ประชุมคณะทำงาน 8 สมาคมฯ
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
คุณอนุชา เตะชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ คุณนารรีรัตน์ จันทน์ทอง รองผู้อำนวยการสมาคมฯ และนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการเข้าร่วมประชุมคณะทำงาน 8 สมาคม ฯ โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้
• วาระที่ 1 รายงานสถานะและความคืบหน้าโครงการพัฒนาและปรับปรุงประมงอวนลากอ่าวไทย Trawl Fishery Improvement Project (FIP)
ปัจจุบันการดำเนินงานโครงการฯ อยู่ในขั้นตอน Implementation state คือ การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจัดการประมงอวนลากอ่าวไทย (Fishery Action Plan; FAP) โดยแผนฯ ได้รับการเห็นชอบจาก 8 สมาคม ลงนามโดยกรมประมง และยอมรับโดยหน่วยงานมาตรฐาน MarinTrust ซึ่งการดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการจัดการประมงอวนลากอ่าวไทย (FAP) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การดำเนินงานวิจัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบการวิจัยจาก สวก. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2565-2567) ประกอบด้วย 4 งานวิจัยย่อย ภายใต้โครงการแนวทางการพัฒนาการประมงอวนลากในอ่าวไทยสู่ความยั่งยืนตามแนวปฏิบัติมาตรฐานสากล โดยมีคณะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ได้แก่ รศ.ดร.กังวาลย์ จันทรโชติ, รศ.ดร.เจริญ นิติธรรมยง, ผู้เชี่ยวชาญรังสรรค์ ฉายากุล และหัวหน้าโครงการวิจัยย่อย ได้แก่ ศ.ดร.ทวนทอง จุฑาเกตุ ดำเนินการศึกษาวิจัยหัวข้อการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและการประเมินสภาวะทรัพยากรของผลจับจากการประมงอวนลากในอ่าวไทย (ปีที่ 1-2) และการวิเคราะห์ผลกระทบของการประมงอวนลากในอ่าวไทยที่มีต่อระบบนิเวศ (ปีที่ 3), ศ.ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ ศึกษาวิจัยหัวข้อผลกระทบจากการประมงอวนลากต่อทรัพยากรชีวภาพและสิ่งแวดล้อมทางทะเลในอ่าวไทย และ ผศ.ดร.ศันสนีย์ หวังวรลักษณ์ ศึกษาวิจัยหัวข้อการวิเคราะห์พื้นที่ทำประมงอวนลากในพื้นที่อ่าวไทย ซึ่งได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยจากโครงการย่อยให้กับคณะทำงานฯ รับทราบ จากการดำเนินงานโครงการวิจัยคณะอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์หัวหน้าโครงการย่อย ได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายผ่านการจัดประชุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเห็นชอบร่วมกันเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางพัฒนาการประมงอวนลากของประเทศไทยให้มีความยั่งยืนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
• วาระที่ 2 รายงานสถานะงบการเงิน และประมาณการงบประมาณเพื่อการดำเนินการระยะต่อไป โดยคณะทำงานฯ เสนอว่า จะต้องมีงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในปี 2567 เพิ่มเติม โดยมีงบประมาณ แบ่งเป็น
1. เงินคงเหลือของส่วนกลาง (8 สมาคมฯ) ประมาณ 63,000 บาท
2. ประมาณการเงินที่จะใช้ในช่วง ก.ค.67 - 31 ธ.ค 2567 ประมาณ 63,000 บาท
3. ประมาณการค่าใช้จ่ายในช่วง 1 ม.ค
- 30 มิ.ย. 2568 ประมาณ 175,000 บาท ซึ่งประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมประจำปี และ peer Review ของ MarinTrust ,ค่าตอบแทน/เบี้ยประชุมคณะอาจารย์ที่ปรึกษา และค่าต่ออายุเว็บไซต์
4. ประมาณการค่าใช้จ่าย การทำโครงการ อีก 2 ปี ( 1 ก.ค. 2568 - 30 มิ.ย 2570) ประมาณ ปีละ 250,000 บาท ( รวม 2 ปี 500,000 บาท) โดยยังเหลืองานวิจัยอีก 2 เรื่องที่ยังคงค้าง และมีแผนจะของบประมาณจาก สวก. หรือเรียกเก็บจาก 8 สมาคม ในจำนวนเท่าๆ กัน
ทั้งนี้ ประธานที่ประชุมได้สอบถามความเห็นจากผู้แทนทั้ง 8 สมาคม โดยรับว่าจะขอนำไปหารือในส่วนของแต่ละสมาคมก่อนอละขอให้ฝ่ายเลขาญ จัดทำรายละเอียดให้กับ 8 สมาคม ต่อไป
• วาระที่ 3 แผนการดำเนินการโครงการระยะต่อไป (Phase3)
1. การดำเนินโครงการเพื่อศึกษาวิจัย 2 โครงการฯ เกี่ยวกับ ETP species risk assessment และ Habitat ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี โดยมีแผนของบสนับสนุน สวก. ในปี 2568-2569 หรือสรรหสยักวิจัยเพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งจากกรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ที่ประชุม
1. สำหรับประเด็นโรงงานปลาป่นที่ได้รับการรับรอง IP Program และยังไม่สามารถขายสินค้าได้นั้น สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยจะทำหนังสือถึงสภาหอการค้าฯ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอบูธในงาน ThaiFEX เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ FIP อวนลากต่อไป
Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association