30 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-17.00 น. ทางระบบการประชุม Zoom Online Meeting

เรียน สมาชิกสมาคมฯ


วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-17.00 น. ทางระบบการประชุม Zoom Online Meeting


สมาคมฯ โดย คุณอนุชา เตชะนิธิสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย ครั้งที่ 3/2565 โดยมีสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้


1)ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565


2)ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยความก้าวหน้าการดำเนินการกรมประมงจัดทำรายงานการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Trans – Pacific Partnership : CPTPP) และได้นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมที่เกี่ยวข้องแล้ว จำนวน 4 คณะ และได้มอบหมายให้กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมงศึกษาเพิ่มเติม ในประเด็น ที่รวบรวมได้จากการประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ 4 คณะ ได้แก่ การค้าสินค้าประมงกับประเทศที่ไทยมี FTA แล้ว, แนวโน้มการค้ากับกลุ่ม CPTPP ในช่วง 5 ปี 2560 – 2564,  ผลกระทบทางบวก / ทางลบต่อสินค้าประมงหากประเทศไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP, การดำเนินการของกรมประมง เพื่อรองรับข้อบท SPS และข้อบทสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการประมงในความตกลง CPTPP (การจับสัตว์ทะเล และการอุดหนุนประมง)


3)ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานภายใต้คำสั่งคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย โดยมีประเด็นสำคัญและเกี่ยวข้องกับสมาคมฯ ดังนี้


- ความก้าวหน้าการดำเนินงานกำหนดมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กตามมาตรา57 และมาตรา 71(2) กรมประมงได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นการกำหนดมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กผ่านระบบออนไลน์ ZOOM cloud Meetings ซึ่งชนิดสัตว์น้ำที่จะใช้ในการนำร่องกำหนดมาตรการ ได้แก่ ปลาทู-ลัง และ ปูม้า ขนาดความยาวที่จะใช้ในการกำหนดการห้ามนำสัตว์น้ำขนาดเล็กนำขึ้นเรือประมง คือ ปลาทู-ลัง 12 เซนติเมตร และ ปูม้า 6 เซนติเมตร และกำหนดร้อยละของสัตว์น้ำขนาดเล็กที่จะใช้ในการกำหนดในการจับได้ไม่เกินร้อยละ 10 ล่าสุด กรมประมงกำหนดจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2565 


- การช่วยเหลือด้านการตลาดกุ้งก้ามกราม กรณีตรวจพบสารไนโตรฟูแรนส์ ชนิด เซมิคาร์บาไซด์ โดยกรมประมงได้นำเสนอประเด็นเรื่องการตรวจพบ SEM ในกุ้งก้ามกรามในการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (COFI Sub-Committee on Aquaculture) จัดโดยองค์การอาหาร

และเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยกรมประมงขอให้ FAO กำหนดวิธีการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง รวมทั้งเทคนิคต่าง ๆ ในการตรวจสอบสารไนโตรฟูแรนส์เพื่อพิสูจน์ว่าการตรวจพบไนโตรฟูแรนส์มาจากการใช้สารไนโตรฟูแรนส์จริง และ FAO มีการบรรจุประเด็นในรายงานการประชุมแล้วซึ่งประเทศไทยจะมีการติดตามต่อไป 


- ความคืบหน้าการฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้ได้ผลผลิต 4 แสนตัน ภายในปี 2566 โดยได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งทะเล ระดับพื้นที่รวมจำนวน 75 ครั้ง ในพื้นที่ทั้ง 35 จังหวัด เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนการวางแผนการดำเนินการต่อไป


- แนวทางแก้ไขปัญหาการนำเข้าปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซีย กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้จัดประชุมแก้ไขปัญหาการนำเข้าปลากะพงขาวจากประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรมประมง โดยมีนายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมงเป็นประธานการประชุมฯ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและเตรียมการสำหรับประชุมหารือการกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าสัตว์น้ำนำเข้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายในประเทศ ร่วมกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยใช้ปลากะพงขาวเป็นต้นแบบในการ

ดำเนินการ และจะมีสัตว์น้ำอีก 2 ที่จะมาใช่ในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วย ได้แก่ กุ้งก้ามกราม และปลาช่อน


- การรับรองการปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก โดยกรมประมงได้ออกหนังสือรับรองการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก จำนวน 262 ฉบับ โดยออกให้โรงงานผลิตสินค้าสัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง จำนวน 128 ฉบับ โรงงานผลิตสินค้าสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง จำนวน 36 ฉบับ โรงงานผลิตสินค้าพื้นเมือง จำนวน 84 ฉบับ สถานบรรจุสัตว์น้ำ จำนวน 13 ฉบับ และห้องเย็นรับฝาก จำนวน 1 ฉบับ


- โครงการปรับปรุงการทำการประมงอวนลากอย่างยั่งยืน (กรณีศึกษาพื้นที่อ่าวไทย) โดยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 คณะทำงานพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย (Thai Sustainable Fisheries Rounable – TSFR) ได้จัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทำประมงอวนลากในพื้นที่อ่าวไทยสู่ความยั่งยืนในการเข้าสู่มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ผู้แทน TSFR จะได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการ และเมื่อทุกภาคส่วนเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาการประมง (Fishery Action Plan; FAP) ก็นำเสนอให้ MarinTrust พิจารณาต่อไป


3กำหนดการจัดประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยครั้งต่อไป ในวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ด้วยระบบประชุมทางไกลออนไลน์ หรือห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association