17/11/65 ประชุมรับฟังความต้องการของผู้ใช้งาน (Final Requirement) ในการพัฒนาและปรับปรุงระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD)

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 สมาคมฯ โดยคุณเสาวนีย์ คำแฝง (ผู้อำนวยการสมาคมฯ), คุณวาสนา ตรังใจจริง และสมาชิกสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมรับฟังความต้องการของผู้ใช้งาน (Final Requirement) ในการพัฒนาและปรับปรุงระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) จัดโดย กรมประมง ผ่านโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings ซึ่งมีผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ โรงเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้ง ผู้แทนจากชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง และผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ. 2) ทั้งนี้ กรมประมงได้ว่าจ้าง บริษัท บีคอมมาร์ท จำกัด ในการจัดทำระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD)

บริษัท บีคอมมาร์ท จำกัด ได้ปรับปรุงระบบการใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ(APD) หลังจากรับทราบปัญหาจากผู้ใช้งานโดยตรง โดยแบ่งขอบเขตการปรับปรุงระบบการใช้งาน APD 3 ส่วนคือ สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง, ผู้ประกอบการด้านประมง (ทบ.2) และกรมประมง สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การปรับปรุงระบบการใช้งาน APD สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ดังนี้

1.1) การบริหารจัดการผู้ใช้งาน ได้ปรับเพิ่มเติม ดังนี้
- ให้ใช้งานได้ 3 sub user/ 1 user และใช้งานพร้อมกันได้ รวมถึงกำหนดรายละเอียด sub user ได้
- GAP กรอกได้มากกว่า 1 เลข และสามารถ set default เมื่อออก AFPD หรือ APPD

1.2) การจัดการระหว่างการเลี้ยง ได้ปรับเพิ่มเติม ดังนี้
- เชื่อมโยงข้อมูล IMD จากระบบ FSW เช่น การนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ ปรับข้อมูลให้กรอกเลข IMD ก่อน และข้อมูลอื่นๆ
จะเชื่อมโยงมาจากระบบ FSW
- การเพาะ อนุบาล และออก AFPD จะไม่การเชื่อมโยงข้อมูลบ่อจาก จสค.
- ผู้เลี้ยงกุ้งประเภท 53 (ธรรมชาติ, กึ่งพัฒนา, พัฒนา) 55 และ 56 บ่อเลี้ยงปล่อยกุ้งเสริมได้อย่างน้อย 3 แหล่ง และย้ายบ่อ รวมบ่อระหว่างเลี้ยงได้
- การปิดบ่อ จะต้องระบุเหตุผล

1.3) การจัดทำ AFPD/APPD
- ปรับทะเบียนผู้ใช้งาน โดยเรียงตามตัวอักษรเพื่อให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น และขอให้เพิ่มการค้นหาจากรายชื่อได้
- ปรับรูปแบบการออก AFPD/APPD
- ปรับแบบฟอร์ม AFPD /APPD (เอกสารแนบ 1, 2)
- รองรับการขายกุ้งทะเลที่มีแหล่งที่มาต่างกันได้อย่างน้อย 3แหล่ง
- ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข AFPD ได้ เช่น สามารถระบุเลขที่บ่ออย่างน้อย 3 บ่อ ได้ด้วยตนเอง เมื่อออก AFPD, การเพิ่มระยะ super PL/ Bullet/ กุ้งกรัมขนาด เพื่อให้สอดคล้องกับระยะกุ้งที่ขายในปัจจุบัน, เปลี่ยนจำนวนแถม เป็นจำนวนแถม/ จำนวนเผื่อเหลือเผื่อขาด (ถ้ามี) และแสดงใน AFPD ตามแบบฟอร์มใหม่ (เอกสารแนบ 1) รวมถึงสามารถระบุแหล่งที่มา(Origin/ AFPD)ได้ 3 แหล่ง ใน AFPD เพื่อรองรับการขายลูกพันธุ์ต่างแหล่งได้ในคราวเดียวกัน
- ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข APPD ได้ เช่น ปรับปรุงระบบให้รองรับการขายกุ้งจากฟาร์มเลี้ยงสู่ฟาร์มเลี้ยง ตามแบบฟอร์มใหม่ และระบุแหล่งที่มา (Origin/ AFPD) ได้ 3 แหล่งใน APPD เพื่อรองรับการขายกุ้งที่มีการปล่อยเสริม ทั้งนี้ หากเกษตรกรขายกุ้ง ให้กับฟาร์มใหม่เพื่อนำไปเลี้ยงต่อในฟาร์ม จะต้องแจ้งเปลี่ยนประเภทจาก 53 (ฟาร์มเลี้ยง) เป็นประเภท 55 (อนุบาลและฟาร์มเลี้ยง) โดยออก APPD ให้ระบุเป็นตัว/กก.

