FORMER PRESIDENT

2511-2514:
นายเฉลิม ปัทมพงศ์

2515-2522/2525:
นายไพโรจน์ ไชยพร

2523-2524:
นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์
Emeritus President

2526-2529/2534-2535:
นายยง อารีเจริญเลิศ
Emeritus President

2530-2533:
นายสุรพล ว่องวัฒนโรจน์
Emeritus President

2536-2537:
นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช
Emeritus President

2538-2541:
นายสิทธิชัย ไกรสิทธิศิรินทร
Emeritus President

2542-2545:
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา
Emeritus President

2546-2547/2552-2555/2564-ปัจจุบัน:
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
Emeritus President

2548-2551/2556-2563:
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์
Emeritus President

2511-2514:
นายเฉลิม ปัทมพงศ์

2515-2522/2525:
นายไพโรจน์ ไชยพร

2523-2524:
นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์
Emeritus President

2526-2529/2534-2535:
นายยง อารีเจริญเลิศ
Emeritus President

2530-2533:
นายสุรพล ว่องวัฒนโรจน์
Emeritus President

2536-2537:
นายแพทย์มารุต มัสยวาณิช
Emeritus President

2538-2541:
นายสิทธิชัย ไกรสิทธิศิรินทร
Emeritus President

2542-2545:
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา
Emeritus President

2546-2547/2552-2555/2564-ปัจจุบัน:
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
Emeritus President

2548-2551/2556-2563:
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์
Emeritus President

เรื่องราวของสมาคม

สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เดิมชื่อ “สมาคมผู้ค้าสัตว์น้ำไทย” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2511 จากจำนวนสมาชิกเริ่มต้นจำนวน 12 บริษัท โดยมีคุณเฉลิม ปัทมพงศ์ เจ้าของบริษัท ห้องเย็นยานนาวา จำกัด เป็นนายกสมาคมฯคนแรก จุดเริ่มต้นของสมาคมฯเกิดจากการรวมตัวกันเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มผู้นำเข้าของประเทศคู่ค้า แล้วพัฒนาสู่การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหมู่สมาชิก ทั้งในเรื่องข้อมูล ข่าวสาร การจัดการวัตถุดิบ การคัดขนาด สุขอนามัยของคนงาน น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต และมาตรฐานของสินค้า จนทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประเทศผู้นำเข้า ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกได้มากขึ้นในแต่ละปี

ทศวรรษที่หนึ่ง (พ.ศ. 2511-2520) ของสมาคมจึงเป็นการก่อเกิดและวางรากฐานให้กับอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของประเทศไทยในเวลาต่อมา

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2521-2530) รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำว่าสามารถนำเงินตราเข้าสู่ประเทศได้ทางหนึ่ง จึงได้สนับสนุน และจัดระเบียบให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็งเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2523 มูลค่าเพิ่มถึง 6,000 - 7,000 ล้านบาท ในทศวรรษนี้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้และให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนในการผลิตสินค้าสัตว์น้ำเพื่อได้คุณภาพที่ดีสู่ผู้บริโภค และได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมผู้ค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและอาหารแช่เยือกแข็งไทย” เพื่อให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ของสมาชิกที่มีการส่งออก

ในทศวรรษที่สาม (พ.ศ. 2531-2540) นับว่าเป็นทศวรรษที่มีอัตราการขยายตัว และเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งมากที่สุด มีการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศยุโรปเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากตลาดหลักคือ ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกฎระเบียบการค้าที่ให้ความสำคัญกับภาพการผลิตและคุณภาพของสินค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค มีการนำระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) มาใช้ในกระบวนการผลิต มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ การรวมกลุ่มสมาชิกเป็น NASEG (North America Shrimp Exporter Group) เพื่อต่อรองค่าระวางเรือ และในยุคนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็น “สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย” ซึ่งใช้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ในตอนท้ายของทศวรรษนี้ประเทศไทยจะประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจากการลดค่าเงินบาท แต่ก็เป็นโอกาสให้กับการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งของไทยที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้เพิ่มมากขึ้น

