เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 สถาบันอิสรา จัดการสัมมนา เรื่อง “Issara Institute Inclusive Labor Monitoring (ILM) Action Network: เวลา 09.00-14.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 10 โรงแรม SILQ Hotel & Residence สุขุมวิท 24 ผู้เข้าร่วมประชุม นารีรัตน์ จันทร์ทอง รองผู้อำนวยการสมาคมฯ
วัตถุประสงค์ : เพื่อหารือและพัฒนากลยุทธ์ในการส่งเสริมการสรรหาจ้างแรงงานอย่างมีจริยธรรมและปรับปรุงสภาพแรงงานในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก
Update สถานการณ์ประเทศต้นทาง
1. ความไม่มั่นคงที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ชนบทส่งผลให้มีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 3 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น 50% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ในขณที่การต่อสู้รุนแรงขึ้น ผู้คนมากกว่า 18.6 ล้านคน รวมถึงเด็ก 6 ล้านคนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
2. ขาดโอกาสการทำงานในเมียนมา กดดันให้วัยทำงานต้องออกจากประเทศและหางานทำ
3. การบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารกดดันเยาวชนให้หนีออกนอกประเทศ และชายหนุ่มอายุระหว่าง 23-31 ปี ย้ายถิ่นฐานมาทำงานในไทย
4. การบังคับใช้นโยบายภาษีเงินได้ 2% ที่เข้มงวดมากขึ้น และการส่งรายได้ 25% ผ่านระบบธนาคารไปยังครอบครัว
5. ไม่สามารถใช้ชายแดนเมียวดี-แม่สอดได้แต่ต้องเดินทางโดยเครื่องบินจากย่างกุ้งไปกรุงเทพหรือผ่านชายแดนเกาะสอง-ระนอง
6. กระบวนการ MOU U-Turn สามารถทำได้ที่เกาะสองเช่นกัน
7. วีซ่าที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยในย่างกุ้ง- สามารถทำได้เพียงวันละ 400 คน สำหรับการจองออนไลน์ (มีแรงงานเข้าคิวประมาณ 3,800 คน)
8. ห้ามส่งแรงงานก่อสร้างชั่วคราว เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 เนื่องจากปัญหา R Choke/R MOU (คือแรงงานที่มาทำงานแล้ว แต่ไม่มีงานทำ)
9. จำนวนเงินสูงสุดตามกฎหมายที่อนุญาตให้แรงงานสามารถจ่ายได้เพิ่มขึ้น เป็น 300,000MMK (ประมาณ 3,000 บาท)
1. กระบวนการ MOU ระหว่างไทย-กัมพูชามีการผสมผสานกัน เนื่องจากกระบวนการส่วนใหญ่จะดำเนินการทางออนไลน์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลามากขึ้นและเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น
2. เดือนพฤษภาคม 2567 มีหน่วยงานจัดหางาน 89 แห่งที่สามารถส่งแรงงานมาทำงานในประเทศไทยได้ ตามความเห็นชอบของ MOLVT (กระทรวงแรงงานกัมพูชา)
3. MOLVT จะนำระบบออนไลน์ ให้แรงงานข้ามชาติใช้ติดตามการประมวลผลเอกสารของตน
4. MOLVT บังคับใช้ PRA อย่างเคร่งครัดในประเทศกัมพูชา ทีมงาน MOLVT ดำเนินการติดตาม PRA ในประเทศกัมพูชาอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการเสริมสร้างการปฏิบัติตามกฎหมายของ PRA
มีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย จำนวน 3,054,712 คน (ข้อมูลสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว มิถุนายน 2567)
มีแรงงานพม่า 2,300,050 คน แรงงานกัมพูชา 478,446 คน แรงงานลาว 272,541 คน และเวียดนาม 3,675 คน โดยเป็นแรงงานตามมติ ครม. 80% เป็นแรงงาน MOU 20% และแรงงาน Borders 1%
นโยบายการจัดการด้านแรงงานในประเทศไทย แบ่งเป็น
1. กลุ่มมติ ครม. ที่ใบอนุญาตจะหมดใน 13 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนว่าจะต่ออายุภายในประเทศหรือกลับไปทำ MOU ที่ต้นทาง
- ปัญหาที่พบในการจดทะเบียนตามมติ ครม. เช่น ความโปร่งใสของนโยบาย โดยนโยบายเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเท่านั้น, รวมศูนย์อำนาจที่เดียว ขาดมาตราการการทำงานในพื้นที่, เปิดช่องแสวงหาผลประโยชน์ เนื่องจากมติ ครม. ออกมา แต่ยังไม่มีประกาศในการปฏิบัติ เป็นต้น
2. กลุ่ม MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับไปทำใหม่ กลุ่มแรกครบกำหนดผ่อนผัน 30 เมษายน 2567 ทำที่ชายแดน กลุ่มที่ครบ 4 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ทยอยหมดอายุต้องพัก 30 วัน
** นำเข้า MOU เข้ามาทำงานในประเทศไทยตามปกติ ทำงานได้ครั้งละ 2 ปี ต่ออีก 2 ปี เมื่อครบ 4 ปี กลับไปทำ MOU เข้ามาใหม่ โดยต้องมีระยะพัก 30 วัน เมื่อ 1 พฤษภาคม 2567 มีข้อมูลว่าทางการพม่ามีแนวปฏิบัติจะไม่ส่งแรงงานชายไปทำงานต่างประเทศ หลัง 7 พฤษภาคม 2567 มีรายงานแจ้งว่า เฉพาะชายอายุ 23-31 ปี ไม่อนุญาตการเดินทาง
- ปัญหาที่พบในกลุ่ม MOU เช่น ปัญหาความล่าช้า การเปลี่ยนแปลงการดำเนินการ ทำให้ต้องพึ่งนายหน้า ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น, เงื่อนไขประเทศต้นทาง ,ขาดการคุ้มครองแรงงานกรณีมีการเรียกเก็บเงินที่ไม่ถูกต้อง
3. กลุ่มจ้างงานชายแดน ทำงานได้ครั้งละ 3 เดือน ต้องมี Border Pass รายปี ตอนนี้พม่ายังทำได้ยากมีปัญหาการสู้รบและต้องทำบัตรประชาชนใหม่
ข้อเสนอในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ
1. มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาหรือยุทธศาสตร์ในระยะยาว เพราะที่ผ่ามา มีการจัดการแรงงานข้ามชาติถึง 17 มติครม. ซึ่งเป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า ระยะสั้น ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชน
2. ระบบการจัดการที่ไม่สร้างภาระกับนายจ้างและแรงงาน โดยที่ผ่านมา ระบบไม่เอื้อกับแรงงานและนายจ้าง แต่เอื้อต่อนายหน้า เพิ่มภาระค่าใช้จ่าย
3. ควรมีการประสานกับประเทศต้นทางอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่เป็นการสร้างภาระในเรื่องการดำเนินการที่ล่าช้า เช่น การทำหนังสือเดินทางให้แรงงาน
4. ป้องกันแรงงานหลุดระบบ เนื่องจากกฎหมายมีการปฏิบัติที่ยุ่งยาก ทำให้แรงงานหลุดจากระบบมากขึ้น ในขณะที่ทางเลือกที่จะทำให้ถูกกฎหมายมีข้อจำกัด