CLMVT Forum 2023 Reshaping Supply Chains for Sustainability &Carbon Reduction

วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ทางระบบการประชุม Zoom Online Meeting

สมาคมฯ โดยคุณวศิน วงศ์เจริญรัตน์ กรรมการสมาคมฯ พร้อมด้วยนายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการสัมมนา CLMVT Forum 2023 Reshaping Supply Chains for Sustainability &Carbon Reduction โดยมีสาระสำคัญจากสัมมนา ดังนี้

1. การสัมมนาในครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดทำโครงการ CLMVT Forum เสริมสร้างการค้าและความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรม

2. คณะผู้จัดทำโครงการฯ ได้ทำการศึกษาแนวทาง/มาตรการการลดคาร์บอนใน 3 กลุ่มประเทศหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็น 3 ประเทศที่มีการจัดทำมาตรการ/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องบ้างแล้วและมีเป้าหมายในการลดคาร์บอนที่ชัดเจน แบ่งเป็น

- สหภาพยุโรป : ได้มีการเตรียมใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าเริ่มแจ้งข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยนำร่องในกลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ เหล็กกล้า, อลูมิเนียม, ซีเมนต์, ปุ๋ย, ไฟฟ้า และไฮโดรเจน

- สหรัฐฯ : ทำงานอย่างแข็งขันในการสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบที่มุ่งส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตามกรอบ Green New Deal policy framework

- ญี่ปุ่น : ได้นำเสนอ "ยุทธศาสตร์ระบบอาหารยั่งยืนของญี่ปุ่น (Japan's Sustainable Food Systems Strategy) หรือ MeaDRI” ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นอกจากนี้ คณะผู้จัดทำโครงการฯ ยังได้เน้นการเก็บข้อมูลแนวทาง/มาตรการในการลดคาร์บอนในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร, กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง และได้สัมภาษณ์เก็บข้อมูลใน 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, ลำพูน และนครราชสีมา

3. ผลการศึกษาข้อมูล มีดังนี้

- แนวทาง/มาตรการของกลุ่มประเทศหลัก ได้แก่

สหภาพยุโรป : ประกาศใช้มาตรการ EU Green Deal เพื่อลดการปล่อย CO2 ลง 55% ภายในปี 2030, การประกาศใช้ Packaging and Packaging Waste Directive (PPWD) และ Single-use Plastics Directive (SUPD)

สหรัฐฯ : ประกาศมาตรการ New Green Deal โดยมีเป้าหมายลด Green House Effect 40% ภายในปี 2030 และประกาศใช้ Forest Act ในปี 2021 รวมถึงร่าง (Draft) Break Free from Plastic Pollution Act

ญี่ปุ่น : ประกาศใช้มาตรการ Reduce Carbon Policy โดยมีเป้าหมายลด Green House Gas (GHG) 46% ภายในปี 2030 (เทียบกับปี 2013) และมีแผนที่จะประกาศใช้ Environmentally Friendly Policy โดยจะนำร่องกับอุตสาหกรรมใหม่ 14 อุตสาหกรรม รวมถึงประกาศใช้ Law for Promotion of Sorted Collection and Recycling of Containers andPackaging 1995 and Plastic Resource Circulation Act 2022

สำหรับในกลุ่มประเทศ CLMV ยังไม่มีการประกาศใช้มาตรการ/ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศ CLMV เริ่มมีการร่างระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง เช่น การขอการรับรองมาตรฐาน ISO 14001:2015, การประกาศ Climate Change Master Plan ของประเทศ เป็นต้น

- ผลการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลผู้ประกอบการ มีดังนี้

ยุทธศาสตร์ปัจจุบันของกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยประกอบด้วยแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) แผนเหล่านี้ดำเนินการภายใต้กรอบ เช่น อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (ACMECS) ประเทศไทยมีบทบาทนำโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเมียนมาร์ ลาว ไทย และเวียดนาม

การตรวจสอบการดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถลดการสูญเสียอาหารและของเสียได้ นอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่มาตรการประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานอีกด้วย

การศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การติดตั้งหลังคาโซลาร์รูฟและการนำระบบ Reverse Logistic ไปใช้ สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานและส่งเสริมการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้

มีโอกาสที่จะขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ที่มีการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินมาตรการเหล่านี้ล่วงหน้า

ความซับซ้อนในการรวบรวมข้อมูลและการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอน

การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยเพิ่มต้นทุนการดำเนินงานให้กับธุรกิจ

มีนโยบายที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ ทำให้เกิดการรับรู้ในหมู่เจ้าของธุรกิจว่า การเปลี่ยนไปใช้ห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะทำให้เกิดภาระต้นทุนที่สูงขึ้น
เกษตรกรรายย่อยและเจ้าของธุรกิจลังเลที่จะปรับตัวเข้ากับวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาจยังไม่เห็นประโยชน์ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ตระหนักถึงคุณค่าของมาตรฐานสิ่งแวดล้อม

จำเป็นต้องมีการวิจัยเพื่อระบุเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจ นอกจากนี้ การฝึกอบรมพนักงานภายในถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรับรองความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ซึ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) ไม่ได้เน้นการส่งออก แต่เน้นการค้าภายในประเทศเป็นหลัก สิ่งนี้ขัดขวางธุรกิจต่างๆ จากการเปลี่ยนไปใช้ห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4.สำหรับในช่วงบ่าย เป็นการรวบรวมข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีข้อคิดเห้นจากที่ประชุม ดังนี้
ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเกษตรกร ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินการในเรื่องขอการลดงคาร์บอน ส่งผลให้การลดคาร์บอนในประเทศไทยเป้นไปอย่างช้าๆ ดังนั้น การจัดการอบรมให้ความรู้ในเรื่องนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

กฎหมายของภาครัฐในไทยยังไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (ยังไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพที่แน่นอนที่จะมาตั้งเป้าหมายในการลดคาร์บอน)

การดำเนินการลดคาร์บอนของผู้ประกอบการมีต้นทุนในหลายๆ ด้าน ซึ่งอาจเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และเกษตรกร

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การดำเนินการของผู้ประกอบการบางรายมาจาก Market Drive เพื่อให้ยังคงสามารถส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศที่ให้ความสนใจในเรื่องการลดคาร์บอนได้ และเป็นสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเท่านั้น ดังนั้น หากภาครัฐต้องการให้ผู้ประกอบการหันมาสนใจในเรื่องนี้ ควรให้การสนับสนุนกับผู้ประกอบการในเรื่องนี้


หากต้องการให้กลุ่มประเทศ CLMV มีการขับเคลื่อนในประเด็นนี้ร่วมกัน ควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าร่วมกัน โดยอาจมีประเทศไทยและเวียดนามเป็นประเทศหลักในการให้ข้อมูล เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินการเรื่องการลดคาร์บอนมากกว่าลาวและเมียนมาร์


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association