การเสวนาแบ่งปันความท้าทายและแนวทางแก้ไขเพื่อนำการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

การเสวนาแบ่งปันความท้าทายและแนวทางแก้ไขเพื่อนำการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพผ่านความร่วมมือและนวัตกรรม จัดโดยสถาบันอิสรา ในวนที่ 6 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรม Nikko Silom โดยมีผู้แทนสมาคมคือ คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคม เป็นวิทยากรในงานดังกล่าว

สรุปประเด็นสำคัญ

สถาบันอิสรา คือสถาบันที่มีพันธมิตรองค์กรที่ต้องการการยืนยันความถูกต้องจากแรงงานในการสรรหาจ้างแรงงานและสภาพการทำงานทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมีพันธมิตร เช่น TESCO NIKE AMAZON NESTLE ALDI เป็นต้น
ทั้งนี้กิจกรรมการพัฒนาข้อกำหนดใหม่คือการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ส่งเสริมศักยภาพให้แรงงานและการเปลี่ยนแปลงระบบแรงงานที่ถูกแสวงหาผลประโยชน์ในเอเชียได้รับเงินสนับสนุนจาก Walmart และองค์กร @foundation

การส่งเสริมศักยภาพแรงงานและช่องทางเสียงของแรงงาน การเข้าถึงแรงงานโดยตรง รับข้อมูล ช่วยเหลือแรงงาน สร้างความไว้วางใจนั้น ประกอบด้วยการสื่อสารผ่านทั้ง 4 ช่องทางคือ

1. การเข้าถึงแรงงานโดยตรง โดยดำเนินการร่วมกับพาร์ทเนอร์ CSOs และตัวแทนอิสราในประเทศต้นทาง

2. สายด่วนสำหรับแรงงาน ซึ่งมีทั้งภาษาพม่า กัมพูชา ไทย ลาว เนปาล อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันบนมือถือ อิสรา เป็นช่องทางสำหรับแรงงานข้ามชาติ

4. สื่อโซเชียลมีเดีย และช่องทางการส่งข้อความต่างๆ ทั้งทาง FB, Line เป็นต้น

มาตรฐานสากลให้ความสำคัญกับหลักปฏิบัติในการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้มงวดมากขึ้น นอกเหนือจากการตรวจสอบทางสังคม

1. ปลูกฝังการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบสู่นโยบายและระบบการจัดการ

2. ระบุและประเมินผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจริง และที่อาจเกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ

3. ยุติ ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบด้านลบ

4. ติดตามการดำเนินการและผลลัพธ์ รวมถึงผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ผู้ถือสิทธิ์ที่มีความหมายและต่อเนื่อง

5. สื่อสารถึงวิธีการแก้ไขผลกระทบ

6. จัดให้มีและให้ความร่วมมือในการแก้ไขเยียวยาตามความเหมาะสม

สรุปสาระสำคัญ

สรุปการดำเนินการ HRDD เกี่ยวกับ Employer Pay Policy (EPP) ในเรื่อง Zero Recruitment

คุณวิลสวัสดิ์ วิตนากร กรรมการบริหารบริษัท Hi Tech Apparel ให้ความเห็นการดำเนินการ EPP ทำให้ส่งผลดีคือตัวเลข Turn Over ลดลงเหลือ 0.6% เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาแรงงานใหม่ และพัฒนาเสริมสร้างความชำนาญมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้แรงงานมากขึ้น

คุณนิตยา แซ่เห กรรมการบริษัทจัดหางาน Central Unity (ตัวแทนบริษัทจัดหางาน) ปัญหาด้านแรงงานมักมาจากประเทศต้นทาง ที่ยังไม่มีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน

คุณวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล อุปนายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ปัจจุบันเรื่องสิทธิมนุษยชนมีมากว่า 10 ปี ซึ่งโรงงานมีลูกค้ามา Audit ในด้านแรงงาน ทั้งนี้ในส่วนผู้ประกอบการเห็นด้วยในเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ต้องการความชัดเจนในเรื่องของค่าใช้จ่าย เช่น ตามกฎหมายพม่ากำหนดแรงงานมีค่าใช้จ่ายที่ 300,000จ๊าด ซึ่งหากเกินกว่านี้ ต้องมีหลักฐานแสดงชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการส่งเสริมการคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ควรคำนึงถึงโรงงานในระดับ SME ด้วย เนื่องจากเป็นโรงงานขนาดเล็ก ความพร้อมทั้งด้านการลงทุน ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ อาจยังไม่สามารถปฏิบัติได้เหมือนโรงงานขนาดใหญ่

คุณอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ HRDD คือบรรทัดฐานของสังคม ที่น่าสนใจคือไม่ใช่กฎหมายได้ผลมากกว่ากฎหมาย นอกจากนี้ 3 ปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้คือ

1) แนวทางปฏิบัติตามผู้ซื้อหรือบริษัท อุปสรรคคือเรื่องการสื่อสาร , กำแพงวัฒนธรรม

2)นโยบายของรัฐ บางลูกค้าให้ใช้มาตรฐานตนเอง ไม่ได้ดูตามบริบทกฎหมายในแต่ละประเทศผู้ผลิต

3)ประกาศประเทศต้นทางที่ดำเนินการได้ยาก

ข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม

เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายให้แรงงาน และแรงงานทำงานไม่ครบตามสัญญา MOU ขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องมีมาตรการในเรื่องดังกล่าวด้วย

สิ่งที่กังวลอีกเรื่องคือ สำหรับแรงงานขึ้นทะเบียนที่อยู่ในไทยอยู่แล้ว การต่ออายุพาสปอร์ต ใบอนุญาตทำงาน การตรวจสุขภาพ จะดำเนินการอย่างไร นายจ้างต้องออกค่าใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ โดยพบว่าแรงงานกลุ่มนี้มีจำนวนมากในไทย

โรงงานที่ปฏิบัติตาม HRDD ทางลูกค้าจะมีมาตรการจูงใจหรือพิเศษให้หรือไม่


ทั้งนี้ สถาบันอิสราจะมีการจัดประชุม Forum อีกครั้งในต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ ลูกค้า บริษัทจัดหางาน


Public on 6th September 2022
Copyright of Thai Frozen Foods Association