มูลนิธิสถาบันอิสรา เข้าพบนายกสมาคมฯ

วันที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสมาคมฯ มูลนิธิสถาบันอิสรา โดย นายฮวาน ยูน ผู้อำนวยการสำนักงานประเทศไทย และคุณปรารถนา เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ได้ขอเข้าพบ คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมฯ และคุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ เพื่อแนะนำองค์กร และอภิปรายเสียงของแรงงานขับเคลื่อนในด้านการจ้างแรงงานอย่างมีจริยธรรม ในห่วงโซ่อุปทานในระดับสากลและความร่วมมือกัน โดยสรุป ดังนี้

1. สถาบันอิสราก่อตั้งปี 2557 เป็นองค์กรภาคเอกชน อิสระไม่แสวงหาผลกำไรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสหรัฐอเมริกา ทำงานเพื่อจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับผ่านเทคโนโลยี ความร่วมมือและนวัตกรรม โดยปัจจุบันมีเครือข่ายการทำงานหลายประเทศ เช่น ไทย,พม่า, กัมพูชา, ลาว, เนปาล, มาเลเซีย เป็นต้น และเริ่มมีการทำงานกับมองโกลเลีย,อินเดีย, ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดยวัตถุประสงค์ เพิ่มการมองเห็นความเสี่ยงด้านแรงงานและสังคมตลอดห่วงโซ่อุปทาน, ช่วยซัพพลายเออร์ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านแรงงานด้วยวิธีที่ช่วยปรับปรุงระบบธุรกิจ และช่วยเหลือ ส่งต่อผู้หางานและแรงงานที่ต้องการ

ทั้งนี้ทีมงานที่เกี่ยวข้องแบ่งเป็น 4 หน่วยงานคือ

Outreach & Empowerment ทีมให้ความรู้และเสริมศีกยภาพแก่แรงงานและผู้ที่กำลังหางาน

Business & Human Rights ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ซัพพลายเออร์ ผู้สรรหาจ้างแรงงาน และอุตสาหกรรมต่างๆ

Strategy & Global Partnerships พัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์ระดับโลก ผู้ค้าปลีก และผู้นำเข้า

Technology & Innovation การสร้างเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเสียงของแรงงานและห่วงโซ่อุปทานที่มีจริยธรรม

2. สถาบันอิสรามีความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ กับสมาชิกสมาคม เช่น บริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัทห้องเย็นโชติวัฒน์ หาดใหญ่ จำกัด (มหาชน) และบริษัทซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

3. สถาบันอิสราขอเชิญสมาคมฯ เข้าร่วมงาน Global Forum ซึ่งจะเป็นการจัดสัมมนาด้านแรงงานในเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมจากหลายประเทศ

4. สมาคมมีการสนับสนุนในด้านแรงงานกับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกมีการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ และส่งเสริมการดำเนินการแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) โดยเน้นในเรื่องสิทธิแรงงานกลุ่มเสี่ยงคือแรงงานข้ามชาติและแรงงานหญิง การมีส่วนร่วมของแรงงาน กลไกการร้องเรียนร้องทุกข์

5. มีการหารือในเรื่องที่ Zero Recruitment Fees Policy ซึ่งปัจจุบันได้รับความสนใจและมีความต้องการจากลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น โดยทางสมาคมฯ ขอให้มีการกำหนดนิยาม และขอบเขตในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ซื้อและผู้ขายการดำเนินการ Zero Recruitment Fees ปัญหาที่พบคือ มีการลงทุนค่าใช้จ่ายที่สูง, การที่นายจ้างดำเนินการออกค่าใช้จ่ายตามนโยบายดังกล่าว รับแรงงานมาทำงาน และแรงงานอยู่ไม่นาน มีการย้ายสถานที่ทำงานทั้งจากเหตุผลต้องการรายได้ที่มากขึ้น (โรงงานอื่นมีค่าล่วงเวลาการทำงานมากกว่าที่เก่า) สมัครงานเพื่อให้ได้มาทำงานในประเทศไทยก่อน และย้ายออกตามการชักชวนจากญาติ พี่น้องเพื่อไปทำงานด้วยกัน สิ่งที่ฝ่ายนายจ้างต้องการคือความชัดเจนในระเบียบ เช่น หากมีการย้ายงานไปที่ใหม่, แรงงานที่เข้ามา MOU มีระยะเวลาการทำงาน แต่อยู่ไม่ครบมีการย้ายไปทำงานที่ใหม่ จะมีระเบียบสำหรับค่าใช้จ่ายที่นายจ้างเดิมได้ออกค่าใช้ไปก่อนแล้วหรือไม่ อย่างไร ซึ่งต้องมีการหารือร่วมกัน

6. สมาคมสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาคประชาสังคม ทั้งนี้ในประเด็นปัญหาด้านแรงงานต่างๆ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน มีเพียงส่วนน้อยที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมาย ซึ่งอยากให้มีการประชาสัมพันธ์ ไม่เป็นการเหมารวมว่าปัญหาที่พบเป็นปัญหาของทั้งอุตสาหกรรม


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association