โอกาส MSMEs ไทยและญี่ปุ่น : เจาะลึกการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง JTEPA AJCEP และ RCEP

วันที่ 5 มีนาคม 2567 คุณกรวิชญ์ ทุมมานนท์ เจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “โอกาส MSMEs ไทยและญี่ปุ่น : เจาะลึกการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง JTEPA AJCEP และ RCEP ณ Eastin Grand Hotel Phayathai จัดโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN – Japan Centre) สรุปดังนี้
การใช้ FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ไทยและญี่ปุ่นได้ทำความตกลง FTA ร่วมกันหลายฉบับ ซึ่งความตกลงเหล่านี้ส่งผลต่อภาษีสินค้าที่นำเข้าและส่งออกระหว่าง 2 ประเทศ โดยความตกลงที่ใช้บ่อยที่สุดคือ JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) ซึ่งมีอัตราภาษีต่ำกว่า AJCEP (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement)
แม้การนำเข้าสินค้าจากไทยไปญี่ปุ่นจะใช้ประโยชน์จาก FTA น้อยกว่าการส่งออก แต่ก็สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นโดยไม่เสียภาษีได้ ผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุน
สำหรับการส่งออกจากไทยไปญี่ปุ่น สินค้าส่วนใหญ่ที่สามารถใช้ FTA ได้ก็มีการใช้ประโยชน์จากสิทธิ์นี้ แต่ยังมีบางประเภทสินค้า เช่น สิ่งทอ ที่ยังมีโอกาสขยายการใช้ FTA ได้อีก
เพื่อลดภาษีเพิ่มเติม ไทยจำเป็นต้องเข้าร่วมความตกลง CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership Agreement) เนื่องจากการลดภาษีภายใต้ JTEPA และ AJCEP ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
ประโยชน์ของ FTA สำหรับผู้ผลิตและส่งออกไทย
FTA ช่วยลดภาระต้นทุนของผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้นำเข้า สรุปวิธีการส่งออกได้ 2 แบบ คือ
1. ส่งออกโดยตรง ผู้ผลิตไทยส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่นโดยตรง
2. ส่งออกโดยอ้อม ผู้ผลิตไทยส่งออกสินค้าไปยังบริษัทการค้าในไทยหรือต่างประเทศ หรือส่งออกวัตถุดิบให้บริษัทในไทยผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งออกไปญี่ปุ่น
นอกจากนี้ FTA ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการค้า โดยมีการรับรองสถานประกอบการผู้ประกอบการขนส่งที่ได้รับอนุญาต (Authorized Economic Operator: AEO) ระหว่างประเทศ ลดการตรวจสอบสินค้า และออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O) แบบอิเล็กทรอนิกส์แทนแบบกระดาษ
อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Preferential Tariffs) ภายใต้ FTA มีเงื่อนไข สินค้าที่ส่งออกจะต้องเป็น Origin Products ซึ่งต้องผลิต เก็บรวบรวม หรือแปรรูปขั้นสุดท้ายในประเทศผู้ส่งออก กรณีสินค้าไม่สามารถผ่านกฎแหล่งกำเนิดใน FTA แบบทวิภาคี ก็สามารถยื่นขอรับรองเป็น Origin Products ผ่าน FTA แบบพหุภาคีได้
การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง JTEPA AJCEP และ RCEP
การนำเข้าสินค้า จะได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากร ตามข้อตกลงของแต่ละความตกลง
การส่งออกสินค้า ผู้นำเข้าปลายทาง จะได้รับการลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากร ตามข้อตกลงของแต่ละความตกลง
ขั้นตอนการขอใช้สิทธิ์
1. ตรวจสอบพิกัดศุลกากรและภาษีศุลกากรของประเทศปลายทาง
2. ตรวจสอบเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าของความตกลงที่ต้องการใช้สิทธิ์
3. ออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
4. ส่งใบรับรองให้ผู้นำเข้า
เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้า
ผลิตในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained - WO): สินค้าผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมดแปรรูปอย่างมีนัยสำคัญ (Substantial Transformation - ST):
• สัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิด (Qualifying Value Content - QVC) หรือ (Regional Value Content - RVC): สินค้าต้องมีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดตามเกณฑ์ที่กำหนด
• การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Change in Tariff Classification - CTC): กระบวนการผลิตต้องเปลี่ยนพิกัดศุลกากร
• กระบวนการผลิตเฉพาะ (Specific Process): สินค้าต้องผ่านกระบวนการผลิตเฉพาะตามที่กำหนดเกณฑ์ "ถิ่นกำเนิดสินค้า" ของแต่ละความตกลง
JTEPA WO, PE, PSRs
AJCEP WO, PE, PSRs, RVC ≥ 40% of FOB, CTH
RCEP WO, PE, PSRs, De Minimis, Min. Op., Direct Consignment
การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form JTEPA, AJCEP และ RCEP
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นเอกสารที่ใช้ยืนยันว่าสินค้ามีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ช่วยให้ผู้ส่งออกได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร เช่น การยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้า
ประเภทของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
• ฟอร์ม A, D, E, FTA, JTEPA ใช้ประกอบการขอรับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี
• ฟอร์ม C/O ทั่วไป แสดงว่าสินค้ามีถิ่นกำเนิดในไทย แต่ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษี
ระบบการให้บริการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
• ระบบ EDI (ระบบเดิม) ใช้บัตรประจำตัวผู้ส่งออก – นำเข้าสินค้า/บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ พิมพ์แบบฟอร์มกระดาษต่อเนื่อง
• ระบบ SMART C/O (ระบบใหม่) ใช้บัญชีผู้ใช้งานจากระบบ SMART – I พิมพ์แบบฟอร์ม A4 สีขาว เพิ่มฟังก์ชันป้องกันการปลอมแปลง
การเตรียมความพร้อมก่อนการใช้งานระบบ SMART C/O
• ตรวจสอบพิกัดภาษีศุลกากร
• สมัครบัญชีผู้ใช้งานประเภทนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ผ่านระบบ DFT SMART – I
• ติดตั้งใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate)
• ส่งตัวอย่างภาพลายมือชื่อกรรมการ และ/หรือผู้รับมอบอำนาจ รวมทั้งตราประทับสำคัญ (ถ้ามี)
• ยื่นตรวจต้นทุนสำหรับสินค้าพิกัดตอนที่ 01-24 และ 25-97
• เตรียมเอกสารใบกำกับสินค้า (Invoice) และใบตราส่งสินค้า
การสมัครบัญชีผู้ใช้งานระบบ SMART – I
ประเภทนิติบุคคล
1. ใช้ e-mail บริษัทในการสมัคร ตั้งรหัสผ่านด้วยตนเอง
2. ยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมเอกสาร ดังนี้
• แบบ บก.ส.1 พร้อมข้อตกลงและเงื่อนไข
• บัตรประชาชน/หนังสือเดินทาง (กรณีชาวต่างชาติ) ของกรรมการ
• กรณีมอบอำนาจ แนบแบบ บก.ส.2 พร้อมแสดงบัตรประชาชนผู้รับมอบ และสำเนาบัตรฯ/หนังสือเดินทางของกรรมการ

ประเภทบุคคลธรรมดา
1. ใช้ e-mail ส่วนบุคคลในการสมัคร ตั้งรหัสผ่านด้วยตนเอง
2. ยืนยันตัวตนในระบบด้วยภาพถ่าย Selfie คู่กับบัตรประชาชนตัวจริง และภาพถ่ายหน้าบัตรประชาชน

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association