ในทศวรรษที่สี่ (พ.ศ. 2541-2550) สมาคมฯ ได้ช่วยเหลือสมาชิกจากกรณีถูกไต่สวนกรณีทุ่มตลาด (Antidumping) เนื่องจากการเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่เข้าประเทศสหรัฐอเมริกา มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กุ้ง ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็งยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่ง สมาคมฯ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐาน ด้านคุณภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของโลก โดยคำนึงถึงคุณภาพ มาตรฐาน และสิ่งแวดล้อม” มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการแช่เยือกแข็ง มีการควบคุมปริมาณสารปนเปื้อน มีการสร้างมาตรฐานสุขอนามัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิด Food Safety การนำระบบ GMP (Good Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) มาใช้ในกระบวนการผลิต เน้นยุทธศาสตร์การทำงานเชิงรุก เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นครัวโลก และเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

ในทศวรรษที่ห้า (พ.ศ. 2551-2560) นับว่าเป็นทศวรรษที่อุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของไทยต้องเผชิญกับปัญหาทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ เช่น ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (EMS; Shrimp Early Mortality Syndrome) ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ ความเข้มงวดจากการห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานเด็ก และแรงงานบังคับของประเทศคู่ค้า การต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ IUU ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้น สมาคมฯ จึงต้องแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกติกาของสากลทั้งในเรื่องแรงงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ IUU การพัฒนาสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) ให้เป็นไปตามข้อบังคับด้านสุขอนามัยของสหภาพยุโรป การแก้ปัญหาผลกระทบจากการระบาดของโรคตายด่วน (EMS) ในกุ้ง การให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน (GLP; Good Labour Practices) ตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO; International Labour Organization) การจัดทำแผนแม่บท และการรณรงค์การทำการประมงอย่างยั่งยืนให้กับสมาชิก และผู้เกี่ยวข้อง การให้ความร่วมมือทางด้านการค้า และการประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน การให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการขาดแคลนแรงงาน การให้ความร่วมมือกับภาครัฐและหอการค้าไทยในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ภายใต้เครือข่ายประชารัฐ เป็นต้น

ในทศวรรษที่หก (พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) สมาคมฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่นำพาสมาชิกและอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของไทยพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง ก้าวไกล อย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรม นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) แล้ว ยังต้องสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในกลุ่มสินค้าที่เรียกว่า Composite Foods ให้สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี และไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติให้เข้มแข็ง แข็งแกร่ง ตั้งแต่ระดับเศรษฐกิจฐานรากจนถึงระดับประเทศ และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของสมาคมฯ ที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็ง และเป็นครัวของโลกต่อไป
TFFA 50th
Anniversary
"From Stability towards Sustainability"
E-book

เรื่องราวของสมาคม

สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เดิมชื่อ “สมาคมผู้ค้าสัตว์น้ำไทย” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2511 จากจำนวนสมาชิกเริ่มต้นจำนวน 12 บริษัท โดยมีคุณเฉลิม ปัทมพงศ์ เจ้าของบริษัท ห้องเย็นยานนาวา จำกัด เป็นนายกสมาคมฯคนแรก จุดเริ่มต้นของสมาคมฯเกิดจากการรวมตัวกันเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มผู้นำเข้าของประเทศคู่ค้า แล้วพัฒนาสู่การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในหมู่สมาชิก ทั้งในเรื่องข้อมูล ข่าวสาร การจัดการวัตถุดิบ การคัดขนาด สุขอนามัยของคนงาน น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต และมาตรฐานของสินค้า จนทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประเทศผู้นำเข้า ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกได้มากขึ้นในแต่ละปี

ทศวรรษที่หนึ่ง (พ.ศ. 2511-2520) ของสมาคมจึงเป็นการก่อเกิดและวางรากฐานให้กับอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของประเทศไทยในเวลาต่อมา

เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2521-2530) รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำว่าสามารถนำเงินตราเข้าสู่ประเทศได้ทางหนึ่ง จึงได้สนับสนุน และจัดระเบียบให้ผู้ส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็งเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2523 มูลค่าเพิ่มถึง 6,000 - 7,000 ล้านบาท ในทศวรรษนี้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้และให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนในการผลิตสินค้าสัตว์น้ำเพื่อได้คุณภาพที่ดีสู่ผู้บริโภค และได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมผู้ค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและอาหารแช่เยือกแข็งไทย” เพื่อให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ของสมาชิกที่มีการส่งออก

