ประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ครั้งที่ 1/2567

วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 09.30-13.00 น. ณ ห้องประชุม 351 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

สมาคมฯ โดย นายประมุข ตะเคียนคาม ผู้จัดการฝ่ายบริการข้อมูลวิชาการ เข้าร่วมการประชุม คณะอนุกรรมการว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ครั้งที่ 1/2567 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้

1. ที่ประชุมรับทราบว่า องค์การการค้าโลก (WTO) กำหนดจัดการประชุม SPS Committee สมัยสามัญ ครั้งที่ 88 ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส จึงได้เชิญคณะอนุกรรมการฯ เพื่อจัดทำท่าทีประเทศไทยสำหรับการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

2. ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ครั้งที่ 3/2566

3. เรื่องเพื่อทราบและพิจารณา โดยทาง มกอช.ได้เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการฯ (SPS Committee) ครั้งที่ 87 ระหว่างวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสมาคมฯ ดังนี้

การหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้า

ไทย-รัสเซีย -> ผู้แทนไทยขอสอบถามความคืบหน้า 2 ประเด็น ดังนี้

(1) การขึ้นทะเบียนโรงงานใหม่สําหรับอาหารสัตว์เลี้ยงจํานวน 10 โรงงาน และการขึ้นทะเบียนโรงงานใหม่สําหรับอาหารประมงแปรรูปจํานวน 24 โรงงาน และ

(2) การยกเลิกการระงับการนําเข้าชั่วคราวของโรงงานอาหารสัตว์เลี้ยง (VCN36) และโรงงานอาหารประมงแปรรูปของไทยจํานวน 6 โรงงาน

ผู้แทนรัสเซียแจ้งว่า มีแผนจะเดินทางมาตรวจโรงงานอาหารสัตว์เลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนและโรงงาน VCN36 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ในส่วนของโรงงานอาหารประมงแปรรูปขอให้กรมประมงจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับโรงงานที่ถูกระงับนําเข้าชั่วคราว โดยสมาคมฯ ได้สอบถามกรมประมงว่า ความคืบหน้าในประเด็นการขึ้นทะเบียนโรงงานเป็นอย่างไร ซึ่งกรมประมงแจ้งว่า ได้จัดส่งข้อมูลให้กับรัสเซียแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 และทางรัสเซียรับว่า จะพิจารณาโรงงานอาหารประมงแปรรูปของไทยจํานวน 6 โรงงานที่ถูกระงับการนำเข้าชั่วคราวก่อน ส่วนการขึ้นทะเบียนโรงงานใหม่สําหรับอาหารประมงแปรรูปจํานวน 24 โรงงานจะพิจารณาภายหลัง

ไทย-จีน -> ผู้ตามที่จีนได้กําหนดปริมาณฟอสเฟตที่อนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องโดยต้องไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ํากว่าค่ามาตรฐาน อย. ไทย และโคเด็กซ์) ผู้แทนไทยแสดงความกังวลของผู้ส่งออกไทย เนื่องจากฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติที่สามารถตรวจพบได้ในปลาทูน่า โดยไทยยืนยันว่าไม่มีการใช้ฟอสเฟตในผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋อง ผู้แทนจีนชี้แจงว่า ค่ามาตรฐานดังกล่าวเป็นการกําหนดค่าฟอสเฟตที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ไม่รวมค่าฟอสเฟตที่มีอยู่ตามธรรมชาติของวัตถุดิบ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถประสานงานกลางด้าน SPS ของจีนได้โดยตรงหากปัญหาเนื่องจากมาตรฐานดังกล่าว

ข้อกังวลทางการค้าของประเทศสมาชิก WTO

มาตรการ SPS ของอินเดีย มี 2 ประเด็นสําคัญ

1) การกําหนดแนบใบรับรอง Health Certificate (HC) สําหรับการนําเข้าสินค้านม เนื้อหมูปลา และผลิตภัณฑ์ของอินเดีย สหภาพยุโรปได้หยิบยกเป็นครั้งที่ 4 โดยขอให้อินเดีย

(1) ยกเลิกข้อกําหนดที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านความปลอดภัยอาหารและด้านสุขภาพสัตว์ในใบ HC สําหรับการนําเข้าสินค้าดังกล่าวออก และ

