วันกุ้งไทย ครั้งที่ 33

วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยนายอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ, นายชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ เลขาธิการสมาคมฯ และนางสาวเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน วันกุ้งไทย ครั้งที่ 33 และนายชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ เลขาธิการสมาคมฯ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “กุ้งไทยยุคใหม่ รวมใจ สู้ตลาดโลก” จัดโดยชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี และได้รับเกียรติจากนายรัตนะ สวามีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกล่าวเปิดงานฯ ทั้งนี้ การจัดงานวันกุ้งไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการจัดงานมุ่งเน้น การเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงและยั่งยืนของอุตสาหกรรมกุ้งไทย
งานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 33 ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2567 โดยภายในงานมีการเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งจากผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ และเอกชน อาทิ เสวนารวมใจ สู้ตลาดโลก, สถานการณ์โรคและวิธีการตรวจโรคกุ้ง, การบริหารจัดการฟาร์มเพื่อลดต้นทุน, สายพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์กุ้งอย่างมีคุณภาพ รวมถึง มีการจัดนิทรรศการ เเสดงนวัตกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง บูธขายสินค้ากุ้งจากบริษัท มารีนโกลด์ โปรดักส์ จำกัด และบูธอาหารสัตว์น้ำ เช่น บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และไทยยูเนี่ยน ฟีดมิล จำกัด ฯลฯ รวมถึง สมาคมผู้เลี้ยงกุ้งร่วมออกบูธกว่า 50 บูธ ในส่วนของกรมประมงออกบูธแสดงจุลินทรีย์ ปม.1 เเละปม.2
นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวเปิดงานวันกุ้งไทย ครั้งที่ 33 “กุ้งไทยยุคใหม่ รวมใจ สู้ตลาดโลก” โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผ่านนโยบาย การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย ปี 2567 ภายใต้คณะกรรมการกุ้ง (Shrimp Board) ซึ่งจะเน้นในกิจกรรม ดังนี้
- ส่งเสริมพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้พันธุ์กุ้งที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของเกษตรกร
- การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจโรคในโรงเพาะฟักและอนุบาล
- ยกระดับมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งของกรมประมงจาก GAP COC เป็นมาตรฐานสากล และมกษ. 7436
- การศึกษา พัฒนา รูปแบบการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและคุ้มค่าในการลงทุน
- การปรับปรุง พรก.ประมงใหม่ ให้ออก APD ให้เหมาะสม
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เพาะเลี้ยงยกระดับมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ตรงตามความต้องการของประเทศคู่ค้า
- ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการในตลาดโลก
เสวนา "รวมใจ สู้ตลาดโลก" วิทยากรจากผู้แทนจากภาครัฐ และเอกชน
ซึ่งแต่ละท่านได้ให้ความเห็นเพื่อการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้ง
สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
นายอดิศร พร้อมเทพ (ที่ปรึกษาคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมฯ)ได้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมประมงของไทย ควรมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่าง เช่น กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ให้มีความเหมาะสม ผู้ประกอบการทำได้จริง และที่สำคัญ ควรหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีระยะเวลาในการปรับตัว ทั้งนี้ หากภาครัฐแก้ไขกฎระเบียบ ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด รวมถึง ผลักดันและสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานฟาร์มตามที่ประเทศคู่ค้าตรงการ เช่น ASC รวมถึง เร่งการเจรจาสิทธิประโยชน์ทางการค้า FTA และ GSP-EU เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันไทย
นายชูพงษ์ ลือสุขประเสริฐ (เลขาธิการสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย) ให้ความเห็นต่ออุตสาหกรรมกุ้ง ดังนี้
- ปีนี้คาดว่าผลผลิตกุ้งทั่วโลกจะลดลง และจะค่อยๆ เกิดความสมดุลระหว่าง Demand & Supply
