Webinar Series 17: Access to Compensation

การสัมมนาโดย ASEAN-ACT เรื่อง " การเข้าถึงค่าตอบแทน ค่าชดเชย ค่าสินไหมทดแทน สำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ :Webinar Series 17: Access to Compensation" ในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยคุณเสาวนีย์ คำแฝง ผอ.สมาคมฯ และคุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผอ.สมาคมฯ ผู้เข้าร่วมการสัมมนา

สรุปสาระสำคัญ

วิทยากรประเทศไทย : ผอ. รัฐพล มณีรักษ์ ผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เรื่องเงินค่าชดเชยจากภาครัฐ

กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ อยู่ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายสำหรับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และเป็นค่าใช้จ่าย ในการบริหารกองทุน ประกอบด้วย

1.เงินทุนประเดมที่รัฐบาลจัดสรรให้

2.เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี

3.เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้

4.เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ

5.ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน

6.เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของกองทุน หรือที่ได้จากการจัดหารายได้

ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์

1.เยียวยาเบื้องต้นให้ผู้เสียหายสำหรับการค้ามนุษย์ เช่น ค่าอาหาร ที่พักอาศัยชั่วคราว ค่ารักษาพยาบาล การรักษา/บำบัดเยียวยาจิตใจ การศึกษา การอบรมให้ความรู้ การช่วยเหลือเรื่องกฎหมาย และการเดินทางส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง

2.ค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาความปลอดภัยของผู้เสียหาย

3.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศ เช่น ผู้เสียหายที่ถูกหลอก ชักชวนไปทำงาน และต้องเดินทางกลับประเทศไทย

4.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและคุ้มครอง เช่น กรณีผู้เสียหายอยู่ระหว่างการหางานทำ จะมีค่าครองชีพระหว่างการหางานทำ, กรณีสูญเสียรายได้จากการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์

5.ค่าตอบแทนระหว่างการทำงานในระยะเวลาช่วงที่คุ้มครองผู้เสียหาย ซึ่งไม่สามารถออกไปทำงานภายนอกได้ จึงสามารถทำงานในสถานคุ้มครองได้ เพื่อให้มีรายได้

6.การเรียกร้องเงินค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำผิด ซึ่งเจ้าหน้าที่จะไปสนับสนุนให้ผู้เสียหายสามารถร้องเรียนเงินผู้กระทำผิด

7.การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่

ข้อท้าทายในการทำงาน

1.ผู้เสียหายมีความกังวลในการเปิดเผยข้อมูลกับเจ้าหน้าที่

2.กระบวนการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งต้องประเมินและตัดสินใจร่วมกัน การวางแผนและการประเมินตัดสินใจต่างๆ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน

3.การติดตามและประเมินผล เราจะติดตามผู้เสียหาย เช่น ในด้านการจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อผู้เสียหายได้เงินชดเชยไปแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการบริหารจัดการเงิน

4.การยุติการบริการ คือเมื่อการพิจารณาต่างๆ เสร็จสิ้น การช่วยเหลือต่อไปจะไม่ใช่ในเรื่องค่าใช้จ่าย แต่จะเป็นการสนับสนุนผู้เสียหายในการคืนสู่สังคม

(Dr.Iur) Antonius PS Wibowo : Deputy Chairman Witness and Victim Protection Agency Indonesia (LPSK) หน่วยงานที่คุ้มครองและปกป้องผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในอินโดนีเซีย

1.หลักการคล้ายกับของประเทศไทย แต่สิ่งที่ท้าทายคือ การชดเชยเยียวยา ที่ต้องเรียกเก็บจากผู้กระทำผิด ซึ่งต้องมีการกำหนดระเบียบหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้เสียหายสามารถได้รับการชดเชย

2.ในส่วนผู้ปฏิบัติงานในเรื่องนี้ เช่น ทนาย นักสังคมสงเคราะห์ ทัศนคติ ความรู้ ของผู้ปฏิบัติงานต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3.กองทุนของรัฐต้องกำหนดในกฎหมายในอนาคต จะเป็นหลักประกันว่า ผู้เสียหายจะได้รับการช่วยเหลือ และเงินชดเชย สินไหมทดแทน โดยปัจจุบันเงินค่าชดเชยในอินโดนีเซีย จะเป็นการเรียกเก็บจากผู้กระทำผิดเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีการแก้กฎหมายต่อไป ในวิธีการคำนวณเงินชดเชย องค์ประกอบต่างๆ ในการคำนวณ ซึ่งมีความซับซ้อน เช่น ความเสียหายทางสังคม

Prof Jennifer Burn AM : Director of Anti-Slavery Australia, University of Technology Sydney ให้หน่วยงานให้คำแนะนำกับผู้รับบริการ ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น คนออสเตรเลียถูกค้ามนุษย์ เช่น การบังคับแต่งงาน ถือเป็นการนำคนมาเป็นทาสแบบใหม่ , คดีอาญา, การเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ ปัญหาที่พบ 1ใน 5 ของผู้เสียหาย ได้รับการระบุตัวตน ซึ่งถือว่าน้อยมาก ตั้งแต่ปี 2004-2021 มีอัตราผู้ดำเนินคดีเพียง 31 คนเท่านั้นเอง
อุปสรรคของการดำเนินการในการได้เงินค่าชดเชย สินไหมทดแทน :

1.เหตุผลที่ไม่สามารถระบุตัวตนผู้เสียหายได้ เนื่องจากว่า ผู้เสียหายเองไม่เข้าใจว่าตนเองเป็นผู้เสียหาย จึงไม่ได้มีการแจ้งความ คัดแยก และระบุตัวตน

2.ผู้เสียหายกลัวเจ้าหน้าที่รัฐ กลัวนักกฎหมาย อัยการทำให้เป็นเรื่องยาก นอกจากนี้การไม่สามารถให้ความ ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ได้ ส่งผลให้ตำรวจไม่สามารถหาหลักฐานให้ได้เพียงพอดำเนินคดี

3.ขาดการสนับสนุนทางกายภาพ เช่น การเข้าถึงที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ที่พักอาศัยชั่วคราวระหว่างการ ดำเนินการ

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association