08/11/65 ให้สัมภาษณ์โครงการ Ship To Shore Rights South East Asia : SEA

Evaluation โครงการ Ship To Shore Rights : SEA ภายใต้กิจกรรม GLP

วันที่ 8 พย. 2565 คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ ได้ให้สัมภาษณ์และความคิดเห็นต่อการประเมิน โครงการ Ship To Shore Rights South East Asia : SEA (ระยะเวลาโครงการ 2020-2024) ได้รับเงินสนับสนุนโครงการจากสหภาพยุโรป โดยได้มีการดำเนิน โครงการมาได้ครึ่งทาง คือ 2 ปี ทางโครงการจึงได้มีการจัดส่งผู้ประเมินโครงการ เพื่อประเมินตัวโครงการถึงกิจกรรมที่ดำเนินการในตอนนี้ และทิศทางการดำเนินการโครงการต่อไปในอนาคต โดยผู้ประเมินคือ Mr.Chris Morris

สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้มีการแนะนำสมาคมฯ โดยสมาชิกสมาคมฯ จะเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลา หมึก หอย ปู ปัจจุบันมีสมาชิกสมาคมทั้งหมด 145 บริษัท แบ่งเป็นสมาชิกที่มีโรงงานผลิตเพื่อส่งออก 126 บริษัท อีก 19 บริษัท เป็นผู้ส่งออกที่ไม่มีโรงงานผลิต โดยเป็นการส่งออก 90% และเป็นการบริโภคในประเทศ 10% สินค้าหลักเป็นกุ้ง

2. กิจกรรมของสมาคมฯ เรื่อง GLP ปี 2565

มีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น และปรับปรุงแก้ไข Check List GLP สำหรับการเข้าเยี่ยมโรงงาน

การเข้าเยี่ยมโรงงานสมาชิก โดยในปี 2565 มีการเข้าเยี่ยมโรงงานสมาชิก 30 โรงงาน (คิดเป็น 25% ของสมาชิก) จากการเข้าเยี่ยมสมาชิก สิ่งที่พบ คือ

- หัวข้อด้านแรงงานบังคับและการรับสมัครงาน มีการเปิดรับสมัครงาน การปฐมนิเทศน์ จากการสัมภาษณ์แรงงานเอกสารตัวจริงเก็บไว้ที่แรงงาน โรงงานจะเก็บตัวสำเนา และการทำงานล่วงเวลาจะมีการทำหนังสือเซนยินยอมการทำ OT เป็นต้น

-แรงงานเด็ก ตามกฎกระทรวงปี 2559 กำหนดงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำต้องมีการใช้แรงงานไม่ต่ำกว่า 18 ปีขึ้นไป นอกจากนี้โรงงานยังมีนโยบายด้านแรงงานเด็ก มีมาตรการตรวจสอบแรงงานเด็ก ทั้งจากเอกสารประจำตัว การสัมภาษณ์ สอบถามจากญาติ เพื่อน พี่น้อง ที่ทำงานในโรงงานด้วยกัน เมื่อยืนยันว่าเป็นแรงงานอายุ 18 ปีขึ้นไป

- การเจรจาต่อรองและการมีส่วนร่วม สนับสนุนในเรื่อง คกส. โดยมีสัดส่วนทั้งแรงงานไทย แรงงานข้ามชาติ เพศชายและหญิง เข้าร่วม โดยผ่านการเลือกตั้ง มีวาระทุก 2 ปี และมีการประชุม คกส. ทุก 3 เดือนเป็นอย่างต่ำ เพื่อนำประเด็นปัญหา ข้อร้องเรียนเสนอที่ คกส. และนำไปสู่การแก้ไขต่างๆ

- ความเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ มีความเท่าเทียมในเรื่องเพศ ศาสนา โดยมีนโยบายบริษัท มีการให้ความสำคัญกับผู้หญิง เช่น การดูแลหญิงตั้งครรภ์ มีการขึ้นทะเบียนหญิงตั้งครรภ์, มีมุมนมแม่, มีการแจกนมสำหรับหญิงตั้งครรภ์, การย้ายงานไปในที่เหมาะสม และมีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

- สภาพการทำงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย มีการตรวจสุขภาพประจำปี การซ้อมหนีไฟ การอบรมความรู้ด้านการใช้เครื่องมือ ความปลอดภัย แจกอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในการทำงาน มีห้องพยาบาล นอกจากนี้ในส่วนชุมชน มีกิจกรรมที่ร่วมกับชุมชน เช่น การทำบุญ การบริจาคสิ่งของ ด้านสิ่งแวดล้อม การปลูกป่า อนุรักษ์พันธุ์ปู แจกสิ่งของจำเป็นในช่วงสถานการณ์โควิด 19 เป็นต้น

- มีหน่วยงานภาคประชาสังคม (Civil Society Organization : CSOs) ในท้องที่เข้าไปเยี่ยม และดูแลแรงงานข้ามชาติของตนเอง เช่น สอบถามความเป็นอยู่แรงงานข้ามชาติ, ไปอบรมให้ความรู้ด้านแรงงาน, การเข้าเยี่ยมแจกสิ่งของต่างๆ

การลงนาม MOU ระหว่างภาครัฐและเอกชน คือ กรมสวัสดิการฯ กระทรวงแรงงานและหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

การจัดงานกิจกรรม วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก (world against child labour 2022)

สมาคมฯ ได้มีการเสนอข้อคิดเห็นในกิจกรรม และแนวทางในอนาคต

1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมของทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ เพื่อเปิดโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพดังกล่าวแล้ว ปัญหาการสื่อสารต่างๆ รวมถึงข้อร้องเรียนจะได้มีการรับฟังและแก้ไขมากขึ้น

2. ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ GLP ให้ไปอยู่ระดับ Global เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคู่ค้า

3. สนับสนุนให้ทางภาครัฐ เอกชน ร่วมกับ ILO ในการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่อง GLP

4. การสนับสนุน budget ในกิจกรรมสำหรับสมาคมฯ เนื่องจากการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรมให้ความรู้ , การเข้าเยี่ยมโรงงานสมาชิก มีความเกี่ยวข้องในเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association