วันที่ 6 สิงหาคม 2567 สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) จัดสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี สำหรับสถานประกอบการผลิตเกลือทะเล ณ โรงแรมไอธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดเพชรบุรี และผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings โดยมีคุณประพันธ์ ลีปายะคุณ (รองอธิบดีกรมประมง) เป็นประธาน สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดย ดร.นันทิยา อุ่นประเสริฐ(ที่ปรึกษาสมาคมฯ) และนางสาววาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าร่วมรับฟัง และให้ข้อคิดเห็น ต่อร่างมาตรฐานดังกล่าวฯ ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings สรุปดังนี้
มกอช. จัดสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อร่าง มกษ. เรื่องการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีสำหรับสถานประกอบการผลิตเกลือทะเล เพื่อนำข้อคิดเห็นมาพิจารณาและปรับปรุงร่างมาตรฐานดังกล่าวฯ ให้มีความถูกต้อง สอดคล้องตามแนวปฏิบัติและเป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการาตรฐานสินค้าเกษตร พิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีฯ ประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป
ที่มา : ร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี สำหรับสถานประกอบการผลิตเกลือทะเลเกลือทะเลมีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอื่นๆ
ทั้งนี้ เกลือที่จำหน่ายในท้องตลาด มีทั้งที่ผลิตจากในประเทศ และนำเข้า ทั้งเกลือทะเล และเกลือสินเธาว์ที่ต้องเติมสารไอโอดีน แต่ยังไม่มีการจัดทำมาตรฐานสำหรับเกลือทะเล ที่มีไอโอโอดีนเป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2554 เห็นชอบให้ การทำนาเกลือเป็นเกษตรกรรม และผู้ทำนาเกลือเป็นเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เกลือทะเลธรรมชาติ
(มกษ. 8402-2562) และ มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการทำนาเกลือทะเล (มกษ. 9055-2562) แต่ยังไม่ครอบคลุมการปฏิบัติ หลังจากเกลือทะเลธรรมชาติ ออกจากนาเกลือทะเลไปถึงผู้บริโภค
ดังนั้น เพื่อให้มีมาตรฐานครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิต คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงได้มีมติเห็นควรจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี สำหรับการผลิตเกลือทะเล โดยคณะกรรมการฯ ได้นำ Guidelines ของ CXC 1-1969 (Revised in 2020) General Principle of Food Hygiene. และมกษ. 9023-2564. หลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะอาหาร; การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติสำหรับการผลิตเกลือทะเลที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมสำหรับการบริโภค
ร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีสำหรับสถานประกอบการ ผลิตเกลือทะเลประกอบด้วย 1.ขอบข่าย 2. นิยาม 3. ข้อกำหนด
3.1 สถานประกอบการ: การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต
3.2 การฝึกอบรมและความสามารถ
3.3 การบำรุงรักษา ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ และควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อในสถานประกอบการ
3.4 สุขลักษณะส่วนบุคคล
3.5 การควบคุมการปฏิบัติงาน
3.6 ข้อมูลผลิตภัณฑ์เกลือทะเล
3.7 การขนส่ง
3.8 การบันทึกข้อมูล
ผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง on-site & online ได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐาน ดังกล่าวฯ ในหลายประเด็น เนื่องจากมีหลายข้อกำหนดที่ผู้ผลิตไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ตัวอย่าง
- ข้อกำหนดที่ 3.1.2.6 และ 3.1.3.1.1 เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการโม่/บด หรือที่ใช้สัมผัสเกลือทะเล ต้องไม่เป็นสนิม ประเด็นนี้ ที่ประชุม ได้แก้ไขใหม่ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยใช้คำว่า เครื่องมือ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำหรับโม่/บด หรือสัมผัสเกลือทะเล ต้องสะอาด เหมาะสม ไม่ผุกร่อนจนหลุดร่วงก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อเกลือทะเล และตัดคำว่าไม่เป็นสนิมทั้งหมดออก เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ขึ้นสนิม เนื่องจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์อยู่ในบริเวณมีความชื้นสูง
- ข้อกำหนดที่ 3.5.3.1 การรับวัตถุดิบเกลือทะเล ที่ประชุมขอแก้ไขปรับให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ดังนี้ ควรมีเกณฑ์ในการรับซื้อเกลือทะเลและมีการตรวจสอบเบื้องต้น เช่น สี สิ่งเจือปน รวมทั้ง ระบุข้อมูลที่สำคัญ เช่น วัน เดือน ปีที่รับซื้อวัตถุดิบ ปริมาณเกลือทะเล ชนิดเกลือทะเล หลักฐานการรับรองที่มาของเกลือทะเล ชื่อเกษตรกรผู้ทำนาเกลือทะเล สถานที่ทำนาเกลือ วัน เดือน ปีที่เก็บเกี่ยว
- ข้อกำหนดที่ 3.3.4.2 การหลบซ่อนและการอยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำเชื้อ ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะนกพิราบเท่านั้น ไม่มีสัตว์ชนิดอื่น เนื่องจากเกลือเค็ม ขอแก้ไขคำว่าหลบซ่อน เป็นคำว่า ป้องกัน
- ข้อกำหนดที่ 3.5.3.2.1 ควรจัดวางวัตถุดิบเกลือทะเลบนพื้นที่ที่เรียบ แข็งแรง สะอาด ตัดประโยค ไม่มีน้ำขัง และวัสดุรองพื้นออก
ทั้งนี้ จะมีการปรับภาษา ตัดและเพิ่มข้อความให้เนื้อหา ครบถ้วน และผู้ปฏิบัติงานอ่านแล้เข้าใจ รวมถึง มีการะแก้ไขข้อกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง