คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมฯ ได้เข้าร่วมประชุม KTEPA โดยการประชุมรับฟังความเห็นสำหรับการประชุมคณะทำงานว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเกาหลี (Korea-Thailand Economic Partnership Agreement: (KTEPA) ครั้งที่ 1 เมื่อเช้าวันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2567 ผ่านระบบออนไลน์ ก.พาณิชย์ สรุปดังนี้
การเจรจา Korea-Thailand Economic Partnership Agreement: (KTEPA) ครั้งแรก จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2567 โดยมีคณะทำงานกลุ่มสินค้า เป็นหนึ่งใน 13 คณะที่จะนำเข้าเจรจา
คาดว่าผลการเจรจาจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี พ.ศ. 2568 หรือต้นปี พ.ศ. 2569
ประเทศเกาหลีมีศักยภาพทางการค้าสำคัญกับไทยใน ลำดับที่ 12
การหารือในกลุ่มสินค้าประมง ผู้แทนจากหอการค้าไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และสมาคมกุ้งไทย ได้เสนอข้อมูลต่อกรมเจรจาการค้าในประเด็น
สินค้ากุ้งสด กุ้งแปรรูป มีข้อจำกัดการนำเข้าตลาดเกาหลีในเรื่องของอัตราภาษีสูงร้อยละ 20
เกาหลีจำกัดโควต้าการนำสินค้าเข้าประเทศ ภาษีเป็นศูนย์ สำหรับสินค้าที่เป็นรายการ Sensitive List (กุ้งสดปริมาณ 5,000 ตัน /กุ้งแปรรูป 20,000 ตัน)
สินค้าหมึกกล้วย และกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ และมีการกำหนดโควต้านำเข้า
สินค้าปลาดาบ มีความต้องการของผู้บริโภคในประเทศเกาหลี
สินค้าทูน่า ไทยนำเข้าจากเกาหลีปริมาณมาก ในอัตราภาษีศูนย์ หากแต่ผลิตส่งออกไปยังเกาหลีจะถูกเรียกเก็บภาษีที่ร้อยละ 20
เปรียบเทียบสัดส่วนการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมง ไทยนำเข้าปลาทูน่าจากเกาหลีในปริมาณมาก หากแต่ ตลาดเกาหลีนำเข้าสินค้าไทยในมีปริมาณน้อยเนื่องจากปัญหาการกำหนดโควต้า และอัตราภาษี ดังนั้น จึงควรเจรจา ผลักดันการยอมรับสินค้าประมงไทย
ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประมงไทยส่งเข้าไปจำหน่ายยัง เกาเหลีต้องได้รับการขึ้นทะเบียนและตรวจรับรองการนำเข้า โดยมีกรมประมงไทยเป็น CA
ข้อกำหนดด้านสุขอนามัยมีความเข้มงวดในแต่ละรายการ ซึ่งถูกกำหนดโดยหน่วยงาน Ministry of Food Agriculture Forestry and Fishery (MFFAFF) และหน่วยงาน Korea Food and Drug Administration (KFDA)
เนื่องจากกาหลีกำหนดรายการสินค้า HS Code ไว้ 10 หลัก สินค้าไทยกำหนด 8 หลัก เพื่อความเข้าใจตรงกัน และข้อมูลถูกต้องเพื่อเตรียมเจรจา กระทรวงพาณิชน์ จะจัดส่ง HS Code ให้กับเอกชนและมีการหารือเป็นระยะๆ ร่วมกัน