05/10/65 สัมมนาโครงการ FAIR FISH ระหว่างผู้ผลิตอาหารทะเลประเทศไทย-ผู้ซื้ออาหารทะเลยุโรป

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้เข้าร่วม เสวนาออนไลน์ระหว่างผู้ผลิตสินค้าอาหารทะเลแปรรูปในประเทศไทย และผู้นำเข้าสินค้าอาหารทะเลในภูมิภาคยุโรป ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ และอเมริกาเหนือ ซึ่งจัดโดยโครงการ Fair Fish องค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ให้ผู้บริโภคได้ทราบที่มาของแหล่งข้อมูลและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมากขึ้น

2) ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าไม่ได้มีปัญหาด้าน IUU (Illegal, Unreported and Unregulated fishing) ของขั้นตอนการผลิต

3) ผู้บริโภคได้รับความมั่นใจว่าแรงงานในห่วงโซ่การผลิตไม่ถูกเอาเปรียบ

4) ผู้นำเข้ากำหนดให้ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานใหม่



โดยสรุปจากหัวข้อการสัมมนา ดังนี้

ภาพรวมของโอกาสในการส่งออกและแนวโน้มของกฎระเบียบและความต้องการอาหารทะเลปลอดสาร ซึ่งผ่านการรับรองและการตรวจสอบที่เพิ่มขึ้น และการจัดหาแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบอันเชื่อถือได้ในสหภาพยุโรป โดย Mr. Martin Amdi Peder จาก Eco Blue Seafood Co.Ltd.

การส่งออกและแนวโน้มของกฎระเบียบและความต้องการอาหารทะเลของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำการค้าโดยอยู่บนหลักการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคในกลุ่ม Niche Market มีกำลังในการซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่คำนึงถึงสิทธิด้านมนุษยชน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง พร้อมทั้งได้แนะนำว่าผู้ผลิตของไทยควรสร้างสินค้าที่มีจุดเด่นและแตกต่างไปจากสินค้าที่วางขายอยู่ทั่วๆ ไป เนื่องจากสถานการณ์ในสหภาพยุโรปประชาชนประสบกับภาวะเศรษฐกิจ จึงลดการจับจ่ายลงและเน้นสินค้าราคาถูกทดแทนสินค้าอาหารทะเล

และการที่จะทำให้สินค้าอาหารทะเลประสบความสำเร็จในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนั้น ได้แนะนำให้ผู้ประกอบการได้มีการศึกษาและเจาะกลุ่มเข้าไปในแต่ละประเทศเช่น ผู้บริโภคในประเทศยุโรปตอนเหนือ หรือมีการร่วมมือกับผู้นำเข้าในแต่ละประเทศ ช่วยในการทำตลาดและเพื่อให้สามารถเจาะกลุ่มเฉพาะผู้บริ โภคได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปหลายรายให้ความสำคัญกับกฎหมายใหม่เช่น SA8000 BSCI Human Right ASC MSC ถือได้ว่าเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทย และเป็นมาตรฐานที่จะช่วยให้ไทยเข้าถึงตลาดสหภาพยุโรปได้ ในขณะที่ไทยยังไม่ได้มีการทำ FTA ไทย-อียู ในขณะที่ประเทศเวียดนามได้เปรียบกว่าประเทศไทยเพราะมีการทำ FTA กับสหภาพยุโรปแล้ว

เครื่องมือตรวจสอบสากล การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence) โดยคุณศิริวรรณ หลิมสกุล ที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบและรับประกัน; Deloitte Touche Tohmatsu Jaiyos



เครื่องมือในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน UNGP; The UN Guiding Principle on Business and Human Right โดยยึดหลักการในการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนกับแรงงาน พร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขในแต่ละข้อ การประเมินความเสี่ยงในแนวโน้มที่จะลดลง และต้องสามารถเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานต่อสาธารณชนได้ด้วยผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มดำเนินการปฏิบัติและการตรวจสอบด้านห่วงโซ่สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมของคู่ค้า และจะขยายไปยังผู้ประกอบการรายย่อยๆ ที่จะต้องปฏิบัติเช่นกันในอนาคตจะเข้มงวดด้านการตรวจสอบและมีวงรอบในการตรวจ Audit ถี่ขึ้น การเจรจาต่อรองและการทำสัญญาซื้อขายจะครอบคลุมในเรื่องสิทธิมนุษยชนส่วนผู้ประกอบการอาหารทะเลจะมีภาระต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น


การผลักดันกฎหมายหรือมาตรการบังคับใช้ด้านสิทธิมนุษยชน Legally Binding Instrument Human Rights (LBI)จะถูกกำหนดและเรียกร้องให้ภาคเอกชนปฏิบัติเช่น เดียวกับมาตรการอื่นๆ


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association