ในทศวรรษที่สาม (พ.ศ. 2531-2540) นับว่าเป็นทศวรรษที่มีอัตราการขยายตัว และเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งมากที่สุด มีการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศยุโรปเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากตลาดหลักคือ ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกฎระเบียบการค้าที่ให้ความสำคัญกับภาพการผลิตและคุณภาพของสินค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค มีการนำระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) มาใช้ในกระบวนการผลิต มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ การรวมกลุ่มสมาชิกเป็น NASEG (North America Shrimp Exporter Group) เพื่อต่อรองค่าระวางเรือ และในยุคนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็น “สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย” ซึ่งใช้เรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ในตอนท้ายของทศวรรษนี้ประเทศไทยจะประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจากการลดค่าเงินบาท แต่ก็เป็นโอกาสให้กับการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งของไทยที่สามารถนำรายได้เข้าประเทศได้เพิ่มมากขึ้น

ในทศวรรษที่สี่ (พ.ศ. 2541-2550) สมาคมฯ ได้ช่วยเหลือสมาชิกจากกรณีถูกไต่สวนกรณีทุ่มตลาด (Antidumping) เนื่องจากการเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่เข้าประเทศสหรัฐอเมริกา มีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กุ้ง ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็งยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่ง สมาคมฯ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐาน ด้านคุณภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ประเทศไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของโลก โดยคำนึงถึงคุณภาพ มาตรฐาน และสิ่งแวดล้อม” มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการแช่เยือกแข็ง มีการควบคุมปริมาณสารปนเปื้อน มีการสร้างมาตรฐานสุขอนามัยตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิด Food Safety การนำระบบ GMP (Good Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) มาใช้ในกระบวนการผลิต เน้นยุทธศาสตร์การทำงานเชิงรุก เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นครัวโลก และเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

ในทศวรรษที่ห้า (พ.ศ. 2551-2560) นับว่าเป็นทศวรรษที่อุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของไทยต้องเผชิญกับปัญหาทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ เช่น ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (EMS; Shrimp Early Mortality Syndrome) ทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ ความเข้มงวดจากการห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากแรงงานเด็ก และแรงงานบังคับของประเทศคู่ค้า การต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ IUU ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้น สมาคมฯ จึงต้องแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกติกาของสากลทั้งในเรื่องแรงงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ IUU การพัฒนาสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) ให้เป็นไปตามข้อบังคับด้านสุขอนามัยของสหภาพยุโรป การแก้ปัญหาผลกระทบจากการระบาดของโรคตายด่วน (EMS) ในกุ้ง การให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์ การจัดทำแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน (GLP; Good Labour Practices) ตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO; International Labour Organization) การจัดทำแผนแม่บท และการรณรงค์การทำการประมงอย่างยั่งยืนให้กับสมาชิก และผู้เกี่ยวข้อง การให้ความร่วมมือทางด้านการค้า และการประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน การให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการขาดแคลนแรงงาน การให้ความร่วมมือกับภาครัฐและหอการค้าไทยในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ภายใต้เครือข่ายประชารัฐ เป็นต้น

ในทศวรรษที่หก (พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป) สมาคมฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่นำพาสมาชิกและอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งของไทยพัฒนาอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง ก้าวไกล อย่างไม่หยุดยั้ง ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรม นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) แล้ว ยังต้องสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในกลุ่มสินค้าที่เรียกว่า Composite Foods ให้สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี และไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติให้เข้มแข็ง แข็งแกร่ง ตั้งแต่ระดับเศรษฐกิจฐานรากจนถึงระดับประเทศ และเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของสมาคมฯ ที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็ง และเป็นครัวของโลกต่อไป

THAILAND

board
พันธมิตร
กระทรวงแรงงาน
กระทรวงพาณิชย์
กรมศุลกากร
กรมประมง
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
สำนักงานประกันสังคม
หอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
สถาบันอาหาร
International Labour Organization (ILO)
NFI Crab Council
Fisheryprogress
Global Seafood Alliance
Plan International
Thailand Sustainable Fishery Roundtable (TSFR)
World Wild Life Fund (WWF)
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย
สมาคมกุ้งไทย
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association