การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบสำหรับภาคการเกษตร

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. สมาคมฯ โดยคุณเสาวนีย์ คำแฝง (ผู้อำนวยการสมาคมฯ) และคุณวาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ ) เข้าร่วมรับฟังสัมมนาออนไลน์หัวข้อ การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบสำหรับภาคการเกษตร จัดโดย กระทรวงยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Thai Representative to ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights : AICHR) สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand : GCNT) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงาน สัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 (Bangkok Business and Human Rights week 2023) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

สัมมนาการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบสำหรับภาคการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้

1. การบรรยายในหัวข้อ มาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบของภาคการเกษตร (Responsible business conduct in the agriculture sector) โดยคุณ Rena Hinoshita, Policy Analyst, OECD Centre for Responsible Business Conduct

การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบในภาคเกษตรผู้ประกอบธุรกิจ ควรให้ความสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้ 1. CSR (Corporate Social Responsibility) กิจกรรมที่แสดงถึงการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการหาวัตถุดิบมาใช้ในกระบวนการผลิตด้วย

2. มาตรฐาน The British Retail Consortium (BRC) มุ่งเน้นในเรื่องของความปลอดภัยในการผลิต รวมถึงการตรวจสอบย้อนกลับอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ESG (Environmental, Social, and Governance) สะท้อนการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ภายใต้ความยั่งยืน
แนวทางการปฏิบัติเป็นพื้นฐานในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร รวมถึงมาตรฐาน ILO ดังนี้

ㆍบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการลดความยากจนความมั่นคงทางอาหารและความเท่าเทียมทางเพศ

ㆍมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของเอเชียการเจริญเติบโต

ㆍสำหรับรายงานที่ ILO นำเสนอออกนั้น ให้ความสำคัญกับเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การนำแนวปฏิบัติห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบมาประยุกต์กับอุตสาหกรรมทุกขนาด ซึ่งได้รับความร่วมมือระหว่าง OECD – FAO RBC ในห่วงโซ่อุปทาน

กรอบการตรวจสอบสถานะของ OECD

ㆍเชิงป้องกัน

ㆍอิงตามมาตรฐานสากล

ตามความเสี่ยง

- มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- ปรับให้เหมาะกับขนาดและสถานการณ์ของบริษัท

- ปรับให้เข้ากับความสัมพันธ์ของธุรกิจที่แตกต่างกัน

- จัดลำดับความสำคัญตามโอกาสและความรุนแรง

แนวทางจัดการกับผลกระทบด้านลบ

- จัดลำดับความสำคัญ ขึ้นกับโอกาสและความรุนแรงของผลกระทบ

- ภาระผูกพันทางกฎหมาย

- แจ้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดำเนินการต่อเพื่อแก้ไขผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญน้อยลง

2. การบรรยายหัวข้อ กรอบนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible business conduct) ในภาคการเกษตร โดยดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ (ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นผู้แทนในการใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น รวมถึงร่วมกำหนดพระราชบัญญัติสหกรณ์ และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาเกษตร ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นคณะกรรมการ ซึ่งเน้นด้านสิทธิมนุษยชนในการลงทุนทำธุรกิจอย่างรับผิดชอบและผู้มีส่วนได้เสีย ต้องรับผิดชอบ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ, SME จะนำกฎหมายเกษตรพันธะสัญญามาใช้ได้อย่างไร ให้เกิดประโยชน์ และมีความชัดเจน

3. การเสวนาหัวข้อแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบในภาคการเกษตร : ความท้าทาย โอกาส และบทเรียน โดย คุณสถาพร ฉายะโอภาส (ผู้อำนวยการ บริษัท มิตรใหม่ฟาร์ม จํากัด), คุณธณวรรธณ์ หลิมสวัสดิ์ (รองผู้จัดการฝ่าย HR บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน)), Mr. Kyle Barnes, General Manager of ESG Division to Product Strategy & Planning of Electronics Materials Division, Nitto Denko Corporation และ Mr.Christopher Ilagan, Corporate Affairs Director, Cargill Philippines ร่วมเป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย คุณธัญญกาญจน์ แดงสุภา (นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
ส่วนใหญ่โรงงานมีนโยบายการให้สิทธิมนุษย์ชนกับแรงงานใช้ทุกขบวนการของการผลิต ตั้งแต่ การจัดซื้ออย่างเป็นธรรม รวมไปถึง Supplier การผลิต การจัดเก็บสินค้า และการขนส่ง และจะไม่ละเมิดสิทธิมนุษย์ชน รวมถึงมีการกำกับดูแลคนพนักงานอย่างต่อเนื่อง