- สินค้ากุ้งไทย ยังเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งไทย (สินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค) อาทิ EU มีความต้องการสินค้ากุ้งจากไทย แต่ลูกค้าถามว่าสามารถผลิตที่เวียดนามได้หรือไม่เนื่องจากหากนำเข้าจากไทยโดนภาษีสูง (GSP) ทำให้ไทยเปิดการค้าขายยาก หากไม่ได้ลูกค้าต้องหันไปซื้อจากตลาดอื่นแทน ทำให้ไทยเสียโอกาสทางการค้า เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
- ด้านการเลี้ยงกุ้ง ผู้เลี้ยงต้องปรับตัว และบริหารจัดการฟาร์มให้ดี ให้ได้อัตรารอดสูง ต้นทุนต่ำ ราคาผู้ส่งออก สามารถแข่งขัน เปิดการขายได้
- ตลาดสหรัฐอเมริกาต้องการซื้อกุ้งจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ASC และรู้สึกยินดีที่ทางชมรมผู้เลี้ยงกุ้งพัฒนาและยกระดับฟาร์มกุ้งมากขึ้น ทั้งนี้ การยกระดับมาตรฐานฟาร์มจะช่วยให้ประเทศไทยมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันบริษัทได้ออกงบประมาณในการทำมาตรฐาน ASC สูงมาก หากฟาร์มไม่มีมาตรฐาน ASC การจะขอเสนอซื้อขายกับลูกค้าค่อนข้างยาก
- การลดต้นทุนอาหาร เช่น การลดปริมาณโปรตีนในอาหารให้มีเหมาะสม
- การผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มตามหลักใช้วัตถุดิบกุ้งน้อยลง ซึ่งมีจะมีส่วนผสมอย่างอื่นค่อนข้างเยอะ ดังนั้น ควรผลิต สินค้า value added ในสัดส่วนที่พอดี ให้สมดุลกับปริมาณผลผลิต
- ประเทศอินเดีย ตลาดในประเทศไม่นิยมบริโภคกุ้ง เน้นผลิตส่งออกอย่างเดียว และมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคในประเทศมากขึ้น
Anti-dumping รอบใหม่วิกฤติ หรือโอกาสกุ้งไทย โดยนายวินิจ ตันสกุล (Aquaculture Development Consultant)
และนายสถาสรรพ วิริยะนันทวนิช (กรรมการผู้จัดการ บริษัท มารีนอส ไกลบอล จำกัด) สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (United States. International Trade Commission: USITC) วันที่ 14 พ.ย. 2565 เริ่มไต่สวน AD ของกุ้งน้ำอุ่นแช่แข็งจากเอกวาดอร์และอินโดนีเซีย ถูกกล่าวหาเรื่องอัตรากำไรจากการทุ่มตลาดเอกวาดอร์มีอัตรากำไร 9.55-25.82% / อินโดนีเซียมีอัตรากำไร 26.13-33.95% และไต่สวน CVD ของกุ้งน้ำอุ่นแช่แข็งจากเอกวาดอร์ อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียดนาม ถูกกล่าวหาเรื่องการอุดหนุนส่งออกจากรัฐบาลในอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์
8 ธ.ค. 2565 USITC มีการแถลงข่าวว่าได้พิจารณาแล้วมีข้อบ่งชี้ที่สมเหตุสมผลว่า อุตสาหกรรมกุ้งของสหรัฐฯได้รับความเสียหาย
- จากการนำเข้ากุ้งน้ำอุ่นแช่แข็งจากเอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย ถูกกล่าวหาว่าขายในสหรัฐฯ ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม (AD) และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเอกวาดอร์และอินโดนีเชีย(CVD)
การนำเข้ากุ้งน้ำอุ่นแช่แข็งจากอินเดีย และเวียดนามถูกกว่า ถูกกล่าวหาว่าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอินเดียและเวียดนาม (CVD)
การทุ่มดลาด(AD) ที่เอกวาดอร์ และอินโดนีเซียถูกกล่าว (AD)ในเบื้องต้น คาดว่าอัตราเฉลี่ยอยู่ระหว่างในช่วงนี้ ประเทศ เอกวาดอร์ 9.55-25.82 % , อินโดนีเซีย 26.13-33.95 % และสำหรับการอุดหนุนที่ถูกกสาวหา (CVD) ประเทศ เอกวาดอร์ อินเดีย อินโดนีเซียและ เวียดนาม คาดว่าผลออกมา สูงกว่าขั้นต่ำ* (หมายเหตุ * de minimis = น้อยกว่า 1% สำหรับประเทศแล้ว และน้อยกว่า 2% สำหรับประเทศกำลังพัฒนา)
อัพเดทข้อมูลโรค วิธีการตรวจโรคกุ้ง โดยดร.กัลยา ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ (ไบโอเทค)
https://fb.watch/qhNMgoQIaY/
การบริหารจัดการการฟาร์ม เพื่อลดต้นทุน โดยน.สพ. ปราการ เจียระคงมั่น
(รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร) https://fb.watch/qhRRrMrwHq/
เสวนา สายพันธุ์และการคัดเลือกลูกพันธุ์กุ้งอย่างมีคุณภาพ เช่น สายพันธุ์ CPF, API และซายอาควา สยาม จำกัด https://fb.watch/qhRMPXSQSl/
กุ้งไทยยุคใหม่ ปี 67 โดยรศ.ดร.ชลอ ลิ้มสุวรรณ
(ศูนย์วิจัยธุรกิจเพาะเลี้ยงน้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) https://fb.watch/qhR6ILN4Xv/

สรุปข้อมูลโดย: สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย 19-2-2567 #TFFA
ที่มา: URL จากเพจกุ้งไทย https://web.facebook.com/ThaishrimpNews.Online

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association