนวน 7,855 รายการ โดยในปี 2566 จะลดภาษีเป็น 0 อีก จำนวน 147 รายการ ไทยให้สิทธิแก่สินค้า จำนวน 9,625 รายการ โดยในปี 2566 จะลดภาษีเป็น 0 เพิ่มอีก จำนวน 187 ราบการ
มาตรการทางการค้าของชิลี
มาตรการ TBT การปิดฉลาก: ต้องปิดฉลากเป็นภาษาสเปน
มาตรการ SPS สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้ากุ้ง ต้องปฎิบัติตามระเบียบ plant and animal health regulation for aircraft entering Chile เพื่อป้องกันศัตรูพืช กักกันและโรคที่มาจากต่างประเทศ
โอกาสในตลาดชิลี
• นโยบายปกป้องสินค้าในประเทศอยู่ในระดับต่ำ
• ผู้บริโภคในชนชั้นกลาง - สูง มีกำลังซื้อสูง
• อัตราภาษีสินค้าเกษตรของไทยเป็น 0 จาก TCFTA
• สิบค้าอาหารและเครื่องดื่มระดับ premium เป็นที่ต้องการของตลาด
• กระบวนการผลิตและการส่งออกสินค้าของไทยได้มาตรฐาน
• สินค้าอาหารแปรรูปที่มีอายุยาวขึ้นบนชั้นวางสินค้า จะมีโอกาสมาขึ้นในตลาด
ความท้าทายในตลาดชิลี
• กฎระเบียบเข้มงวดต่อสินค้าอาหารสด
• ผู้บริโภคชิลียังไม่ค่อยสนใจต่อคุณภาพและความหลากหลายของสินค้า
• ผู้บริโภคชิลีคุ้นชินกับสินค้าราคาถูกที่มีเกิดจากการแข่งขันในตลาด
• ชิลีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากมีการจัดทำ FTA หลายฉบับ
• ระยะทางไกลและต้นทุนค่าขนส่งสินค้าสูง
• สินค้าเกษตรที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมีราคาถูกกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาสินค้าจากไทย
• ตลาดชิลีมีขนาดเล็ก
ประเทศบราซิล
ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มปี 2566 อยู่ในภาวะชะลอตัว และเผชิญภาวะเงินเฟ้อที่ 5.6% ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคสำคัญในบราซิลมีราคาสูงขึ้น 7.62% และราคาอาหารปรับตัวสูง 26%
จากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของบราซิล ซึ่งบราซิลพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 9.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะถั่วเหลืองส่งออกถึง 29.2% และสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น กาแฟ ปศุสัตว์จำพวก เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู รวมทั้ง ข้าวโพด เป็นต้น ทั้งนี้ การส่งออกของบราซิลซะลอตัวตั้งแต่ปลายปี 2565 แต่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการเปิดประเทศของจีนส่งผลดีต่อการส่งออกของบราซิล การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 23.8% ซึ่งจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล
ด้านการเกษตรของบราซิลมีความพอเพียงในการผลิตอาหารพื้นฐาน และเป็นผู้ส่งออกผลผลิตทางการเกษตร
หลากหลาย โดยบราซิลจัดเป็นผู้ส่งออกอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน สหรัฐ รัสเซีย และมีประเทศอินเดียเป็นอันดับที่ 5 ของโลก สินค้าเกษตรที่สำคัญของบราชิล ได้แก่ ส้ม ถั่วเหลือง กาแฟ และมันสำปะหลัง
ปัจจัยที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ สภาพอากาศเลวร้าย อัตราเงินเฟ้อสูง กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง อัตราดอกเบี้ยสูง ความตึงเครียดจากการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ ความปั่นป่วนที่เกิดจากสงครามในยูเครนและโควิดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รายได้และกำไรลดลง แต่ภาพรวมปัจจัยดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตและการส่งออก แม้ว่าราคาขายสินค้าเกษตรจะมีแนวโน้มที่ถูกลง ในขณะที่ต้นทุนยังสูงและสินเชื่อแพง

สมาพันธ์การเกษตรและปศุสัตว์ของบราซิล (CNA) ประมาณการว่า ในปี 2566 GDP ธุรกิจการเกษตรของบราชิลจะเติบโต 2.4% เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศที่ย่ำแย่ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต รวมทั้งมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการสำหรับภาคส่วนนี้

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association