ประชุมคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 2/2566

การประชุมคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 2/2566 ในวันที่ 16 สิงหาคม 2566 โดยมี ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานที่ประชุม และมีคุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผอ.สมาคมฯ และคุณนารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผอ.สมาคมฯ เข้าร่วมประชุม


สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. แนวทางการดำเนินงานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน 2566-2567

- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 39 คน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ

ด้านแก้ไขปัญหาแรงงานของ ประเทศไทย
ด้านส่งเสริมและพัฒนา ยกระดับฝีมือแรงงาน (Labor Productivity)
ด้านส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ แรงงาน Re-Skill & Up-Skill และ การทดแทนแรงงาน
ด้านการแก้ไขปัญหากฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค


โดยแบ่งคณะทำงาน (AdHoc) เป็น 2 ทีมคือ ด้านแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทย และด้านการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน

2. ความคืบหน้าการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ


- หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดทำข้อเสนอเร่งด่วนถึงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคธุรกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ ปลัดกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ผลการดำเนินการ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เพื่อดำเนินการตามประกาศกระทรวงแรงงาน โดยกำหนดการดำเนินการ ดังนี้


นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมรูปถ่ายเพื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน


กรมการจัดหางานตรวจ/อนุมัติบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้าง (Name list) แรงงาน ต่างด้าว และให้คนต่างด้าวใช้บัญชีรายชื่อ (Name list) เป็นเอกสารหลักฐาน เพื่อแสดงว่า คนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานถึงวันที่ 31 ก.ค.2566

3. สรุปสาระสำคัญการประชุมเรื่อง ค่าธรรมเนียมการจัดงาน (Recruitment Fee) ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง


สืบเนื่องจาก การประชุมคณะกรรมการแรงงานและพัฒนา ฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2566 มีประเด็นเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจัดหางาน Recruitment Fee ที่ภาคเอกชนยังไม่มีความชัดเจน จึงได้มีมติเห็นชอบขอให้ทาง กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO และได้มีการจัดประชุมในวันที่14 กรกฎาคม 2566 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

- Mr. Nilim Baruah ผู้เชี่ยวชาญการย้ายถิ่นฐานระดับภูมิภาค ผู้แทนสำนักงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสปป.ลาว ILO ได้นำเสนอดยสรุปว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการจัดหางานทั้งหมด เป็นความรับผิดชอบของนายจ้าง ซึ่งรวมถึงค่าหนังสือเดินทางด้วย พร้อมทั้งกล่าวว่ามีประเทศที่ทำการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เคยถูกแบนมาแล้วจากผู้ซื้อรายใหญ่ เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามแนวมาตรฐาน โดยย้ำว่าตามหลักการ ILO C181 “ค่าใช้จ่ายจัดหางานไม่ควรเป็นความรับผิดชอบของแรงงาน”

- กระทรวงแรงงานนำเสนอแนวทางปฏิบัติการจ้างแรงงานต่างด้าวและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดหางาน (Recruitment Fee) สำหรับการเข้ามาทำงานตามระบบ MOU ทั้งแบบนายจ้างใช้บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ และนายจ้างเป็นผู้ดำเนินการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานด้วยตนเอง


- ดร.ชนินทร์ เสนอว่าเรื่องมาตรฐานด้านแรงงานในปัจจุบัน บริษัทส่งออกจะมีผู้ตรวจมาตรวจสอบในด้านแรงงานมาก และพยายามให้บริษัทดำเนินการ Zero Recruitment ซึ่งหากมีการหารือร่วมกัน 3 หน่วยงานคือ ภาครัฐ เอกชน และ CSOs สามารถเป็นมติดำเนินการได้ ทั้งนี้เราควรแก้ไขในระเบียบของเราเองที่สามารถแก้ไขได้ก่อน โดยคณะกรรมการฯ จะนำเรื่องเสนอกระทรวงแรงงานในประเด็น เรื่องการลดค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา visa แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรม และการต่ออายุแรงงาน MOU จากต่ออายุ 2 ปี เป็น 4 ปี


- คุณอรรถพันธ์ ได้เข้าร่วมสัมมนาในเรื่อง จะมีกฎหมายใหม่ของสหภาพยุโรปออกจาก ในเรื่อง Human Rights และ Recruitment Fee ว่าค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าว ใครจะร่วมรับผิดชอบบ้าง และควรนำ Buyers เข้ามาสัมมนาและมีส่วนร่วมด้วย นอกจากนี้ทางโครงการ Ship To Shore Rights SEA จะมีการจัดประชุมหารือเรื่อง Recruitment Fee ในวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ซึ่งจะนำประเด็นในการประชุมไปหารือด้วย

- ต้นทุนของสินค้าทาง Buyers ต้องรวมในเรื่องต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายแรงงานด้วย และอนาคตกฎหมายด้านแรงงานของทางสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปจะเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้นเราควรมีการหารือในประเทศก่อน

4. การศึกษาการทำงานรายชั่วโมง


- สมาคมค้าปลีก ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แต่ปัจจุบันการตลาดมีช่วงพีคและไม่พีค จึงมีการผลักดันการทำงานรายชั่วโมง ซึ่งทางกระทรวงแรงงานได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว และขอให้ภาคเอกชนรอ พรบ. คุ้มครองแรงงานอิสระที่กำลังจะประกาศออกมา

- ให้ทางสมาคมค้าปลีก ประสานข้อมูลกับอาจารย์วาทิน เพื่อดูช่องทางกฎหมายที่อาจนำมาดำเนินการ

5. การดำเนินการ GLP คุณวิบูลย์เสนอว่า เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ (Good Labour Practices: GLP) ครั้งที่ 1/2566 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

- สถานประกอบกิจการที่น าแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการด้านแรงงาน จำนวน 27,053 แห่ง ยกระดับคุณภาพลูกจ้าง จำนวน 1,934,669 คน โดยมี สถานประกอบการที่นำตราสัญลักษณ์ GLP ไปใช้สร้างภาพลักษณ์ที่ดี จำนวน 1,081 แห่ง

- พิจารณา ร่างแนวทางปฏิบัติการใช้แรงงานที่สำหรับฟาร์มสุกรในประเทศไทย ซึ่งได้ผ่านการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากสมาคมที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยร่างดังกล่าวจัดทำภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายแรงงาน

- เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาเครือข่ายเพื่อสร้างความร่วมมือแนวปฎิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) เพื่อขยายผลการป้องกันด้านการค้ มนุษย์ด้านแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง พร้อมทั้งคุณอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ คณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง เทคนิคการนำ GLP ไปใช้ในการบริหารธุรกิจให้ประความสำเร็จ

6. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ.

- หอการค้าและสภาหอการค้าฯ จะส่งเอกสารให้สมาชิกเพื่อพิจารณา และส่งความคิดเห็นร่าง พรบ. ให้ทางกระทรวงยุติธรรมต่อไป ทั้งนี้ในร่าง พรบ.ฉบับดังกล่าว มีมาตรา 50 มีเรื่องการสรรหาแรงงาน ขอให้ฝ่ายเลขาประสานกระทรวงแรงงานว่า สามารถอยู่ในพรบ.นี้ได้หรือไม่ เนื่องจากมีพรบ. การบริหารและจัดการแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงาน



Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association