การประชุมสถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมการส่งสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม ครั้งที่ 1/2567

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยคุณพงศ์ เลิศชูสกุล กรรมการสมาคมฯ, คุณเสาวนีย์ คำแฝง ผู้อำนวยการสมาคมฯ และคุณวาสนา ตรังใจจริง เจ้าหน้าที่สมาคมฯ เข้าร่วมประชุมสถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมการส่งสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม ครั้งที่ 1/2567 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings จัดโดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

รับทราบสถานการณ์ส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่ม ปี 2566

การส่งออกสินค้าเกษตร เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่ารวม 24,712 ล้านเหรียญฯ (840,555 ล้านบาท) ลดลง 4.52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเกษตรที่ส่งออกมากที่สุด คือ ผัก ผลไม้ สดแช่เย็น แช่แข็ง ข้าว มันสำปะหลัง ไก่ และอาหารทะเลสดและแปรรูป

การส่งออกสินค้าผลไม้สดและแปรรูป เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 6,668 ล้านเหรียญฯ (227,157 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 14 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทสินค้าผลไม้ที่ส่งออก ได้แก่ ทุเรียนสด ร้อยละ 55 % , น้ำผลไม้ ร้อยละ 7 % , ผลไม้กระป๋อง ร้อยละ 4

- สัดส่วนตลาดหลักสินค้าผลไม้ ได้แก่ จีน 77 % สหรัฐอเมริกา 7 % และมาเลเซีย 2 %

การส่งออกสินค้าข้าว เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 2,949 ล้านเหรียญฯ (100,3670 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 19 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทสินค้าข้าวที่ส่งออก ได้แก่ ข้าวขาว ร้อยละ 46 % , ข้าวหอมมะลิ ร้อยละ 28 %, ข้าวนึ่ง ร้อยละ 15

- สัดส่วนตลาดหลักสินค้าข้าว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 14 %, อินโดนีเซีย 13 % , อิรัก 11%

การส่งออกสินค้ามันสำปะหลัง เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 2,596 ล้านเหรียญฯ (88,187 ล้านบาท) ลดลง 17 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทสินค้ามันสำปะหลังที่ส่งออก ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง ร้อยละ 59 % , มันเส้น ร้อยละ 38 % อื่นร้อยละ 3%

- สัดส่วนตลาดหลักสินค้ามันสำปะหลัง ได้แก่ จีน 65 % , ญี่ปุ่น 8 % และไต้หวัน 4 %

การส่งออกสินค้าไก่ เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 2,695 ล้านเหรียญฯ (91,651 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 1.7 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทสินค้าไก่ที่ส่งออก ได้แก่ กุ้งแปรรูป ร้อยละ 67 % , ไก่สดแช่เย็น/แช่แข็ง ร้อยละ 33 %

- สัดส่วนตลาดหลักสินค้าไก่ ได้แก่ จีน 26 % สหรัฐอเมริกา 25 % และญี่ปุ่น 25 %

การส่งออกสินค้าอาหารทะเล เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 2,628 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทอาหารทะเลส่งออกสำคัญ ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลกระป๋อง หมึกมีชีวิตสด แช่เย็น/แข็ง

- สัดส่วนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อเมริกา ร้อยละ 20 ญี่ปุ่นร้อยละ 19 และออสเตรเลีย ร้อยละ 6

การส่งออกสินค้ากุ้งสด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป

การส่งออกสินค้ากุ้งสด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 655 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าส่งออก ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทสินค้ากุ้งที่ส่งออก ได้แก่ กุ้งสด แช่เย็น/แข็ง ร้อยละ 64% และกุ้งแปรรูป ร้อยละ 36 %

- สัดส่วนตลาดหลักสินค้ากุ้ง ได้แก่ จีน 26 % สหรัฐอเมริกา 25 % และญี่ปุ่น 25 %

การส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องและแปรรูป

การส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องและแปรรูป เดือน ม.ค.-ส.ค. 2566 มูลค่า 1,308 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- ประเภทสินค้าทูน่าที่ส่งออก ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 95% , ทูน่าแปรรูป ร้อยละ 5 %

- สัดส่วนตลาดหลักสินค้าทูน่า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 22 % ญี่ปุ่น 13 % ออสเตรเลีย 9%

คุณพงศ์ เลิศชูสกุล (กรรมการสมาคมฯ) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อสถานการณ์ส่งออกสินค้ากุ้ง ดังนี้

ปีนี้ คาดการปริมาณส่งออกสินค้ากุ้งในตลาดหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกาประมาณ 20,000-25,000 ตัน ตลาดญี่ปุ่น เน้นสินค้ากุ้งซูชิ และกุ้งแปรรูป ประมาณ 30,000 ตัน สำหรับตลาดจีน เน้นกุ้งขาว และกุ้งกุลาดำ สดแช่เย็น แช่แข็ง ประมาณ 25,000-30,000 ตัน

ตลาดอเมริกา ด้านผู้ค้าปลีก และซุปเปอร์มาเก็ต ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน Aquaculture Stewardship Council (ASC) ดังนั้น ฟาร์มกุ้งที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ต้องได้มาตรฐาน ASC 100 % หากมีโลโก้มาตรฐานASC ที่ผลิตภัณฑ์แสดงให้เห็นว่า ผู้ค้าปลีกหรือซุปเปอร์มาเก็ต มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งให้ระยะเวลาในการปรับตัว 1 ปี แต่การยกระดับมาตรฐาน ASC ส่วนใหญ่ติดปัญหาเรื่องโฉนดที่ดินไม่ถูกต้อง การประเมินทางด้านสิ่งแวดล้อม และการอนุมัติที่ล่าช้า จึงขอให้กรมส่งเสริม ช่วยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ส่งออกดำเนินงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

การส่งออกสินค้ากุ้ง ในปี 2566 คาดว่าการส่งออกกุ้ง ลดลงร้อยละ 5 , ปี 2567 หากเศรษฐกิจในตลาดหลัก ยังไม่ฟื้น การส่งออกสินค้ากุ้ง คาดว่าลดลงประมาณ 5-7% และในปี 2568 หากไทยยังไม่ปรับตัวหรือยกระดับมาตรฐานฟาร์มกุ้ง ASC ได้ คาดว่าการส่งออกจะลดลงร้อยละ 10

คุณเสาวนีย์ คำแฝง (ผู้อำนวยการสมาคมฯ) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เนื่องจากปัจจุบันวัตถุดิบที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติปริมาณไม่เพียงพอต่อการผลิตเพื่อแปรรูส่งออก อาทิ หมึก ปูม้า กุ้ง และปลาสำหรับผลิตซูริมิ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ ช่วยหาแหล่งและประสานกับประเทศต้นทางในการนำเข้ามา เพื่อผลิตและส่งออก

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association