การสรรหางานสำหรับนายจ้างและผู้รับอนุญาตจัดหางานให้แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลแปรรูป

หน่วยงาน IOM นำโดยคุณเอวี แวน อุเดน และทีมงาน ได้ขอเข้าพบคุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และคุณอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ ที่ปรึกษาด้านแรงงานสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย เพื่อขอคำแนะนำสำหรับงานวิจัยของทาง IOM เรื่อง “การสรรหางานสำหรับนายจ้างและผู้รับอนุญาตจัดหางานให้แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลแปรรูป” โดยได้งบประมาณจาก EU ในโครงการ Ship To Shore Right South East Asia

โดยงานวิจัยจะเป็นการศึกษาประเมินกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงานข้ามชาติ พม่า และกัมพูชาโดยเป็นแรงงานนอกระบบในสถานประกอบการแปรรูปอาหารทะเลขั้นก่อนและขั้นต้น (pre-and primary) ในประเทศไทย ซึ่งในการวิจัยขอเรียกว่า Lowest tiers มีการสัมภาษณ์แรงงานกว่า 200 คน ในสถานปฏิบัติงาน 4 ประเภท คือ โรงงาน SME, การปฏิบัติงานบนท่าเรือ (Pier-based operations), อู่แปรรูป (Processing garages) และสถานที่ทำงานที่เป็นบ้าน (Homebased workplace)



สรุประเด็นที่ประชุม ดังนี้

1. การศึกษาจากการพรีเซน IOM เก็บข้อมูลว่า ปัจจุบันแรงงานข้ามชาติมีอยู่ 3.9 ล้านคน เป็นแรงงานในภาคประมงและแปรรูปประมาณ 300,000 คนจากประเทศกัมพูชาและพม่า คิดเป็น 10% ซึ่งคุณวิบูลย์ขอให้มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนแรงงานนอกระบบ (Lowest tiers) ที่พบในไทย จาก 300,000 คน มีจำนวนกี่คน หรือในแต่ละพื้นที่มีจำนวนกี่ %

2. ขอให้มีคำจำกัดความของนิยามใน 4 ประเภทงานที่จะทำการศึกษาให้ชัดเจน โดยที่ประชุมให้ข้อคิดเห็น

- โรงงาน SME มีคำนิยามอยู่แล้วในส่วนกฎหมายคือมีแรงงานน้อยกว่า 200 คน แต่ในการนำเสนอข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็น SME ที่ทำกิจการขายสินค้าภายในประเทศ หรือทำในห้องเช่า เช่น กุ้งส่งภัคตาคาร, ปลาแห้ง ซึ่งหากนิยามเป็นโรงงาน SME จะทับซ้อนกับโรงงานที่มีขนาดคนงานตามนิยาม แต่เป็นโรงงานที่ผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งจะมีมาตรฐานทั้งเรื่องสุขลักษณะ และแรงงานแตกต่างกัน ทำให้เกิดการเข้าใจผิดหากมีการเผยแพร่ออกไป ขอให้ทางผู้วิจัยมีการศึกษาและแก้ไขในประเด็นดังกล่าว



3. การปฏิบัติงานบนท่าเรือ (Pier-based operations), อู่แปรรูป (Processing garages) จากพรีเซน คือในส่วนแรงงานที่แพปลา ทำการคัดขนาด และสถานแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น (ล้ง) ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 ส่วน โรงงานสมาชิกของทั้ง 2 สมาคมไม่ได้มีการใช้ในส่วนดังกล่าว โดยอดีตการแปรรูปกุ้งมีการใช้ล้ง แต่เมื่อมีประเด็นด้านแรงงาน IUU ทำให้ในปี 2558 TFFA ได้ประกาศยกเลิกการใช้ล้ง และกระบวนการต่างๆ ในการผลิตจะนำเข้ามาทำในโรงงานทั้งหมด

4. คุณวิบูลย์ชี้แจงว่า การแก้ไขปัญหาแรงงานนอกระบบนั้น ทำได้ยากหากแรงงานยังอยู่นอกระบบ การเข้าถึงกระบวนการของภาครัฐ เช่น การรักษาพยาบาล ประกันสังคม การร้องเรียนการเยียวยาต่างๆ ดังนั้นคือต้องให้แรงงานนอกระบบ ขึ้นมาอยู่ในระบบก่อน เช่น กรณีช่วงโควิด 19 แรงงานพม่าเดินมีความกังวลการระบาด จึงเดินทางกลับบ้าน และการกลับมาทำงานในไทย ประเทศไทยจึงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างมาก ภาครัฐจึงมีการแก้ไขโดยเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานพม่าผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้มาขึ้นทะเบียนและทำงานได้ในไทย ซึ่งในช่วงนั้นหากแรงงาน Lowest tiers รับทราบข่าวสาร ก็จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย และการเข้าถึงระบบต่างๆ จะสามารถกระทำได้เหมือนแรงงานไทย
สรุป จากประเด็นแรงงานนอกระบบ การแก้ไขการเข้าถึงระบบและสวัสดิการต่างๆ เราต้องแก้ไขที่ต้นเหตุคือต้องทำให้แรงงานถูกกฎหมายก่อน ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้แรงงานทราบข้อมูลต่างๆ สร้างความตระหนักรู้ และลดขี้นตอนในการดำเนินการต่างๆ ให้สะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง

ทั้งนี้ในประเด็นต่างๆ ผู้วิจัยจะได้นำกลับไปปรับปรุงและแก้ไขต่อไป


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association