ทั้งนี้ เกษตรกรหรือ ผู้ประกอบการ (ทบ.2) จะแก้ไข AFPD/APPD ได้เฉพาะเอกสารสถานะ “รอยืนยันรับซื้อ” เท่านั้น และแก้ไขได้ไม่เกินวันที่รับซื้อ ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ภายในวัน และไม่สามารถแก้ไขเป็นวันล่วงหน้าหรือวันย้อนหลังได้

1.4) รายงานข้อมูลลูกค้า ผู้ใช้งานสามารถ export ข้อมูลลูกค้า (เลขทะเบียนผู้ซื้อ ชื่อ-สกุล ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์) ในรูปแบบ excel ได้

1.5) การตรวจสอบย้อนกลับ
- กรณีลูกพันธุ์: ระดับฟาร์มตลอดสายการผลิต
- กรณีบ่อเลี้ยง: ระดับบ่อ (แบบเดิม)
- การเชื่อมโยงข้อมูลการออก AFPD/APPD ได้ตลอดสายการผลิตทุกแหล่งที่มา ตลอดสายของตนเอง และสามารถสืบย้อนกลับได้ถึงลูกกุ้ง ซึ่งการตรวจสอบย้อนกลับจะเป็นแบบ one to many

2. การปรับปรุงระบบการใช้งาน APD สำหรับผู้ประกอบการด้านประมง (ทบ.2) ดังนี้

2.1) การบริหารจัดการผู้ใช้งาน
- ใช้งานได้ 3 sub user/ 1 user และใช้งานพร้อมกันได้, กำหนดรายละเอียด sub user ได้

2.2) การจัดทำ AFPD/APPD
- ปรับทะเบียนผู้ใช้งาน โดยเรียงตามตัวอักษรเพื่อให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น และขอให้เพิ่มการค้นหาจากรายชื่อได้
- ปรับแบบฟอร์ม AFPD/ APPD โดยแสดงจำนวนคงเหลือให้เห็นเพิ่มเติมในระบบ

2.3) การตรวจสอบย้อนกลับ สามารถเข้าถึงข้อมูล AFPD และมาตรฐานฟาร์มในสายของตนเองได้ รวมถึง เชื่อมโยงข้อมูลการออก AFPD/APPD ได้ตลอดสายการผลิตทุกแหล่งที่มาในสายของตนเอง และสามารถสืบย้อนกลับได้ถึงลูกกุ้ง ซึ่งการตรวจสอบย้อนกลับจะเป็นแบบ one to many

3. การปรับปรุงระบบการใช้งาน APD ของกรมประมง

3.1) เพิ่มระบบบริหารจัดการ (Admin)
- ระบบ Backend ยกเลิกแก้ไข AFPD/APPD
- กำหนดเงื่อนไขอัตรารอดในการออก AFPD/APPD ได้
- ระบบจัดการ user โดยเพิ่มกลุ่มผู้ใช้งานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างน้อย 5 กลุ่ม

3.2) ปรับปรุงระบบรับคำขอ กสน.2
- โอนย้ายข้อมูล AFPD/ APPD ของกุ้งที่ยังเหลือจากเลขที่การแจ้งการประกอบกิจการสัตว์น้ำควบคุม(จสค.) เดิมไปยังจสค. ใหม่
- เกษตรกรสามารถดูประวัติภายใต้ user ได้ แต่จัดทำ AFPD/APPD ไม่ได้
- แสดงสถานะ user เดิม และ ใหม่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

3.3) การตรวจสอบย้อนกลับ
- สามารถเชื่อมโยงข้อมูลลักษณะ Forward & Backward Traceability
- แสดงสายการผลิต และExport ข้อมูลการซื้อขายตลอดสายการผลิตในรูปแบบ Excel ได้

3.4) รายงานและการสืบค้น
- ปรับปรุงการทำรายงานให้สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าหน้าที่มากขึ้น
- ปรับปรุงการค้นหา โดยการกรอกหรือวางชุดตัวเลข Ref.no AFPD/APPD บนหน้า website ได้

3.5) มีระบบทดสอบ ให้ผู้ใช้งานสามารถทดลองใช้งานได้

ทั้งนี้ ทางผู้เลี้ยงกุ้งได้สอบถามถึงแนวทาง และความมั่นใจต่อการควบคุมกุ้งนำเข้าที่จะไม่เข้าสู่ระบบการเลี้ยง และการใช้เอกสาร APPD ซึ่งฝ่ายเลขากรมประมงได้แจ้งยืนยันในส่วนของระบบ IMD สำหรับสินค้านำเข้า กรมประมงมีหน่วยงานกำกับดูแลเฉพาะในเรื่องนี้ 

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association