08/11/65

Evaluation โครงการ Ship To Shore Rights : SEA ภายใต้กิจกรรม GLP
วันที่ 8 พย. 2565 คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ ได้ให้สัมภาษณ์และความคิดเห็นต่อการประเมิน โครงการ Ship To Shore Rights South East Asia : SEA (ระยะเวลาโครงการ 2020-2024) ได้รับเงินสนับสนุนโครงการจากสหภาพยุโรป โดยได้มีการดำเนิน โครงการมาได้ครึ่งทาง คือ 2 ปี ทางโครงการจึงได้มีการจัดส่งผู้ประเมินโครงการ เพื่อประเมินตัวโครงการถึงกิจกรรมที่ดำเนินการในตอนนี้ และทิศทางการดำเนินการ
โครงการต่อไปในอนาคต โดยผู้ประเมินคือ Mr.Chris Morris
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้มีการแนะนำสมาคมฯ โดยสมาชิกสมาคมฯ จะเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลา หมึก หอย ปู ปัจจุบันมีสมาชิกสมาคมทั้งหมด 145 บริษัท แบ่งเป็นสมาชิกที่มีโรงงานผลิตเพื่อส่งออก 126 บริษัท อีก 19 บริษัท เป็นผู้ส่งออกที่ไม่มีโรงงานผลิต โดยเป็นการส่งออก 90% และเป็นการบริโภคในประเทศ 10% สินค้าหลักเป็นกุ้ง
2. กิจกรรมของสมาคมฯ เรื่อง GLP ปี 2565
มีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น และปรับปรุงแก้ไข Check List GLP สำหรับการเข้าเยี่ยมโรงงาน
การเข้าเยี่ยมโรงงานสมาชิก โดยในปี 2565 มีการเข้าเยี่ยมโรงงานสมาชิก 30 โรงงาน (คิดเป็น 25% ของสมาชิก) จากการเข้าเยี่ยมสมาชิก สิ่งที่พบ คือ
- หัวข้อด้านแรงงานบังคับและการรับสมัครงาน มีการเปิดรับสมัครงาน การปฐมนิเทศน์ จากการสัมภาษณ์แรงงานเอกสารตัวจริงเก็บไว้ที่แรงงาน โรงงานจะเก็บตัวสำเนา และการทำงานล่วงเวลาจะมีการทำหนังสือเซนยินยอมการทำ OT เป็นต้น
-แรงงานเด็ก ตามกฎกระทรวงปี 2559 กำหนดงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำต้องมีการใช้แรงงานไม่ต่ำกว่า 18 ปีขึ้นไป นอกจากนี้โรงงานยังมีนโยบายด้านแรงงานเด็ก มีมาตรการตรวจสอบแรงงานเด็ก ทั้งจากเอกสารประจำตัว การสัมภาษณ์ สอบถามจากญาติ เพื่อน พี่น้อง ที่ทำงานในโรงงานด้วยกัน เมื่อยืนยันว่าเป็นแรงงานอายุ 18 ปีขึ้นไป
- การเจรจาต่อรองและการมีส่วนร่วม สนับสนุนในเรื่อง คกส. โดยมีสัดส่วนทั้งแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ เพศชายและหญิง เข้าร่วม โดยผ่านการเลือกตั้ง มีวาระทุก 2 ปี และมีการประชุม คกส. ทุก 3 เดือนเป็นอย่างต่ำ เพื่อนำประเด็นปัญหา ข้อร้องเรียนเสนอที่ คกส. และนำไปสู่การแก้ไขต่างๆ
- ความเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ มีความเท่าเทียมในเรื่องเพศ ศาสนา โดยมีนโยบายบริษัท มีการให้ความสำคัญกับผู้หญิง เช่น การดูแลหญิงตั้งครรภ์ มีการขึ้นทะเบียนหญิงตั้งครรภ์, มีมุมนมแม่, มีการแจกนมสำหรับหญิงตั้งครรภ์, การย้ายงานไปในที่เหมาะสม และมีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น
- สภาพการทำงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย มีการตรวจสุขภาพประจำปี การซ้อมหนีไฟ การอบรมความรู้ด้านการใช้เครื่องมือ ความปลอดภัย แจกอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในการทำงาน มีห้องพยาบาล นอกจากนี้ในส่วนชุมชน มีกิจกรรมที่ร่วมกับชุมชน เช่น การทำบุญ การบริจาคสิ่งของ ด้านสิ่งแวดล้อม การปลูกป่า อนุรักษ์พันธุ์ปู แจกสิ่งของจำเป็นในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เป็นต้น
- มีหน่วยงานภาคประชาสังคม (Civil Society Organization : CSOs) ในท้องที่เข้าไปเยี่ยม และดูแลแรงงานข้ามชาติของตนเอง เช่น สอบถามความเป็นอยู่แรงงานข้ามชาติ, ไปอบรมให้ความรู้ด้านแรงงาน, การเข้าเยี่ยมแจกสิ่งของต่างๆ
การลงนาม MOU ระหว่างภาครัฐและเอกชน คือ กรมสวัสดิการฯ กระทรวงแรงงานและหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
การจัดงานกิจกรรม วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก (world against child labour 2022)
สมาคมฯ ได้มีการเสนอข้อคิดเห็นในกิจกรรม และแนวทางในอนาคต
1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมของทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ เพื่อเปิดโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพดังกล่าวแล้ว ปัญหาการสื่อสารต่างๆ รวมถึงข้อร้องเรียนจะได้มีการรับฟังและแก้ไขมากขึ้น
2. ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ GLP ให้ไปอยู่ระดับ Global เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคู่ค้า
3. สนับสนุนให้ทางภาครัฐ เอกชน ร่วมกับ ILO ในการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่อง GLP

4. การสนับสนุน budget ในกิจกรรมสำหรับสมาคมฯ เนื่องจากการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรมให้ความรู้ , การเข้าเยี่ยมโรงงานสมาชิก มีความเกี่ยวข้องในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association