(2) ขอทราบขอบเขตของสินค้าที่ต้องตรวจประเมินที่ประเทศผู้ส่งออกอินเดียชี้แจงว่าใบ HC รูปแบบใหม่เป็นการรวมการรับรองด้านสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยอาหารในฉบับเดียวบังคับใช้ในสินค้านมและผลิตภัณฑ์ก่อนเป็นอันดับแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป และ

2) ข้อกําหนดเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตอาหารในต่างประเทศ สหภาพยุโรปได้หยิบยกเป็นครั้งที่ 5 โดยมีญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมสนับสนุน โดยขอให้อินเดีย

(1) ขอให้จัดทําแนวทางการปรับปรุงรายชื่อโรงงานผู้ผลิตอาหารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน

(2) แสดงข้อมูลการประเมินความเสี่ยง

(3) ระบุรายการสินค้าที่อินเดียต้องไปตรวจประเมินโรงงานที่ประเทศผู้ส่งออก

(4) ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ ซึ่งอินเดียชี้แจงว่า (1) มาตรการดังกล่าวเป็นข้อกําหนดตามกฎหมายด้านความปลอดภัยอาหาร บังคับใช้เฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง 5 รายการ และ (2) เลื่อนการบังคับใช้มาตรการออกไปถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 โดย CA ของประเทศผู้ส่งออกต้องจัดส่งรายชื่อโรงงานผู้ผลิตอาหารให้อินเดียตามช่องทางที่กําหนด

การเพิ่มค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนําเข้าซากสัตว์ของกรมปศุสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ได้เปิดประชาพิจารณ์ร่างกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ... เกี่ยวกับการปรับแก้ค่าธรรมเนียมในข้อ 1 ลําดับ 8 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559 ในรายการ “ใบอนุญาตนําซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร” ดังนี้

(ก) ซากสัตว์เพื่อการบริโภคของคนหรือสัตว์ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมเป็นกิโลกรัมละ 14 บาท จากเดิมกิโลกรัมละ 7 บาท

(ข) ซากสัตว์ที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภค ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมเป็นกิโลกรัมละ 4 บาท จากเดิมกิโลกรัมละ 3 บาท

ทั้งนี้ สหภาพยุโรปให้ข้อคิดเห็นว่า การเพิ่มค่าธรรมเนียมนําเข้าซากสัตว์ 100% จะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าจากสหภาพยุโรปอย่างมากพร้อมสอบถามหลักการและสาเหตุในการปรับปรุงค่าธรรมเนียมและข้อมูลกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากเกษตรกรภายในประเทศว่า มีการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันหรือไม่

นอกจากนี้ บราซิลได้แสดงความกังวลและขอให้ไทยชี้แจงว่า ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินค้านําเข้ามีความเท่าเทียมกับค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินค้าในประเทศประเภทเดียวกันหรือไม่และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากสินค้านําเข้านี้จะไม่สูงเกินกว่าต้นทุนการให้บริการจริงตามที่ระบุในบทบัญญัติข้อ f ภาคผนวก C ของ SPS Agreement ซึ่งระบุว่า “(f) any fees imposed for the procedures on imported products are equitable in relation to any fees charged on like domestic products or products originating in any other Member and should be no higher than the actual cost of the service.”

ทั้งนี้ ที่ประชุมเสนอให้กรมปศุสัตว์จัดเตรียมข้อมูล หลักการและเหตุผลเพิ่มเติม เพื่อชี้แจงให้กับประเทศคู่ค้ากรณีประเทศคู่ค้าขอหารือทวิภาคีในประเด็นดังกล่าว


ตามมติที่ประชุมเตรียมการ SPS Committee ครั้งที่ 88 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ขอความอนุเคราะห์กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมงจัดทําข้อมูลความคืบหน้าประเด็นคงค้างการขอเปิดตลาดและปัญหาการค้าสินค้าเกษตรและอาหารอื่นๆ ซึ่งอาจมีประเทศคู่ค้าหยิบยกขึ้นหารือเพิ่มเติมในการประชุม SPS Committee ครั้งที่ 88 และขอให้จัดส่งข้อมูลให้ มกอช. รวบรวม ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นั้น ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รับข้อมูลความคืบหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตรแล้ว และขอให้กรมปศุสัตว์พิจารณาจัดส่งข้อมูลความคืบหน้าประเด็นคงค้างการขอเปิดตลาดและปัญหาการค้าสินค้าเกษตรและอาหารอื่นๆ ให้ มกอช. ภายในวันที่ 8 มีนาคม 2567

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association