โครงการศึกษา ความเหมาะสมในการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์/ มาตรการจูงใจ เพื่อสนับสนุน และขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

13 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดย คุณเสาวนีย์ คำแฝง(ผู้อำนวยการสมาคมฯ) และคุณวาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) สาขา เกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นโครงการศึกษา ความเหมาะสมในการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์/ มาตรการจูงใจ เพื่อสนับสนุน และขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม(สผ.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง จัดทำแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ.2561-2580 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) โดยมีกรอบแนวคิดการศึกษาการผลิตที่ยั่งยืนด้วยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ หรือ BCG ได้แก่ Bio Economy, Circular Economy, Green Economy เพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(GHG Emissions) และลดการปล่อย Carbon footprint และทำให้กระบวนการผลิตสะอาด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบันหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญ เรื่อง Climate Change และมีนโยบายเกี่ยวกับ Climate Change ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าของผู้ส่งออกของไทย ทำให้ยอดการส่งออกไปยังกลุ่มดังกล่าวลดลง และเป็นความท้าทายของภาคเอกชน และภาครัฐที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมการรับมือกับนโยบายและมาตรการ Climate Change

ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโลก ปี 2020 แบ่งตามภาคอุตสาหกรรม ดังนี้ การขนส่ง 23.2 % , เชื้อเพลิง(การปล่อยไอเสีย) 1.8 %, ครัวเรือน การค้า สถาบัน และอื่นๆ 15.4% , การเผาไหม้เชื้อเพลิง 74 %, อุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง 12.1%, อุตสาหกรรมพลังงาน 23.3 % และ อื่นๆ 24.2 % (กระบวนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ 9.4 %, เกษตรกรรม 11.4 % ,การจัดการของเสีย 3.3 %)

• ตัวอย่างกรอบแนวคิดประเด็นทางลบจากการผลิต (ปศุสัตว์) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/ การเสื่อมของดิน/ มลพิษทางน้ำและอากาศ/ การเสื่อมของความหลากหลายทางชีวภาพ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ CO2 สูงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนแปรปรวน

• ความยั่งยืนในมิติของผู้บริโภค ลูกค้าให้ความสำคัญในด้านความเชื่อมั่น คุณภาพสินค้า และราคา

ที่ประชุม ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนีที่ประชุม ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้

• สินค้าประมงส่งออกของไทย ได้รับมาตรฐานสากล เช่น BRC MSC และสามารถตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าได้ถึงต้นน้ำ สำหรับสินค้าสัตว์น้ำที่จับจากทะเลของไทย หลังจากที่ไทยได้แก้ไขกฎหมาย และได้ปฏิบัติให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของ IUU ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินค้าประมงไทยมีการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ และเรือประมงตามหลักสากล เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสัตว์น้ำไทย

รวมถึง ประเทศคู่ค้าหลัก เช่น USA Japan และ EU ได้ออกกฎหมายการควบคุมการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ของแต่ละประเทศ เพื่อบังคับใช้กับสินค้าประมงที่จับจากธรรมชาติ ทำให้ต้องติดตามระเบียบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

• ล่าสุด EU ออกนโยบาย European Green Deal ซึ่งให้ความสำคัญเรื่อง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เหลือเพียงร้อยละ 55 ภายในปี 2573 และตั้งเป้าเป็นเศรษฐกิจปลอดคาร์บอนภายในปี 2593 ซึ่งสหภาพยุโรปอาจออกมาตราการจัดเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (สินค้าต่างประเทศต้องจ่ายต้นทุนในการปล่อยก๊าซคาร์บอน) กับภาคเอกชนในอนาคต ประเด็นนี้สมาคมฯ อยู่ระหว่างหารือกับผู้ส่งออก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัว และหารือกับทางผู้นำเข้าต่อไป

• สัตว์น้ำเพาะเลี้ยงโดยเฉพาะกุ้ง เกษตรกร(รายย่อย) ต้องการแรงจูงใจด้านราคา หากราคาดี เกษตรลงกุ้งเยอะ ผลผลิตเพียงพอต่อการส่งออก แต่หากราคาไม่คุ้มทุน เกษตรกรจะชะลอการเลี้ยง ทำให้กุ้งขาดแคลนในบางช่วง ผู้ส่งออกจึงจำเป็นต้องพึ่งการนำเข้ากุ้งต่างประเทศ เพื่อถัวเฉลี่ยราคา และสามารถประคองราคาในประเทศไม่ให้ตกต่ำ

• การจำกัดพื้นที่การเลี้ยง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขยายพื้นที่เลี้ยงเพิ่มได้ หากมีแนวทาง หรือสามารถชดเชยได้ ด้วยการปลูกป่าชายเลนทดแทน หรือปลูกต้นไม้ในพื้นที่เลี้ยงกุ้ง(ฟาร์ม) ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศได้ และช่วยเพิ่มผลผลิตกุ้งไทย

• ภาครัฐควรแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับปัจจุบัน และมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนเงินทุนหรือสินเชื่อให้กับเกษตรกร สำหรับการ reinvestment รวมถึง การค้ำประกันกสิกรรม และการเพาะเลี้ยง ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

• การเปลี่ยนแปลงหรือปรับกระบวนการผลิตในทุกขั้นนตอนให้เกิด waste น้อยที่สุด มีต้นทุนต่ำ และได้สินค้าที่มีคุณภาพ ต้องสร้างแรงจูงใจในการขับเคลื่อนตลอด Supply chain


• สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สวก. สนับสนุนสินค้าเกษตรมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมการทำ contract farming สินค้าเกษตร เพื่อให้มีผลผลิตที่เพียงพอต่อการแปรรูป อาทิ หากส่งเสริมสินค้า Plant Based แต่วัตถุดิบในการทำสินค้า Plant Based ไม่เพียงพอจะต้องพึ่งพาการนำเข้า ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association