ความเสี่ยงของโรงงาน : ผลิตภัณฑ์ที่มาจากภาคเกษตร เช่น ปิโตเลียม และผลิตภัณฑ์ชีวภาพมีการนำมาใช้ และเจอความเสี่ยงนั้น โรงงานสามารถติดตามห่วงโซ่ ไปยังต้นทางได้หรือไม่ สามารถทำได้ แต่ต้องขอข้อมูลห่วงโซ่อุปทานจากลูกค้าในแต่ละทอด เพื่อย้อนกลับถึงต้นทาง

ความเสี่ยงการตัดไม้ทำลายป่า ค่อนข้างคุมได้ยาก เช่น โพลิเมอร์/ เลซินยางสนจากจีนหรืออินโดนีเซีย ทำให้ยากต่อการตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทางหรือแหล่งปลูกได้ อีกทั้งใช้ cost สูง

สำหรับธุรกิจของคาร์กิลในฟิลิปินส์ เช่น ธุรกิจอาหารสัตว์ ไก่ น้ำมันชีวภาพ ซึ่งเป็นปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนานแล้วคือ มะพร้าวและข้าวโพด โดยโครงการน้ำมันมะพร้าวอย่างยั่งยืน เกษตรกรมะพร้าวรายย่อย ซึ่งโรงงานรับรองเรื่องเป็นผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน มาจากฟาร์มที่ไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และอบรมให้ความรู้เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งโรงงานให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทอดทิ้งเกษตรกรไว้ข้างหลัง

สำหรับข้าวโพด บริษัทรับซื้อผ่านสหกรณ์ ซึ่งจะรับซื้อในปริมาณมาก มีการจัดทำระบบ พร้อมเชิญหน่วยงานที่มีส่วนร่วมเข้ามามีส่วนได้เสีย ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และตัดคนกลางออก ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้โดยตรง เป็นการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่

ด้านการลดความเสี่ยง ควรมีการสื่อสารและแก้ไขอย่างไร

- แนะนำให้เริ่มสร้างระบบตั้งแต่ต้น โดยเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึง Supplier ให้เข้ามารับฟัง เพื่อให้เข้าใจตรงกัน

- การรับประทานอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร และจัดประชุมสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา

- ประชุมพนักงานทั้งหมด และsupplier ให้รับรู้นโยบายของบริษัท ประเมิน และจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามเป็นระยะ พร้อมทั้งเน้นย้ำในเรื่องสิทธิมนุษยชน

ด้านการแก้ปัญหาคาร์กิลมีการจัดการ ดังนี้

1 มีโครงการออกใบรับรองสินค้าพรีเมี่ยม ซึ่งลูกค้ายอมจ่าย ในราคาสูงขึ้น แต่ลูกค้าต้องรู้ว่าได้รับประโยชน์อะไรกับการจ่ายแพง

2 การจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกร ถือว่าเป็นการลงทุนสำหรับโรงงาน ทำให้โรงงานมีผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ และคุณภาพ รวมถึงการจ่ายเงิน ให้กับเกษตรกรจะไม่ผ่านคนกลาง ทำให้เกษตรกรได้รับรายได้ เต็มจำนวน และได้รับความเป็นธรรม แต่บริษัทจะมีการเรียก เก็บจากลูกค้า เนื่องจากเป็นสินค้าที่ได้มาโดยชอบธรรม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

3 สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมโครงการธรรมาภิบาล เพื่อกำหนดทิศทางสิทธิมนุษยชนร่วมกัน


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association