ประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการระดับชาติครั้งที่ 5

คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกฯ ได้เข้าร่วมการประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการระดับชาติครั้งที่ 5 “การย้ายถิ่นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมง : โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย” ในวันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมสยามฮอล์ ชั้น 6 โรงแรมอิสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ

สรุปสาระสำคัญ

(1) ส่งเสริมประสิทธิภาพกรอบกฎหมาย นโยบาย และกฎระเบียบเกี่ยวกับการย้ายถิ่นเพื่อการทำงานและมาตรฐานแรงงาน

- ศึกษาความจำเป็นการบริการล่ามภาครัฐ

- สนับสนุนกระทรวงแรงงานด้านวิชาการ การพัฒนาข้อตกลงทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา เกี่ยวกับการจ้างแรงงานประมง

- นิทรรศการภาพถ่าย “งานและชีวิตของแรงงานข้ามชาติในเศรษฐกิจสีน้ำเงินของไทย (Migrants’ labour and lives in Thailand blue Economy)”

- สนับสนุนเอกสารแปล เกี่ยวกับอนุสัญญา 188

(2)เพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคง

- สนับสนุนด้านวิชาการต่อแบบสัมภาษณ์ของพนักงานตรวจแรงงานของกรมสวัสดิการฯ

- โครงการ GLP visit ร่วมกับ TFFA และ TTIA โรงงานเข้าร่วม 55 โรงงาน (ปี 2566)

- แบ่งปันประสบการณ์ SGLP ให้กับ AP2HI ของอินโดนีเซีย

- ทำ Workshop กับองค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เรื่องค่าธรรมเนียมการจัดหางานและค่าใช้จ่ายของแรงงานข้ามชาติ

- ตรวจเยี่ยมศูนย์ตรวจเรือแจ้งเข้าออก จ.สมุทรสาคร ของรมว กระทรวงแรงงานของปาปัวนิวกินี เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนกลไกและกระบวนการของศูนย์ฯ

(3) สร้างความเข็มแข็งให้แก่แรงงานข้ามชาติและครอบครัว,องค์การและชุมชนเพื่อสนับสนุนและใช้สิทธิของตน

- การตั้งศูนย์ MRC ของ LRF ในสมุทรสาคร เพื่อบริการให้ข้อมูลและช่วยเหลือแก่แรงงานข้ามชาติ 388 ราย, พัฒนาทักษะด้านภาษาไทยกับแรงงานข้ามชาติ 184 ราย,ให้ความรู้เจ้าหน้าที่และผู้นำแรงงาน 55 ราย ในเรื่องยุทธศาสตร์การสื่อสาร

- ให้การสนับสนุน HRDF เรื่องการช่วยเหลือแก่แรงงานด้านกฎหมายกับแรงงานข้ามชาติในภาคประมงและอุตสาหกรรมประมง

- สนับสนุน FRN ในการจัดตั้งแรงงานประมงข้ามชาติและการตั้งศูนย์ MRC ในพื้นที่สงขลา ระนอง ตราด ชุมพร และคุระบุรี

- จัดตั้งศูนย์ให้ความรู้แก่ผู้นำแรงงาน

- ให้ความรู้แรงงานเรื่อง สุขชีวอนามัยและความปลอดภัย สิทธิแรงงาน กองทุนเงินทดแทน ใน 8 จังหวัดชายฝั่งทะเล
โครงการได้รับงบประมาณจาก EU มีระยะเวลา 4 ปี คือ 1 สิงหาคม 2563-31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเนื่องจากเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และครอบคลุม 7 ประเทศ (ไทย กัมพูชา ลาว พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) ทาง ILO จึงได้เสนอต่อ EU ในการขยายโครงการต่อจนถึงสิ้นปี 2567

ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมของโครงการ

คุณวิบูลย์ TFFA ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ทั้ง 2 สมาคมมีการจัดสัมมนาจบไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่ง SGLP เป็นระบบที่ดี ในรูปแบบสมัครใจ ซึ่งในหลายโรงงานให้การสนับสนุน แต่คำถามที่พบบ่อยคือ ทำ SGLP แล้วได้อะไร? จึงอยากให้ ILO มีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และเผยแพร่ไปยัง buyers ให้รับทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว


คุณอรรถพันธ์ TTIA อยากให้มีการดำเนินโครงการต่อ โดยลงในส่วนของ supply chain , ในปี 2566 มี CSOs เข้าร่วมใน GLP visits ซึ่งถือเป็นความร่วมมือที่ดี


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association