ประชุมคณะทำงานศึกษาสถานการณ์กุ้งทะเลต่างประเทศ ครั้งที่ 8/2566

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย โดยดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายกกิตติคุณสมาคมฯ, นายนคร หาญไกรวิไลย์ (กรรมการสมาคมฯ) และนางสาววาสนา ตรังใจจริง (เจ้าหน้าที่สมาคมฯ) เข้าร่วมประชุมคณะทำงานศึกษาสถานการณ์กุ้งทะเลต่างประเทศ ครั้งที่ 8/2566 ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings โดยมีนางสาวณาตยา ศรีจันทึก(ผู้อำนวยการกองนโยบาย และแผนพัฒนาการประมง) เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 

รับรองรายงานการประชุมคณะทำงานศึกษาสถานการณ์กุ้งต่างประเทศ ครั้งที่ 7/2566 จากการประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

รับทราบกรมประมงได้จัดทำ Script สรุปสถานการณ์กุ้งโลก เดือนสิงหาคม 2566 และ Executive Summary Report ฉบับที่ 3/2566

รับทราบข่าวสารกุ้งทะเล เดือนสิงหาคม 2566 ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานศึกษาสถานการณ์กุ้งทะเล จำนวน 10 ข่าว โดยกรมประมงได้เผยแพร่ข่าวบนเว็บไซต์ของกรมประมง ทั้งนี้ สมาชิกสามารถอ่านรายละเอียด ข่าวได้ที่ลิงก์ URL: https://www4.fisheries.go.th/.../ind.../main/site/ShrimpNews

1. เวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อันดับสองของโลก

2. เกาะบอร์เนียว เมืองปาลังการายา

3. ไตรมาสที่ 1 และ 2 อินโดนีเซียส่งออกกุ้งลดลง 19%

4. มิตซุยลงทุนในพื้นที่ผลิตกุ้งที่สำคัญของเอกวาดอร์

5. สหรัฐอเมริกานำเข้ากุ้งลดลงในเดือนพฤษภาคม 2566

6. ราคานำเข้ากุ้งสหรัฐฯ คาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นหลังจากการฟื้นตัว

7. การส่งออกกุ้งของอินเดียเริ่มลดลงตั้งแต่เดือนเมษาย - พฤษภาคม และคาดว่าจะลดลงเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566

8. INFOFISH (รอบ 14/2023)

9. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก ยกเว้นในประเทศแคนาดา

10. เครื่องมือดิจิทัลช่วยปรับปรุงความปลอดภัยทางชีวภาพในอุตสาหกรรมกุ้งของบังคลาเทศ

ที่ประชุม คณะทำงานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น และข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

ข่าวที่ 1 : ตามที่ประเทศเวียดนามออกข่าวว่าจะมีผลผลิตกุ้งออกตลาดมากในช่วงครึ่งปีหลังนั้น (563,000 ตัน) ข้อมูลค่อนข้างเกินความจริง แต่ฟาร์มส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐาน ASC

ข่าวที่ 2 : อินโดนีเซีย ขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้งมาก โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ เกาะ

ข่าวที่ 4 : (-)ญี่ปุ่นนิยมทำธุรกิจแบบ partner ร่วมกัน เช่น ลงทุนกับบจก.สุรพล จะใช้ชื่อเป็นสุรพลนิชิเรฟู้ดส์และมิตซุยเป็นของญี่ปุ่น ร่วมลงทุนกับ IPSP ของเอกดอร์ ซึ่งเป็นบริษัทเพาะเลี้ยงกุ้งรายใหญ่ ให้มิตซุยหาแหล่งวัตถุดิบให้กับญี่ปุ่นและญี่ปุ่นส่งไปแปรรูป ที่เวียดนาม เนื่องจากรู้ต้นทุนของวัตถุดิบ ทำให้ outsource ได้กำไรน้อย

ประเทศเอกวาดอร์ ได้เปรียบด้านต้นทุนที่ถูกกว่าไทย เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้าถูกกว่าไทย 50%และเอกวาดอร์ นิยมเลี้ยงกุ้งเป็นปล่อยธรรมชาติ เนื่องจากมีพื้นที่การเลี้ยงกุ้ง จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ หากเทียบกับการเลี้ยงกุ้งของไทย ปัจจุบันต้นทุนค่าไฟฟ้าและอาหาร เกือบจะเท่ากันแล้ว ทำให้ไทยเสียเปรียบด้านต้นทุน

ข่าวที่ 5 : ปีนี้อเมริกานำเข้ากุ้งลดลงร้อยละ 17 แต่การนำเข้าปลาแซลมอนมากขึ้น ผู้บริโภคเน้นปริมาณในราคาที่เท่ากัน แต่ได้ปริมาณมากกว่า อีกทั้ง การเลี้ยงปลาแซลมอน มีระบบมากกว่าการเลี้ยงกุ้ง ทั้งนี้ cold storage ในสหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายสูงในแต่ละครั้ง กรณีหากที่ส่งสินค้ามาถึงก่อนกำหนด ทำให้อเมริกาต้องจ่ายค่าห้องเย็นเพื่อเก็บสินค้านั้น ครั้งต่อไปจะ deduct ในสินค้ากับผู้ส่งออก ทั้งนี้ เมนูในร้านอาหารหรือ ภัตตาคารหากมีเมนูกุ้ง ยังจัดเป็นอาหารพรีเมี่ยม

ข่าวที่ 6 : ราคานำเข้ากุ้งสหรัฐฯ คาดว่าจะสูงขึ้นหลังเศรษฐกิจฟื้นฟูที่ผ่านมา และในอนาคตคาดว่ายังไม่ดีขึ้น สำหรับตลาดอเมริกา ปกติช่วง summer (มิถุนายน-สิงหาคม) จะเป็นช่วงที่คนทานอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะวันแม่ปีนี้วันแม่ที่ผ่านมา จัดว่าไม่ peak หากเทียบกับช่วงที่เศรษฐกิจดี และเมื่อเข้าสู่ winter (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ผู้บริโภคก็จะทานนอกบ้านน้อยลง

ทั้งนี้ ขอให้รัฐบาลคุยเรื่อง FTA กับ EU เพื่อเปิดตลาดยุโรปให้สินค้ากุ้งไทยกลับมา โดยกรมประมงแจ้งว่าจะประชุมหารือครั้งที่ 1 เดือนกันยายน ซึ่งจะเจรจาทุกกลุ่มสินค้า ทั้งนี้ การเจรจา FTA ต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้น หากต้องการให้อุตสาหกรรมกุ้งอยู่ได้ ต้องขยายตลาดภายในประเทศมากขึ้น ประมาณการเลี้ยงให้พอดีกับบริโภคในประเทศและส่งออก

Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association